รัฐบาลเสียงข้างน้อย

รัฐบาลเสียงข้างน้อย (อังกฤษ: minority government) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งไม่ได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1] ตรงกันข้ามกับรัฐบาลเสียงข้างมาก ที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1]

รัฐบาลเสียงข้างน้อยอาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่า สภาแขวน (hung parliament)[2] แต่ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ยังต้องอาศัยเสียงจากพรรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายตนในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ในการออกกฎหมาย[2][3] ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุนจากพรรคอื่น ๆ เช่นนี้แล้ว ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่[4]

การศึกษาวิจัยของสถาบันประชาธิปไตยอิสราเอลเกี่ยวกับรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศทางยุโรป 29 ประเทศซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยระหว่าง ค.ศ. 1945–2010 นั้น พบว่า ราว 33% เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย[5] รัฐบาลเสียงข้างน้อยส่วนใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศประชาธิปไตยนั้นเป็นรัฐบาลพรรคเดียว แต่ก็มีจำนวนพอสมควรที่มาจากการรวมกลุ่มเสียงข้างน้อย[5] ตัวอย่าง คือ กรณีของเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ที่นำเสียงข้างน้อยของพรรคตนเอง คือ พรรคอนุรักษนิยม มารวมกับเสียงข้างน้อยของพรรคสหภาพนิยมประชาธิปไตย จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ในช่วง ค.ศ. 2017–2019[6]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง