รายพระนามข่านแห่งคาซัค

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

เดิมทีชาวคาซัคเป็นหนึ่งในชนเผ่าเร่ร่อนในรัฐข่านอุซเบกภายใต้การนำของแอเบิลคาเยิร์ข่าน (อาบูลไฆร์ฆอน, อุซเบก: Abulxayrxon), ซึ่งอพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของ สมาพันธรัฐคูมัน-คิปชัก (แดชเตเคปชอค, เปอร์เซีย: دشت قبچاق; Dasht-e Qebčâq) ทางใต้สู่ มา วาราอุน-นาห์รในทศวรรษ 1430 ถึง 1440s และโจมตีบางส่วนของจักรวรรดิติมูริด[1] ผู้นำเผ่าทั้ง 2 คนได้แก่เคเรย์และฌาเนอเบคผู้สืบเชื้อสายจากอูเริสข่านและเจงกิสข่านตัดสินใจที่จะแยกออกจากแอเบิลคาเยิร์ข่าน เหล่าผู้ติดตามเคเรย์และฌาเนอเบคเป็นที่รู้จักในนาม อุซเบก-คาซัค, คาซัค เป็นคำภาษาเติร์กซึ่งแปลว่า "คนเร่ร่อน" หรือ "คนจรจัด"[1] แอเบิลคาเยิร์ข่านสิ้นพระชนม์ใน 1468, ในอีกสามทศวรรษต่อมาผู้ติดตามของเขาหลายคนเริ่มยอมรับถึงอำนาจของอุซเบก - คาซัคข่าน - เคเรย์, ฌาเนอเบค, และบุตรของเคเรย์ บูเรินเดิค[2] ใน 1500, อย่างไรก็ดี, ผู้นำคนใหม่ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม มูฮัมมัด ไชบอนีย์ ข่าน (อุซเบก: Muhammad Shayboniyxon) ได้รวบรวมชาวอุซเบกจำนวนมากไว้ด้วยกันภายใต้การควบคุมของเขาและอพยพไปทางใต้สู่อุซเบกิสถานในปัจจุบัน, ขณะที่ชาวอุซเบก-คาซัค, ซึ่งต่อมาถูกเรียกอย่างสั้นว่าคาซัคยังคงอยู่ในที่ราบกว้างใหญ่[2] อุซเบกยังคงถูกปกครองโดยมูฮัมมัด ไชบอนีย์ ข่านและเชื้อสายของเขา ขณะที่คาซัคถูกปกครองโดยเชื้อสายของเคเรย์และฌาเนอเบค

หลังแทวเคข่านสิ้นพระชนม์ใน 1718 อาณาจักรข่านแห่งคาซัคเริ่มเสื่อมอำนาจและไม่เป็นปึกแผ่นอีกต่อไป อาณาจักรแตกเป็น 3 กระโจมหรือฌึซ (คาซัค: Жүз; Jüz),แต่ละกระโจมเป็นอิสระต่อกันและมีข่านของตัวเอง[3] ตลอดศตวรรษที่ 18 รัสเซียยังคงขยายอิทธิพลไปสู่ดินแดนแถบนี้ในส่วนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเหล่าข่านแห่งคาซัค, โดยเฉพาะกับกลุ่มกระโจมน้อยทางตะวันตกที่ประกาศตนสวามิภักดิ์ต่อรัสเซียและพระเจ้าซาร์ แม้ว่าคำประกาศเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบที่แท้จริงเกินกว่าคำพูด[4] เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 19, อย่างไรก็ดีรัสเซียเริ่มใช้อำนาจเหนือชาวคาซัคและตำแหน่งของข่าน ชาวรัสเซียเลือกที่จะไม่แต่งตั้งข่านคนใหม่แห่งฝ่ายกระโจมกลางหลังปี ค.ศ. 1819 และยกเลิกตำแหน่งข่านในกระโจมน้อยหลังจากเชร์ฆาเซอข่านเสียชีวิตใน 1824

รัสเซียยังมีอิทธิพลในการจัดตั้งข่านสายใหม่คือ "กระโจมใน" หรือ "เบอเคย์ฌึซ" ประกอบด้วยสมาชิกของกลุ่มกระโจมน้อยซึ่งได้รับอนุญาตใน 1801 ให้ใช้ทุ่งหญ้าทางตะวันตกของแม่น้ำยูราลในดินแดนรัสเซีย ตำแหน่งข่านแห่งกระโจมในดำรงมาถึง 1845 เมื่อรัสเซียล้มล้างระบบข่าน[5]

ทศวรรษ 1840 เคเนซาเรอผู้สืบเชื้อสายจากอับเลข่าน ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของรัสเซีย ซึ่งในเวลานี้ขยายไปทั่วส่วนใหญ่ของคาซัคสถานสมัยใหม่ เขาได้รับการยอมรับจากผู้นำคาซัคส่วนใหญ่ในชื่อเคเนซาเรอข่าน และถือได้ว่าเป็นข่านอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์ของคาซัคในปัจจุบัน แม้ว่าเขาไม่เคยได้รับการยอมรับจากทางการรัสเซียเช่นนี้ แม้ว่าชาวรัสเซียจะไล่ตามเคเนซาเรอมาหลายปีทั่วทั้งที่ราบกว้างใหญ่ เขาก็ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากชาวคาซัค และผลที่ตามมาก็คือสามารถหลบเลี่ยงการจับกุมได้จนถึงปี 1847 เมื่อเขาถูกประหารชีวิตในภาคเหนือของคีร์กีซสถาน[5]

นี่คือรายพระนามข่านตั้งแต่ 1456 - 1847.

พื้นที่โดยประมาณที่ครอบครองโดยชาวคาซัคทั้ง 3 กระโจมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
  กระโจมน้อย
  กระโจมกลาง
  กระโจมใหญ่
ข่านก่อนแตกแยกเป็น 3 กระโจม:
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
เคเรย์1456–1473Керей
แฌเนอเบค1473–1480Жәнібек
บูเรินเดิค1480–1511Бұрындық (Мұрындық)
คาเซิม1511–1518Қасым
มามาช1518–1523Мамаш
ทาเยิร์1523–1533Тайыр
บูยดาช1533–1534Бұйдаш
โคฌามคูต1534–1535Қожамқұт
โทเคิม1535–1537Тоғым
ฮัคนาซาร์1538–1580Хақназар
เชอไฆ1580–1582Шығай
แทเวียเคล1582–1598Тәуекел
เยเซิม1598–1628Есім
แฌงเกิร์1628–1652Жәңгір
บาเติร์1652–1680Батыр
แทวเค1680–1715Тәуке
คาเยิป1715–1718Қайып
โบลาท1718–1729Болат
แอเบิลแมมเบต1729–1771Әбілмәмбет
อาเบอไล1771–1781Абылай
เคเนซาเรอ1841–1847Кенесары
แสตมป์ของคาซัคสถานอุทิศให้แอเบิลคาเยิร์ข่าน
ข่านแห่งกระโจมน้อย
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
แอเบิลคาเยิร์1718–1748Әбілқайыр
นูราเลอ1748–1786Нұралы
เยราเลอ1791–1794Ералы
เยเซิม1795–1797Есім
ไอชูวัค1797–1805Айшуақ
เชร์ฆาเซอ1812–1824Шерғазы


ข่านแห่งโบเก:
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
เบอเคย์1801–1815Бөкей
เชอไฆ1815–1823Шығай
แฌงเกิร์1823–1845Жәңгір
แสตมป์ของคาซัคสถาน เป็นรูปอาเบอไลข่าน
ข่านแห่งกระโจมกลาง:
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
แซเมเค1719–1734Сәмеке
แอเบิลแมมเบต1734–1771Әбілмәмбет
อาเบอไลข่าน1771–1781Абылай Хан
อุแวเลี1781–1819Уәли
ฆูไบโดลลา1819–1822Ғұбайдолла
ข่านอย่างเป็นทางการองค์สุดท้ายภายใต้ จักรวรรดิรัสเซีย:
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
เคเนซาเรอ1841–1847Кенесары
กบฏเอเชียกลาง 1916 (ru:Среднеазиатское восстание 1916 года):
พระนามรัชกาลพระนามภาษาคาซัค
แอบเดอฆัปปาร์ ฌานโบเซินูเลอ (ru:Абдулгафар Жанбосынов)1916–1917Әбдіғаппар Жанбосынұлы

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  • Bregel, Yuri. A Historical Atlas of Central Asia Handbook of Oriental Studies: Part 8 Uralic & Central Asian Studies. (Leiden: Brill) 2003.
  • Zholdaspaev, S. and D. Babaev. 7 klass - Istoriia srednevekogo Kazakhstana. (Almaty: Atamura) 2003.
  • Kasymbaev, Zh. K. 8 klass - Istoriia Kazakhstana (XVIII vek-1914). (Almaty: Mektep) 2004.
  • Test materials for History of Kazakhstan
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย