ยุทธการที่สตาลินกราด

ยุทธการใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สอง

ยุทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943[16][17][18][19] ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงคราม[20] หลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย[21]

ยุทธการสตาลินกราด
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ใจกลางสตาลินกราดหลังสงครามสิ้นสุดลง
วันที่23 สิงหาคม ค.ศ. 1942 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943
(5 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
สตาลินกราด สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
(ปัจจุบันคือวอลโกกราด ประเทศรัสเซีย)
48°42′N 44°31′E / 48.700°N 44.517°E / 48.700; 44.517
ผล

โซเวียตชนะ

  • การทำลายล้างกองทัพที่ 6 ของเยอรมนี
  • การทำลายล้างกองทัพที่ 8 ของอิตาลี
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากคอเคซัส ได้ดินแดนคืนจากการทัพฤดูร้อน ค.ศ. 1942
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

นาซีเยอรมนี กองทัพกลุ่มเบ:

  • นาซีเยอรมนี กองทัพที่ 6
  • นาซีเยอรมนี กองทัพพันท์เซอร์ที่ 4
  • ราชอาณาจักรโรมาเนีย กองทัพที่ 3
  • ราชอาณาจักรโรมาเนีย กองทัพที่ 4
  • ฟาสซิสต์อิตาลี (ค.ศ. 1922–1943) กองทัพที่ 8
  • ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) กองทัพที่ 2

นาซีเยอรมนี กองทัพกลุ่มดอน[nb 1]

  • นาซีเยอรมนี กองทัพที่ 6
  • นาซีเยอรมนี กองทัพพันท์เซอร์ที่ 4
  • นาซีเยอรมนี กองทัพพันท์เซอร์ที่ 1

สหภาพโซเวียต แนวรบสตาลินกราด:

  • กองทัพที่ 28
  • กองทัพที่ 51
  • กองทัพที่ 57
  • กองทัพที่ 62
  • กองทัพที่ 28 64

สหภาพโซเวียต แนวรบดอน[nb 2]

  • กองทัพที่ 24
  • กองทัพที่ 65
  • กองทัพที่ 66

สหภาพโซเวียต แนวรบตะวันตกเฉียงใต้[nb 3]

  • กองทัพป้องกันที่ 1
  • กองทัพรถถังที่ 5
  • กองทัพที่ 21
กำลัง
ขั้นต้น:
  • ทหาร 270,000 นาย
  • ปืนใหญ่ 3,000 กระบอก
  • รถถัง 500 คัน
  • อากาศยาน 600 ลำ, 1,600 ลำเมื่อถึงกลางเดือนกันยายน (ลุฟท์ฟลอทเทอ 4))[Note 1][1]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ:
  • ทหารประมาณ 1,040,000 นาย[2]
  • ชาวเยอรมันมากกว่า 400,000 คน
  • ชาวอิตาลี 220,000 คน
  • ชาวฮังการี 200,000 คน
  • ชาวโรมาเนีย 143,296 คน
  • ฮีวี 40,000 คน
  • รถถังมากกว่า 640 คัน
  • อากาศยาน 732 ลำ (ใช้การได้ 402 ลำ)[3]
ขั้นต้น:
  • ทหาร 187,000 นาย
  • ปืนใหญ่ 2,200 กระบอก
  • รถถัง 400 คัน
  • อากาศยาน 300 ลำ[4]

เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ:
  • ทหาร 1,143,000 นาย[5]
  • ปืนใหญ่ 13,451 กระบอก
  • รถถัง 894 คัน[5]
  • อากาศยาน 1,115 ลำ[6]
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต สูญหายหรือได้รับบาดเจ็บ 747,300–868,374 นาย[7]
  • นาซีเยอรมนี เยอรมนี:
    มากกว่า 300,000 นาย (กองทัพที่ 6 และ
    กองทัพพันท์เซอร์ที่ 4)[8][9][10] – 400,000 (ทุกหน่วย)[11]
  • ฟาสซิสต์อิตาลี (ค.ศ. 1922–1943) อิตาลี:
    114,000[12]–114,520[9]
  • ราชอาณาจักรโรมาเนีย โรมาเนีย:
    109,000[12]–158,854[9]
  • ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ฮังการี:
    143,000[9]
  • ฮีวี 19,300–52,000[13]
  • อากาศยาน 900 ลำ
  • รถถัง 1,500 คัน (ของโรมาเนีย 100 คัน)
  • ปืนใหญ่ 6,000 กระบอก
  • อากาศยาน 744 ลำ; รถถัง 1,666 คัน; ปืนใหญ่ 5,762 กระบอกถูกยึด
ดูส่วนความเสียหาย
  • สหภาพโซเวียต 1,129,619 (รวมจากสงครามประมาณ 950,000 นาย)
    สูญหายหรือเสียชีวิต 478,741 นาย
    บาดเจ็บหรือป่วย 650,878 นาย[14]
  • อากาศยาน 2,769 ลำ
  • รถถัง 4,341 คัน (จากโรมาเนียประมาณ 150 คัน) (ลดจำนวนลง 25–30%[15])
  • ปืนใหญ่ 15,728 กระบอก
ดูส่วนความเสียหาย
ยุทธการที่สตาลินกราดตั้งอยู่ในthe European Soviet Union
ยุทธการที่สตาลินกราด
ที่ตั้งของสตาลินกราด (ปัจจุบันคือวอลโกกราด) ในสหภาพโซเวียตฝั่งยุโรป
กรณีสีน้ำเงิน: การรุดหน้าของเยอรมนีในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 ถึง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
  ถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 1 สิงหาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942

เยอรมนีรุกเพื่อยึดสตาลินกราดเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 และได้รับการสนับสนุนจากการทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ของนครกลายเป็นซากปรักหักพัง ท้ายที่สุด การรุกของเยอรมนีกลายมาติดหล่มการสู้รบอาคารต่ออาคาร และแม้จะควบคุมพื้นที่ของนครได้กว่า 90% ในบางครั้ง กองทัพเยอรมันกลับไม่สามารถขับไล่ผู้ป้องกันฝ่ายโซเวียตกลุ่มสุดท้ายที่ยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวอลกาอย่างเหนียวแน่น

วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองทัพแดงเปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส การโจมตีสองง่ามหรือเรียกว่าคีมหนีบโดยมีเป้าหมายต่อกำลังพลโรมาเนียและฮังการีที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังป้องกันปีกของกองทัพที่ 6 หลังจากมีการสู้รบอย่างหนัก ความสำเร็จของการโจมตีเหล่านี้ส่งผลให้ปีกที่ยึดไว้อย่างหลวม ๆ พังลง และกองทัพที่ 6 ถูกตัดขาดและล้อมในสตาลินกราด เมื่อฤดูหนาวของรัสเซียมาถึง กองทัพที่ 6 ก็อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจากความหนาว เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร การโจมตีอย่างต่อเนื่องของโซเวียต ความกำกวมของการบังคับบัญชา ประกอบกับความเชื่อแน่แน่วใน "พลังแห่งการตั้งเจตนา" (power of the will) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และค่านิยม "การยืนหยัด" (standing fast) ยิ่งเสริมฐานะยากลำบากของนาซีเยอรมนีขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด ความล้มเหลวของกำลังเยอรมนีนอกวงล้อมในการเปิดวงล้อม ร่วมกับความล้มเหลวในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ทำให้เกิดการพังทลายขั้นสุดท้าย เมื่อถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 การต้านทานของฝ่ายอักษะในสตาลินกราดยุติลงและส่วนที่เหลือของกองทัพที่ 6 ได้ยอมจำนนหรือไม่ก็ถูกทำลายไปก่อนหน้านั้นแล้ว[22]: p.932 

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สตาลินกราดได้รับการกล่าวถึงเป็นจำนวนมากโดยสื่อของรัสเซีย เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เนื่องจากความสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามในทวีปยุโรป และการสูญเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในการสู้รบ คำว่า "สตาลินกราด" กลายเป็นความหมายเหมือนกับการสู้รบขนาดใหญ่ในเมือง ที่มีการสูญเสียอย่างมากทั้ง 2 ฝ่าย

ภาพยนตร์

เชิงอรรถ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

บทอ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง