หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

อดีตประธานรัฐสภาไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีไทย
(เปลี่ยนทางจาก ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช)

ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๑ (20 เมษายน พ.ศ. 2454 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 เขาเป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และเป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13 (ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518–2519)

คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน พ.ศ. 2517 ขณะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าศิริ สิริโยธิน
ถัดไปประภาศน์ อวยชัย
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองประมาณ อดิเรกสาร
ทวิช กลิ่นประทุม
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หัวหน้าพรรคก้าวหน้า
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2488 – 6 เมษายน พ.ศ. 2489
หัวหน้าพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม พ.ศ. 2525 – 22 มกราคม พ.ศ. 2529
ถัดไปสิทธิ เศวตศิลา
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน พ.ศ. 2533 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534
ก่อนหน้าสิทธิ เศวตศิลา
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์

20 เมษายน พ.ศ. 2454
จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (84 ปี)
โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองก้าวหน้า (2488–2489)
ประชาธิปัตย์ (2489–2491)
กิจสังคม (2518–2534)
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ (หย่า)
บุตร
  • หม่อมหลวงรองฤทธิ์
  • หม่อมหลวงวิสุมิตรา
บุพการี
ญาติหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (พี่ชาย)
พระราชทานเพลิง23 ธันวาคม พ.ศ. 2538
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[1]
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2486-2538
ยศ พลตรี[2]
นายกองใหญ่[3]
สงคราม/การสู้รบสงครามโลกครั้งที่สอง

ปลาย พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมเสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก[4] โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน[5][6][7] และคัดค้าน[8] ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554 โดยได้รับการประกาศพร้อมกันกับเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งได้รับในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2553[9]

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้นมาจากการที่ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เขาสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เคยรับบทเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศสารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อ พ.ศ. 2526

ระหว่างการเล่นการเมือง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอายุ จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้ อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง

การศึกษา

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้าน กับหม่อมราชวงศ์บุญรับ พี่สาวคนโต จนอ่านภาษาไทยได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2458 เขาจึงเข้าศึกษาภาคบังคับ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนต์วิทยาลัย (Trent College) จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยควีนส์ (The Queen's College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เพื่อศึกษาวิชาการปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และอีกสามปีต่อมา ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ถึงแก่อสัญกรรม

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 84 ปี 172 วัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1] แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อต่อยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขา การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20

ผลงานประพันธ์

นวนิยาย

  • สี่แผ่นดิน ( ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ และละครเวที)
  • ไผ่แดง (ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
  • กาเหว่าที่บางเพลง ( ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
  • ซูสีไทเฮา
  • สามก๊กฉบับนายทุน
  • ราโชมอน
  • ฮวนนั้ง
  • โจโฉ นายกตลอดกาล

รวมเรื่องสั้น

  • มอม
  • เพื่อนนอน
  • หลายชีวิต

สารคดี

ภาพลายเส้น โดยประยูร จรรยาวงษ์ ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • ฉากญี่ปุ่น
  • ยิว
  • เจ้าโลก
  • สงครามผิว
  • คนของโลก
  • ชมสวน
  • ธรรมคดี
  • น้ำพริก
  • ฝรั่งศักดินา
  • สรรพสัตว์
  • สัพเพเหระคดี
  • ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
  • โครงกระดูกในตู้
  • พม่าเสียเมือง
  • ถกเขมร
  • เก็บเล็กผสมน้อย
  • เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น
  • เมืองมายา
  • เรื่องขำขัน
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เล่นลิเกกิตติมศักดิ์เรื่อง หลวิชัย-คาวี เมื่อ พ.ศ. 2494
  • โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล
  • กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้
  • คนรักหมา
  • ตลาดนัด
  • นิกายเซน
  • บันเทิงเริงรมย์
  • วัยรุ่น
  • สงครามเย็น
  • อโรคยา
  • สยามเมืองยิ้ม
  • ห้วงมหรรณพ
  • ขุนช้าง ขุนแผน ฉบับอ่านใหม่

บทละครเวที

  • ลูกคุณหลวง
  • ราโชมอน

การทำงาน

ภาพขณะเข้าพบประธานเหมา เจ๋อ ตุง ในปี พ.ศ. 2518

บทบาททางการเมือง

ผลงานที่สำคัญ

  • หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ตัดขาดความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลมาเป็นเวลานาน

รางวัลและเกียรติยศ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  เม็กซิโก :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์นกอินทรีแอซเท็ก ชั้นประถมาภรณ์[19]

ยศ

ยศทางทหาร

  • 26 ตุลาคม พ.ศ. 2531 : พลตรี[21]

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชถัดไป
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
พลตรี ศิริ สิริโยธิน
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

(29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517)
ประภาศน์ อวยชัย
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร