ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตวุฒิสมาชิก และเป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 3

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (79 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

ประวัติ

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในราชสกุลเทพหัสดิน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก จากนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย (วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา) จากนั้นได้ประกอบอาชีพเป็นครู แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพล.อ.ยศ สมรสกับ คุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีบุตร 4 คน คือ

  1. พล.อ. วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
  2. พ.อ. รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  3. นางสาวณัฐธยาน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  4. นางสาวสิริยส เทพหัสดิน ณ อยุธยา

การทำงาน

พล.อ. ยศ เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในยศร้อยตรี เป็นผู้บังคับหมวดทหารราบ กองพันทหารราบที่ 19 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2483 และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 และรองผู้บัญชาการทหารบก และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในเวียดนาม คนแรกในปี พ.ศ. 2510 ในยศ"พลตรี"

พล.อ. ยศ ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี พ.ศ. 2511[1] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา (ครม.41)[3]

ร่วมก่อการกบฎ

ในปี พ.ศ. 2528 พล.อ. ยศ เข้าร่วมกับนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ

เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ สวัสดิ์ ลูกโดด ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป ซึ่งการกระทำการครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏทหารนอกราชการ" หรือ กบฏ 9 กันยา[4] หรือ กบฏสองพี่น้อง[5] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528

ถึงแก่อนิจกรรม

พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง