มัสยิดอัลฮะรอม

มัสยิดอัลฮะรอม (อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ, อักษรโรมัน: al-Masjid al-Ḥarām, แปลตรงตัว'มัสยิดต้องห้าม')[4] มีอีกชื่อว่า มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์[5] เป็นมัสยิดที่ล้อมรอบกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ แคว้นมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นสถานที่แสวงบุญในพิธีฮัจญ์ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งถ้าสามารถทำได้ และในอุมเราะฮ์ที่สามารถทำในช่วงใดก็ได้ พิธีแสวงบุญทั้งสองแบบรวมการเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ในมัสยิด มัสยิดใหญ่ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ หินดำ, บ่อซัมซัม, มะกอมอิบรอฮีม และเนินเศาะฟาและมัรวะฮ์[6]

มัสยิดอัลฮะรอม
อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ
ภาพถ่ายทางอากาศของมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
นิกายมุสลิม
หน่วยงานกำกับดูแลYasser Al-Dosari (อิหม่าม)
อับดุรเราะห์มาน อัสซุดัยส์ (อิหม่าม)
ซะอูด อัชชุร็อยม์ (อิหม่าม)
อับดุลลอฮ์ อะวาด อัลญุฮะนี (อิหม่าม)
มาฮิร อัลมุอัยกิลี (อิหม่าม)
ศอเลียะห์ บิน อับดุลลอฮ์ อัลฮุมัยด์ (อิหม่าม)
Faisal Ghazawi (อิหม่าม)
Bandar Baleela (อิหม่าม)
อะลี อะห์มัด มุลลา (หัวหน้ามุอัซซิน)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งมักกะฮ์ ฮิญาซ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย)[1]
มัสยิดอัลฮะรอมตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย
มัสยิดอัลฮะรอม
ที่ตั้งในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ผู้บริหารรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย
พิกัดภูมิศาสตร์21°25′21″N 39°49′34″E / 21.42250°N 39.82611°E / 21.42250; 39.82611
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ2.5 ล้านคน[2]
หอคอย9
ความสูงหอคอย89 m (292 ft)
พื้นที่ทั้งหมด356,000 ตารางเมตร (88 เอเคอร์) [3]

ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2020 มัสยิดนี้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผ่านการบูรณะและขยายมาหลายปี[7] โดยผ่านการปกครองของเคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน และกษัตริย์หลายพระองค์ โดยปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ผู้ดำรงพระบรมราชอิสริยยศผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง[8]

ประวัติศาสตร์

มีการโต้แย้งว่ามัสยิดใดเก่าแก่ที่สุด ระหว่างมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ มัสยิดอัศเศาะฮาบะฮ์ในมัสซาวา ประเทศเอริเทรีย[9] และมัสยิดกุบาอ์ในมะดีนะฮ์[10] ตามธรรมเนียมอิสลาม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีมาก่อนศาสดามุฮัมมัด[11][12][13] โดยเผยแพร่ผ่านศาสดาหลายท่าน เช่น อิบรอฮีม[14] มุสลิมยกให้อิบรอฮีมเป็นผู้สร้างกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ และภายหลังจัดตั้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมุสลิมมองว่าเป็นมัสยิดแห่งแรก[15]เท่าที่เคยมีมา[16][17][18] ในขณะที่นักวิชาการกลุ่มอื่นรายงานว่า ศาสนาอิสลามปรากฏขึ้นในช่วงชีวิตของมุฮัมมัดในคริสต์ศตวรรษที่ 7[19] และส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างมัสยิดจึงปรากฏในภายหลัง ถ้าตามกรณีนี้ มัสยิดเศาะฮาบะฮ์[20] หรือมัสยิดกุบาอ์อาจเป็นมัสยิดแรกที่สร้างขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม[15]

สมัยอิบรอฮีมและอิสมาอีล

รายงานจากอัลกุรอาน อิบรอฮีมกับอิสมาอีล ลูกของท่าน "ได้ก่อฐานของบ้านหลังนั้น"[21] ซึ่งนักอธิบายหลายคน[โดยใคร?]ระบุเป็น กะอ์บะฮ์ หลังอิบรอฮีมสร้างกะอ์บะฮ์เสร็จ มีเทวทูตนำหินดำมาให้ท่าน ซึ่งตามธรรมเนียมระบุว่าเป็นหินที่ตกลงมาจากสวรรค์ ลงไปยังบริเวณใกล้ ๆ เนินอะบุ กุบัยส์[ต้องการอ้างอิง] นักวิชาการอิสลามเชื่อว่าหินดำเป็นสิ่งเดียวที่ยังคงเหลือจากการก่อสร้างครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง]

หลังตั้งหินดำที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์แล้ว พระเจ้าตรัสแก่อิบรอฮีมว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง"[22]

สมัยมุฮัมมัด

จนกระทั่งมุฮัมมัดยึดครองมักกะฮ์ในค.ศ.630 ท่านและอะลีทำลายรูปปั้นทั้งหมดตามที่กุรอานได้กล่าวไว้[23] เป็นจุดสิ้นสุดของพหุเทวนิยมและเริ่มการปกครองแบบเอกเทวนิยม.[24][25][26][27]

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์

การปรับปรุงครั้งแรกเริ่มในปีค.ศ.692 โดยอับดุลมาลิก อิบนุ มัรฺวาน[28] หลังจากศตวรรษที่ 8 เสามัสยิดถูกเปลี่ยนเป็นกระเบี้องโดยอัลวะลีดที่ 1[29][30]

ราชวงศ์ออตโตมัน

มักกะฮ์ในช่วงราชวงศ์ออตโตมัน ค.ศ.1850

ในปีค.ศ. 1570 สุลต่านเซลิมที่ 2 และมิมาร ซินาน ปรับปรุงมัสยิด โดยสิ่งก่อสร้างนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

สมัยซาอุดีอาระเบีย

การขยายครั้งใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง 1955 และ 1973 โดยเพิ่มหออะซานสี่หอ เปลี่ยนเพดาน และพื้นให้สวยขึ้น ในระหว่างการปรับปรุงมีหลายอย่างที่สร้างในสมัยออตโตมันถูกทำลาย

ปัจจุบัน

ในปี 2007 มีการขยายมัสยิดที่จะเสร็จในปี 2020 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอห์ บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูดเพื่อเพิ่มความจุกว่าสองล้านคน อย่างไรก็ตามพระองค์สวรรคตในปี 2015 หลังจากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดได้ดำเนินโครงการต่อ[31] โดยในปี 2016 โดยมีค่าใช้จ่ายกว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์[32]

การทำลายสถานที่ทางประวัติศาสตร์

มีข้อโต้เถียงบางส่วนว่าโครงการขยายมัสยิดอัลฮะรอมและมักกะฮ์ทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานที่สำคัญในยุคต้นของศาสนาอิสลาม อาคารสมัยโบราณหลายหลังที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ถูกรื้อทำลายเพื่อให้พื้นที่สำหรับการขยาย ตัวอย่างบางส่วนมีดังนี้:[33][34]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง