เจงกิส ข่าน

ผู้พิชิตชาวมองโกล
(เปลี่ยนทางจาก Genghis Khan)

เจงกิส ข่าน (อังกฤษ: Genghis Khan, /ˈɛŋɡɪs ˈkɑːn/ หรือ /ˈɡɛŋɡɪs ˈkɑːn/;[2][3] มองโกเลีย: Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; ประมาณ ค.ศ. 1155/ค.ศ. 1162 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1227) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ทรงก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล มีพระนามเดิมว่า เทมูจิง (มองโกเลีย: Тэмүжин) ตามสถานที่พระราชสมภพริมฝั่งแม่น้ำโอนอน ทรงเป็นผู้นำครอบครัวแทนพระบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ทรงปราบเผ่าไนแมน ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติตันกุต (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาวอุยกูร์

เจงกิส ข่าน
พระบรมสาทิสลักษณ์ของเจงกิส ข่านจากชุดภาพวาดสมัยราชวงศ์หยวน
ข่านมองโกลผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์แรก
ครองราชย์ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1206 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1227
ราชาภิเษกช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1206
ถัดไปโอเกเดย์ ข่าน (ในฐานะข่าน)
โทโลย (ในฐานะผู้สำเร็จราชแทนพระองค์)
ประสูติ5 มีนาคม ค.ศ. 1155
คามัคมองโกล
สวรรคต18 สิงหาคม ค.ศ. 1227 อายุ 72 ปี[1]
เซี่ยตะวันตก
ราชวงศ์บอร์จิกิง
ราชวงศ์การสืบเชื้อสายมาจากเจงกิส ข่าน
พระราชบิดาเยซูไก

ในปี พ.ศ. 1749 เทมูจิงได้ทรงเปลี่ยนพระนามมาเป็น "เจงกิส ข่าน" และจากปี พ.ศ. 1754 ด้วยการรบพุ่งหลายครั้ง เจงกิส ข่าน ทรงสามารถยึดครองจีนตอนเหนือ จักรวรรดิคารา-คิไต (Qara Khitai Empire) (เหลียวตะวันตก) จักรวรรดิคาเรสม์ และดินแดนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง นับถึงเวลาเมื่อเจงกิส ข่าน สวรรคต จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายตั้งแต่ทะเลดำไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก โดยทั้งหมดเริ่มที่จีนตอนเหนือ หลังจากยึดจงตู (ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง) ได้แล้ว เจงกิส ข่าน ได้ส่งทูตไปยังเปอร์เซีย แต่ทางสุลต่านตัดหัวคนที่พระองค์ทรงส่งไป เจงกิส ข่าน จึงมีพระราชบัญชาสั่งระดมพลไปบุกเปอร์เซีย เมืองทุกเมืองที่ต่อต้านจะถูกปล้นชิงและทำลาย หลังการยึด เจงกิส ข่าน ได้มีพระราชบัญชาสั่งทหาร 10,000 คนบุกไปทางเหนือ โดยไม่ได้ถูกหยุดเลยจนถึงสุดขอบทะเลยังใกล้เคียงตะวันออกกลาง

เจงกิส ข่าน มีพระชนม์ชีพอยู่ตรงช่วงประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย พระองค์ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่าทรงเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก นอกจากความสำเร็จในทางการทหารแล้ว เจงกิส ข่าน ยังทรงสร้างระบบอักษรขึ้นใช้ในจักรวรรดิมองโกล โดยดัดแปลงมาจากอักษรอุยกูร์ พระองค์รวบรวมชนเผ่าเร่ร่อนต่าง ๆ ของมองโกลเข้าเป็นชาติเดียวกัน และปกครองโดยถือหลักเปิดกว้างต่อความเชื่อทางศาสนา นอกจากนี้พระองค์ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงในเส้นทางสายไหม ทำให้โลกมุสลิม เอเชียตะวันออก และยุโรป สามารถค้าขายและติดต่อสื่อสารถึงกันได้

ภายหลังเจงกิส ข่าน สวรรคต โอเกเดย์ ข่าน พระราชโอรสของเจงกิส ข่าน ได้นำทัพกลับไปที่ใกล้ตะวันออกกลาง แต่ในขณะที่จะเข้าเวียนนา โอเกเดย์ ข่าน ได้สวรรคตก่อน ทำให้การปะทะกันไม่อาจเกิดขึ้น

จักรวรรดิมองโกลประมาณ พ.ศ. 1800–1900

ชีวิตเมื่อทรงพระเยาว์

พระบรมวงศานุวงศ์

  • พระราชบิดา: เยซูไก
  • พระราชมารดา: โฮเอลุน
  • พระเชษฐาและพระอนุชา
    • คาซาร์ รามาโตส
    • เตมูกู
  • พระอัครมเหสี : บอร์เต
  • พระสนม
    • คูลัน
    • เยซแม
    • เยซเค
  • พระราชโอรส
    • โจชิ
    • ชาตาไก
    • โอเกเดย์
    • โทโลย
  • พระราชนัดดา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าเจงกิส ข่านถัดไป
ไม่มี ข่านแห่งมองโกล
(พ.ศ. 1749–1770)
โอเกเดย์ ข่าน
โทโลย ข่าน
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร