มี่นโกไนง์

ปออู้ทู่น (พม่า: ပေါ်ဦးထွန်း, ออกเสียง: [pɔ̀ ʔú tʰʊ́ɰ̃]) หรือรู้จักในชื่อ มี่นโกไนง์ (မင်းကိုနိုင်, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃ kò nàɪ̯ɰ̃], แปล: "ผู้พิชิตจักรพรรดิทั้งปวง") เป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยแนวหน้าของประเทศพม่า เขาถูกจำคุกหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1988 จากกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของเขา เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกขานเขาว่าเป็นบุคคลฝ่ายค้านของพม่าที่มีอิทธิพลมากที่สุด เป็นรองเพียงอองซานซูจีเท่านั้น[3]

มี่นโกไนง์
เกิดปออู้ทู่น
(1962-10-18) 18 ตุลาคม ค.ศ. 1962 (61 ปี)
ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
การศึกษามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปกรรมย่างกุ้ง วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาสัตววิทยา, ชั้นปีที่สาม[1]
องค์การสหภาพนักศึกษาพม่า
88 Generation Students Group
สมาคมสันติภาพและความเปิดกว้าง 88 เจเนอเรชั่น
ขบวนการการก่อการกำเริบ 8888
บิดามารดาU Thet Nyunt, Daw Hla Kyi[1]
รางวัลรางวัลควังจู (2009)
ซิวิลเคอเรจ (2005)
จอห์น เมอร์ฟี เพื่อสันติภาพ (1999)
National Order of Merit (2015)[2]
เว็บไซต์Min Ko Naing
ลายมือชื่อ

ในเดือนกันยายน 1987 หลังรัฐบาลเผด็จการนำโดยเนวี่นประกาศล้างสกุลเงินจัตโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ส่งผลให้ชาวพม่าจำนวนมากเสียเงินเก็บไปมหาศาลชั่วข้ามคืน[4] หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือนักศึกษาที่เก็บเงินไว้เป็นค่าเล่าเรียน[4] เหตุการณ์นี้จึงนำไปสู่ความวุ่นวายและการจลาจลหลายครั้งตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ[5] และเหตุการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้นหลังนักศึกษา Phone Maw ถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิตเมื่อ 12 มีนาคม 1988 ขณะกลุ่มนักศึกษาปะทะกับตำรวจ[6] และท้ายที่สุดเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการก่อการกำเริบ 8888[7] ในระหว่างการนักประท้วงหยุดงานนี้ มี่นโกไนง์เดินทางไปปราศัยตามจุดชุมนุมต่าง ๆ หน้าสถานทูตสหรัฐและโรงพยาบาลกลางย่างกุ้ง รวมถึงช่วยจัดการให้อองซานซูจี ลูกสาวของวีรบุรุษ อองซาน ได้ชึ้นปราศัยครั้งแรกของเธอที่เจดีย์ชเวดากองต่อมาอองซานซูจีได้รับการเลือกตั้งในปี 1990 แต่ต่อมาก็ถูกรัฐบาลทหารก่อรัฐประหารอีกครั้งในปี 2021[8]

หลังสิ้นสุดการชุมนุมได้หลายเดือน ท้ายที่สุดเขาถูกรัฐบาลจับกุมและถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ด้วยความผิดตามมาตรา 5(j) ของรัฐบัญญัติกิจการฉุกเฉิน ปี 1950 (Emergency Provisions Act) ในฐานะผู้ปลุกระดม "การก่อความไม่สงบและขัดขืนต่อกฎหมายรวมถึงคำสั่งของรัฐบาล ทำลายสันติสุขและความสงบเรียบร้อยของรัฐ" แต่ต่อมาถูกลดโทษเหลือ 10 ปีในเดือนมกราคม 1993 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเรียกร้องอย่างหนักให้มีการปล่อยตัวเขา ระบุว่าเขาเป็น "prisoner of conscience"[9][10] เขาถูกจับกุมอีกครั้งในเดือนกันยายน 2006 ร่วมกับมิตรสหายจำนวนหนึ่ง ไม่นานก่อนสมัชชาแห่งชาติ ปี 2006[11] ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเดือนมกราคม 2007 โดยปราศจากคำชี้แจงถึงเหตุผลที่โดนจับจากหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด[11]

มี่นโกไนง์ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจากบทบาทในการเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ เขาได้รับรางวัลควังจูในปี 2009,[12] ซิวิลเคอเรจไพรซ์ในปี 2005 ร่วมกับ Anna Politkovskaya และ Munir Said Thalib,[13] รางวัลฮอมอฮอมินี โดยพีเพิลอินนี้ดในปี 2000,[14] รางวัลสันติภาพนักเรียนนักศึกษา ปี 1999 และ รางวัลเสรีภาพจอห์น ฮัมฟรี ปี 2000 ร่วมกับ Cynthia Maung จาก Mae Tao Clinic[15]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง