ยุทธนา โพธสุธน

ยุทธนา โพธสุธน เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 สมัย สังกัดพรรคชาติไทย และเป็นหลานของ ประภัตร โพธสุธน[1]

ยุทธนา โพธสุธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2562-2565,2566-ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจไทย (2565-2566)

ประวัติ

ยุทธนา โพธสุธน เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2514 เป็นบุตรของนายประสิทธิ์ และดวงแข โพธสุธน และเป็นหลานของ นายประภัตร โพธสุธน และเป็นน้องชายของ พัชรี โพธสุธน อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา

ยุทธนา โพธสุธน เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจการเงิน CALIFORNIA STATE UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

ยุทธนา โพธสุธน เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นกำนันตำบลวังน้ำซับ เป็นประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอศรีประจันต์[1] ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย แทนนายประภัตร ซึ่งย้ายไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 คู่กับนายเสมอกัน เที่ยงธรรม และได้รับเลือกตั้งทั้งสองคน กระทั่งเขาถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ของศาลรัฐธรรมนูญ[2] และได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม โดย พัชรี โพธสุธน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน

หลังการเว้นวรรคทางการเมือง เขากลับสู่สนามเลือกตั้งอีกครั้ง แต่เนื่องจากเกิดความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ลงสมัครรับเลือกตั้งระหว่าง จองชัย เที่ยงธรรม กับประภัตร โพธสุธน[1][3] ในที่สุดนายจองชัย จึงย้ายไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย แข่งขันกับนายประภัตร แต่ให้บุตรชายคือ เสมอกัน เที่ยงธรรม ยังคงลงสมัครในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งผลให้นายยุทธนา ต้องย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาเมื่อ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ลาออกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เขาจึงได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[4][5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง