รถไฟฟ้าในประเทศไทย

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางในประเทศไทย เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแรกที่มีระบบรถไฟฟ้า ตามมาด้วยนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ตามลำดับ

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางหมอชิต - อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 10 สาย ครอบคลุมระยะทาง 276.15 กิโลเมตร

โครงการรถรางรอบพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์

กรุงเทพมหานครเคยมีแผนเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนรอง รถราง (Tram) รอบพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่า พร้อมเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีส้มในอนาคต[1]

ภายในท่าอากาศยาน

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 โดยวิ่งระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักถึงอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) โดยมีระยะทาง 1 กิโลเมตร ในปัจจุบันมีให้บริการเพียงสายเดียว

โครงการในต่างจังหวัด

ในปี พ.ศ. 2536 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมและดูแลในเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะระบบราง หรือรถไฟฟ้าในขณะนั้นได้เปิดเผยโครงการการจัดสร้างระบบขนส่งในหัวเมืองใหญ่ 8 เมือง อันได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โครงการที่ดูเป็นรูปเป็นร่างที่สุดในตอนนั้นก็คือโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการทำแผนพัฒนาและสำรวจเส้นทางที่เหมาะสมกับประชาชนแล้วเสร็จ[2]

จังหวัดขอนแก่น

เทศบาลนครขอนแก่น

รถไฟฟ้าในเทศบาลนครขอนแก่น เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ 5 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลสำราญ และ เทศบาลตำบลท่าพระ รูปแบบขนส่งที่เลือกใช้คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา[3]

ความคืบหน้า

  • ตุลาคม พ.ศ. 2560 บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด[4] เจ้าของโครงการได้มีการประกวดราคาและให้ยื่นข้อเสนอโครงการก่อสร้าง และเดือนกุมภาพันธ์ 2561 อยู่ในระหว่างการเตรียมประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในการก่อสร้างโครงการ ต่อมาในวันที่ 23 มี.ค. 2561 ที่ประชุม สนข. มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยหลังจากนี้ สนข. จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไปตามลำดับ
  • 23 เมษายน พ.ศ. 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดขอนแก่น โดยจะรวบรวมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 [5] และมีมติอย่างเป็นทางการจากกระทรวงคมนาคมให้เทศบาลขอนแก่นดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าด้วยตนเอง โดยให้ บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเท็ม จำกัด หรือ เคเคทีเอส เป็นผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าสายแรกของขอนแก่น อย่างไรก็ตามเทศบาลฯ มีความยินดีที่จะให้เคเคทีเอสเข้าร่วมดำเนินการหาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีความต้องการที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น ๆ ให้ครบตามแผน
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เผยแพร่สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดขอนแก่น โดยทาง รฟม. จะชะลอการดำเนินการ และให้การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการนี้ต่อไป
  • 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้ศึกษาไว้ และอนุญาตให้จังหวัดขอนแก่นเป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการโครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่นดังกล่าว เฉพาะในเส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) [6] โดยโครงการจะเป็นระบบ รถไฟฟ้ารางเบา (LRT) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี เป็นโครงสร้างยกระดับ 6 สถานี และระดับดิน 10 สถานี ระยะทาง 22.8 กิโลเมตร
  • ปี พ.ศ. 2565 ได้มีการสร้างรถแทรม โดยเป็นฝีมือคนไทย เป็นของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน เพื่อเป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น สายเหนือ – ใต้[7] โดยจะมีการทดลองกลางปี โดยเส้นทางจะวิ่งรอบบึงแก่นนคร และหลังจาก 3 ปี จึงเริ่มเปิดใช้งาน โดยเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในภาคอีสานที่เปิดใช้[8]

จังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่และชานเมืองเชียงใหม่ โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบ[9] แผนแม่บทรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่แบ่งออกเป็นสามสายทั้งแบบระดับดินและใต้ดิน มูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 95,321 ล้านบาท[10] ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เส้นทางมูลค่าลงทุน
(ล้านบาท)
ระยะทาง (กิโลเมตร)จำนวนสถานีต้นทางปลายทาง
สายสีแดง28,726.8016.5016โรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี
สายสีน้ำเงิน30,399.8210.4713สวนสัตว์เชียงใหม่แยกศรีบัวเงินพัฒนา
สายสีเขียว36,195.0411.9210แยกรวมโชคมีชัยท่าอากาศยานเชียงใหม่
รวม95,321.6638.8937*

หมายเหตุ: * กรณีนับสถานีร่วมเป็นหนึ่งสถานี

แผนแม่บทรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่กำหนดเส้นทางออกเป็น 3 สาย ระยะทางรวม 34.93 กิโลเมตร

จังหวัดนครราชสีมา

เทศบาลนครนครราชสีมา

เทศบาลนครนครราชสีมา เป็น 1 ใน 3 เทศบาล ที่มีโครงการก่อสร้างรถราง โดยเสนอโครงการระบบรถราง[11]

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของขนส่งมวลชนในเมืองนครราชสีมา โดยให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นผู้ศึกษาและออกแบบ รูปแบบขนส่งที่เลือกใช้คือ ระบบรถรางเบาระดับพื้น (High Floor)[12]

เส้นทาง

สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร

รายชื่อสถานีรถไฟรางเบา มีจำนวน 20 สถานี ประกอบด้วย

  • สถานีตลาดเซฟวัน
  • สถานีตลาดมิตรภาพ
  • สถานีอู่เชิดชัย
  • สถานีสำนักคุมประพฤติ
  • สถานีชุมชนประสพสุข
  • สถานีสวนภูมิรักษ์
  • สถานีหัวรถไฟ
  • สถานีเทศบาลนคร
  • สถานีแยกเต๊กฮะ
  • สถานีตลาดใหม่แม่กิมเฮง
  • สถานีราชดำเนิน (ฝั่งขาไป)
  • สถานีคลังพลาซ่าใหม่ (ฝั่งขากลับ)
  • สถานีธนาคารยูโอบี (ฝั่งขากลับ)
  • สถานีถนนชุมพล (ฝั่งขากลับ)
  • สถานีแยกประปา
  • สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา
  • สถานีราชภัฏ
  • สถานีโรงแรมดุสิตปริ๊นเซส
  • สถานีราชมงคล
  • สถานีบ้านนารีสวัสดิ์

สายสีส้ม จำนวน 17 สถานี ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร

สายสีม่วง จำนวน 9 สถานี ระยะทาง 7.14 กิโลเมตร

รวมระยะทาง 28.12 กิโลเมตร

ส่วนต่อขยาย มี 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สีเขียว สีส้ม และสีม่วง รวม 20 สถานี ระยะทางรวม 21.97 กิโลเมตร

ความคืบหน้า

  • 20 ตุลาคม 2560 ได้มีการประชุมฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อจัดทำเอกสารส่งคณะรัฐมนตรีพิจารณา
  • 23 เมษายน 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดนครราชสีมา โดยจะรวบรวมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2561[13] ปัจจุบันได้ผ่านความเห็นชอบจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) และกระทรวงคมนาคมแล้ว  จะเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาต่อไป [14]
  • 21 ธันวาคม 2561 สนข รวมกับหน่วยงานในจังหวัด รวมดำเนินการเผยแพร่และสร้างความเข้าใจกับระบบขนส่งมวลชล และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้ดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เป็นระบบรถไฟฟ้า Light Rail Transit (LRT) มี 3 เส้นทาง โดยจะเร่งให้ทันการเปิดใช้บริการในเส้นทางแรก (สายสีเขียว)ในปี 2566 เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าความเร็วสูง ขณะนี้การดำเนินการอยู่ระหว่างขั้นตอนออกพระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. ดำเนินโครงการในจังหวัดนครราชสีมา[15]
  • 30 พฤษภาคม 2562 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ในสัญญาจ้างนี้จะครอบคลุมเส้นทาง สายสีเขียว เริ่มต้นจาก สถานีเซฟวัน ไปถึง สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.10 กิโลเมตร เบื้องต้นประเมินมูลค่าการลงทุนโครงการนี้ที่ 8,000 ล้านบาท[16]
  • 13 สิงหาคม 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัดการประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 8.30-12.00น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ[17]
    • โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว เส้นทาง ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทระบบรถรางไฟฟ้า หรือ Tram เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนนในระดับดิน เริ่มต้นจากตลาดเซฟวัน เบี่ยงเข้าสืบศิริซอย 6 ไปยังถนนมุขมนตรี เข้าสู่ตัวเมือง จากนั้นเลี้ยวขวาออกไปทางโรงเรียนเมืองนครราชสีมา วิทยาอาชีวศึกษา จากนั้นเลี้ยวเข้าถนนสุรนารายณ์ สิ้นสุดที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

จังหวัดพิษณุโลก

เทศบาลนครพิษณุโลก

เทศบาลนครพิษณุโลก เป็น 1 ใน 3 เทศบาล ที่มีโครงการก่อสร้างรถราง โดยเสนอโครงการระบบรถราง[11]

จังหวัดอุดรธานี

เทศบาลนครอุดรธานี

อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

จังหวัดสงขลา

อำเภอหาดใหญ่

  • วันที่ 30 ตุลาคม 2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จัดการประชุมเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ใช้ระบบการลงทุนกับภาคเอกชน (PPP) เป็นระยะเวลา 30 ปี ประกอบด้วย 12 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีคลองหวะ ถึงสถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร โดยเป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล[18]
  • วันที่ 25 มกราคม 2564 การประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 ได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา[19]
  • วันที่ 4 สิงหาคม 2566 การแถลงข่าวโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล สถานีคอหงส์ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่าทางโครงการฯ ได้ผ่านการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA) เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 คาดว่าจะผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในปี พ.ศ.2567 และเข้าสู่การสรรหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป[20]

จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต

รถไฟฟ้าในจังหวัดภูเก็ต เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากภูเก็ตเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้ต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยเสนอโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบา ปัจจุบันอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาทำการศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน (PPP) ตามขั้นตอน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง[21]โดยอยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการเพื่อเตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี[22][11]

ความคืบหน้า

  • เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แจ้งรับทราบรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นทางเลือกโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เพิ่มเติมอีก 2 รูปแบบ คือ ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (รถแทรม) และรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า (BRT) โดยผลการศึกษาที่ รฟม. สรุปเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมก่อนหน้านี้จะเป็นรถแทรมป์ล้อเหล็ก โดยจะนำรายงานดังกล่าวนี้เสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไปซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสังเกตในการเลือกระบบขนส่งมวลชนที่ลดต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งหากพิจารณาให้ปรับเป็นรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า (BRT) รฟม.จะต้องทำการศึกษาปรับปรุงรายงาน PPP และจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ขึ้นมาใหม่[23]


รายชื่อสถานี มีจำนวน 21 สถานี ดังนี้

  • สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต (ยกระดับ)
  • สถานีเมืองใหม่
  • สถานีโรงเรียนเมืองถลาง
  • สถานีถลาง (ใต้ดิน)
  • สถานีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร
  • สถานีเกาะแก้ว
  • สถานีขนส่ง
  • สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สถานีทุ่งคา
  • สถานีเมืองเก่า
  • สถานีหอนาฬิกา
  • สถานีบางเหนียว
  • สถานีห้องสมุดประชาชน
  • สถานีสะพานหิน
  • สถานีศักดิเดชน์
  • สถานีดาวรุ่ง
  • สถานีวิชิต
  • สถานีเจ้าฟ้าตะวันออก
  • สถานีป่าหล่าย
  • สถานีบ้านโคกโตนด
  • สถานีห้าแยกฉลอง

จังหวัดชลบุรี

เมืองพัทยา

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าเมืองพัทยา

รถไฟฟ้าในเมืองพัทยา เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมืองพัทยา เนื่องจากพัทยาเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาก ทำให้เมืองพัทยาต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยเสนอโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล ปัจจุบันโครงการนี้ อยู่ระหว่างพักการดำเนินการชั่วคราว เนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่[24]

  • รายชื่อสถานีรถไฟฟ้า:[25]
    • สถานีแหลมบาลีฮาย
    • สถานีพัทยาใต้
    • สถานีพัทยากลาง
    • สถานีพัทยาเหนือ
    • สถานีศาลาว่าการเมืองพัทยา
    • สถานีขนส่งพัทยา
    • สถานีโพธิสาร
    • สถานีสุขุมวิท-พัทยา 33
    • สถานีชัยพรวิถี
    • สถานีขนส่งพัทยาใหม่

โครงการรถไฟรางเบาหรือแทรม จะเป็นรถไฟที่วิ่งบนพื้นราบ หรือวิ่งบนถนนเส้นเดิมที่มีอยู่ และไม่ใช่รถไฟลอยฟ้าที่ชาวพัทยา​ คัดค้าน เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อทัศนียภาพ โดยจะเป็นการเดินทางเพื่อเชื่อมต่อตัวเมืองกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และยังพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้เป็นอย่างดี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร