ภาษาเปอร์เซีย

เปอร์เซีย (อังกฤษ: Persian; /ˈpɜːrʒən, -ʃən/) รู้จักจากชื่อเรียกในกลุ่มชน (endonym) ว่า ฟอร์ซี (فارسی, Fārsī, [fɒːɾˈsiː] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษาอิหร่านตะวันตกที่อยู่ในสาขาอิหร่านของสาขาย่อยอินโด-อิเรเนียนจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เปอร์เซียเป็นภาษาพหุศูนย์ที่ผู้คนพูดเป็นภาษาหลักและใช้อย่างเป็นทางการในประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน และประเทศทาจิกิสถาน ซึ่งความหลากหลายของภาษามาตรฐานที่สามารถเข้าใจร่วมกันมีอยู่ 3 แบบ คือ เปอร์เซียแบบอิหร่าน, เปอร์เซียแบบดารี (เรียกว่า ดารี อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1958)[10] และเปอร์เซียแบบทาจิก (เรียกว่า ทาจิก อย่างเป็นทางการตั้งแต่สมัยโซเวียต)[11] นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดภาษาทาจิกตั้งแต่เกิดในประชากรของประเทศอุซเบกิสถาน,[12][13][14] เช่นเดียวกันกับภูมิภาคอื่นที่มีประวัติศาสตร์สังคมเปอร์เซียในเขตวัฒนธรรมเกรตเตอร์อิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานอสถานเขียนด้วยชุดตัวอักษรเปอร์เซีย ซึ่งมาจากอักษรอาหรับ ส่วนในประเทศทาจิกิสถานเขียนด้วยอักษรทาจิก ซึ่งมาจากอักษรซีริลลิก

ภาษาเปอร์เซีย
فارسی (fārsi), форсӣ (forsī)
ฟอร์ซี ในอักษรวิจิตรเปอร์เซีย (แนสแตอ์ลิก)
ออกเสียง[fɒːɾˈsiː] ( ฟังเสียง)
ประเทศที่มีการพูด
จำนวนผู้พูด70 ล้านคน[7]  (ไม่พบวันที่)
(รวม 110 ล้านคน)[6]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบก่อนหน้า
เปอร์เซียโบราณ
รูปแบบมาตรฐาน
แบบอิหร่าน
ภาษาถิ่น
เปอร์เซียแบบอิหร่าน
เดฮ์วอรี
อาร์มีโน-ตัต[6]
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ผู้วางระเบียบ
  • Academy of Persian Language and Literature (อิหร่าน)
  • Academy of Sciences of Afghanistan (อัฟกานิสถาน)
  • Rudaki Institute of Language and Literature (ทาจิกิสถาน)
รหัสภาษา
ISO 639-1fa
ISO 639-2per (B)
fas (T)
ISO 639-3fas – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
pes – ภาษาเปอร์เซียตะวันตก
prs – ภาษาดารี
tgk – ภาษาทาจิก
aiq – ภาษาอายมัก
bhh – ภาษาบูโครี
haz – ภาษาฮาซารากี
jpr – ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว
phv – ภาษาปาห์ลาวานี
deh – ภาษาเดฮ์วอรี
jdt – ภาษายูฮูรี
ttt – ภาษาตัต
Linguasphere
58-AAC (Wider Persian)
> 58-AAC-c (Central Persian)
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแรก (รวมสำเนียง)
โลกภาษาเปอร์เซีย
คำบรรยาย
  ภาษาทางการ
  ผู้พูดมากกว่า 1,000,000 คน
  ผู้พูดระหว่าง 500,000 – 1,000,000 คน
  ผู้พูดระหว่าง 100,000 – 500,000 คน
  ผู้พูดระหว่าง 25,000 – 100,000 คน
  ผู้พูดน้อยกว่า 25,000 คน / ไม่มี
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบันสืบต่อมาจากภาษาเปอร์เซียกลาง ภาษาทางการของจักรวรรดิซาเซเนียน (ค.ศ. 224–651) ซึ่งสืบต่อมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่ใช้ในจักรวรรดิอะคีเมนิด (550–330 ปีก่อนคริสตกาล)[15][16] มีต้นกำเนิดในพื้นที่จังหวัดฟอร์ส (เปอร์เซีย) ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน[17] ไวยากรณ์ของภาษานี้มีความคล้ายกับภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนหลายภาษา[18]

ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาอันทรงเกียรติในจักรวรรดิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง และเอเชียใต้[19] ภาษาเปอร์เซียเก่าเขียนด้วยคูนิฟอร์มเปอร์เซียเก่าในจารึกระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึง 4 ก่อนคริสตกาล ภาษาเปอร์เซียกลางเขียนด้วยอักษรที่มาจากภาษาแอราเมอิก (ปะห์ลาวีกับมาณีกี) ในจารึกกับคัมภีร์ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนามาณีกีในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 10 มีการเขียนวรรณกรรมภาษาเปอร์เซียใหม่ครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิมเป็นต้นมา จึงเริ่มมีการนำอักษรอาหรับมาดัดแปลง[20] ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแรกที่ทลายการผูกขาดของชาวอาหรับผ่านระบบการเขียนในโลกมุสลิม ทำให้กวีเปอร์เซียกลายเป็นธรรมเนียมในข้าราชสำนักตะวันออกหลายแห่ง[19] ในอดีต แม้แต่ผู้ไม่ใช่เจ้าของภาษาก็ใช้ภาษานี้เป็นภาษาราชการ เช่น จักรวรรดิออตโตมันในเอเชียไมเนอร์,[21] จักรวรรดิโมกุลในเอเชียใต้ และชาวปาทานในประเทศอัฟกานิสถาน ภาษานี้มีอิทธิพลบางส่วนในภาษาอาหรับด้วย[22] พร้อมกับยืมคำมาจากภาษาอาหรับในยุคกลาง[15][18][23][24][25][26]

มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียประมาณ 110 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงชาวเปอร์เซีย, ชาวทาจิก, ชาวแฮซอแรฮ์, ชาวตัตแถบคอเคซัส และอายมัก คำว่า Persophone อาจใช้เพื่ออ้างถึงผู้พูดภาษาเปอร์เซีย[27][28]

การจัดจำแนก

ภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มอิหร่านตะวันตกในกลุ่มภาษาอิหร่าน ซึ่งเป็นสาขาของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนในกลุ่มย่อยกลุ่มอินโด-อิเรเนียน เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย: กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นส่วนใหญ่ และกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มี ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด[29]

ภาษาของอัฟกานิสถานมักเรียกว่า "iftizah" และ "vahshatnak"

การเรียกชื่อ

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาษาดารี (มาจาก دربار‎ /dærbɒr/ "ศาล")[30] เป็นชื่อท้องถิ่นในอัฟกานิสถานและเอเชียใต้ แต่ชาวอัฟกันส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานจะเรียกภาษานี้ว่าภาษาฟาร์ซี
  • ภาษาฟาร์ซี/ปาร์ซี (فارسی / پارسی‎)[31] เป็นชื่อท้องถิ่นในอิหร่าน
  • ภาษาทาจิก (тоҷикӣ)[32] เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษานี้ในเอเชียกลาง โดยเฉพาะในทาจิกิสถาน
บริเวณที่มีการพูดภาษาเปอร์เซียสำเนียงหลักทั้งสามสำเนียง

ชื่อในภาษาอังกฤษ

ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจากภาษาละติน Persianus < ละติน Persia < กรีก Πέρσις Pérsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21[33] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็นภาษาอาหรับของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/[34][35] เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี[36] และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี[37][38]

ชื่อในระดับนานาชาติ

การกำหนดรหัสภาษาในระบบ ISO 639-1 ใช้ "fa" ส่วนในระบบ ISO 639-3 ใช้ "fas" สำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อิหร่านถึงอัฟกานิสถาน ใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีตะวันออกสำหรับภาษาเฉพาะในอัฟกานิสถานและภาษาฟาร์ซีตะวันตกสำหรับภาษาเฉพาะในอิหร่าน ใน Ethnologue จะใช้ภาษาฟาร์ซีตะวันออกหรือ "Dari" กับภาษาฟาร์ซีตะวันตกหรือ "Irani"

สัทวิทยา

หน่วยเสียงสระของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่สำเนียงเตหะราน

ภาษาเปอร์เซียมีพยัญชนะ 23 เสียง สระ 6 เสียง ในอดีต ภาษาเปอร์เซียมีเสียงสระ 8 เสียงคือมีเสียงยาว 5 เสียง (/iː/, /uː/, /ɒː/, /oː/ และ /eː/) และเสียงสั้น 3 เสียง (/æ/, /i/ และ /u/)จนเมื่อราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 มีการรวมกันของเสียงสระบางเสียง จึงเหลือเพียง 6 เสียงในปัจจุบัน

พยัญชนะ

LabialAlveolarPostalveolarPalatalVelarUvularGlottal
Nasalmn(ŋ)
Plosivep bt dk ɡ(q ɢ)
Affricatetʃ dʒ
Fricativef vs zʃ ʒx ɣh
Tapɾ
Trill(r)
Approximantlj

ไวยากรณ์

โครงสร้าง

ภาษาเปอร์เซียมีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก คำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันตามบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง

การเรียงประโยค

โครงสร้างประโยคโดยทั่วไปเป็น ประธาน- (วลีบุพบท) -กรรม-กริยา ถ้ากรรมมีการชี้เฉพาะ กรรมจะตามด้วยคำ ra และมาก่อนวลีบุพบท

ประวัติ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด

ภาษาเปอร์เซียยุคกลาง

ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยการเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ

ภาษาเปอร์เซียใหม่

ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง

ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก

ปัญจตันตระหรือกาลิละห์ วา ดิมนา วรรณคดีเปอร์เซียที่มีอิทธิพลมากเรื่องหนึ่ง

การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล

ภาษาเปอร์เซียกับการปกครองในอินเดีย

บทกวีภาษาเปอร์เซียที่อินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 23
บทกวีภาษาเปอร์เซีย Takht-e Shah Jahan, ที่อินเดีย

ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น

ความผันแปรและสำเนียง

ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่มีสำเนียงที่สำคัญสามสำเนียงคือ

  • ภาษาเปอร์เซียอิหร่านยุคใหม่ (ฟาร์ซีตะวันตก) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่าน ภาษาเปอร์เซียเรียก Farsi ภาษาอังกฤษเรียก Persian
  • ภาษาดารี (ฟาร์ซีตะวันออก) เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน
  • ภาษาทาจิก เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซีย ใช้พูดในทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิก

นอกจากนั้นยังมีภาษาต่อไปนี้ที่ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย

  • ภาษาลูรีหรือภาษาโลรี ใช้พูดในจังหวัดโลเรสถาน จังหวัดโกห์คิลูเยห์ และโบเยร์-อะหมัดทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านและทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟาร์และบางส่วนของคูเซสถาน
  • ภาษาตัต ใช้พูดในบางส่วนของอาเซอร์ไบจาน และรัสเซียรวมทั้งภาษาตัตของชาวคริสต์และภาษายูฮูรี
  • ภาษาลาริทางภาคใต้ของอิหร่าน

คำศัพท์

การสร้างคำดั้งเดิมในภาษา

การสร้างคำในภาษาเปอร์เซียจะประกอบด้วยการเติมอุปสรรคปัจจัยเข้าที่รากศัพท์ และมีการสร้างคำแบบรูปคำติดต่อด้วย รวมทั้งการสร้างคำแบบประสมที่รวมคำสองคำเข้าด้วยกัน

อิทธิพล

ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับน้อย และได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาโบราณในเมโสโปเตเมีย แต่ในภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากรากศัพท์ภาษาอาหรับมาก โดยรากศัพท์เหล่านี้จะถูกทำให้เป็นเปอร์เซีย คำศัพท์ภาษาอาหรับที่พบในภาษาที่ใช้พูดในประเทศอินเดียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกนั้นจะยืมต่อไปจากภาษาเปอร์เซียอีกต่อหนึ่ง การรวมหน่วยทางภาษาจากภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกเข้าในภาษาเปอร์เซีย[39] เกิดจากการที่ชาวเติร์กเคยมีอำนาจปกครองอิหร่าน คำศัพท์กลุ่มนี้มักเป็นคำศัพท์ทางการเมือง

มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษารัสเซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ในปัจจุบันมีคำยืมจากภาษาอังกฤษในภาษาเปอร์เซียมากยิ่งขึ้น และสมาคมวิชาการเปอร์เซียพยายามบัญญัติศัพท์ภาษาเปอร์เซียขึ้นใช้แทน อย่างไรก็ตาม มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาอังกฤษ เพราะผู้พูดภาษาเปอร์เซียจะออกเสียงภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายกว่า

นอกจากนี้ ภาษาเปอร์เซียยังมีอิทธิพลต่อคำศัพท์ในภาษาอื่นโดยเฉพาะกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน ตัวอย่างของภาษาเหล่านี้ได้แก่ ภาษาอูรดู ภาษาฮินดี และกลุ่มภาษาเตอร์กิก เช่น ภาษาตุรกีออตโตมาน ภาษาชะกะไต ภาษาตาตาร์ ภาษาตุรกี[40] ภาษาเติร์กเมน ภาษาอาเซอรี[41] ภาษาอุซเบก ตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก เช่นภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย ภาษาอาหรับ[42] ตระกูลภาษาดราวิเดียน เช่น ภาษาเตลูกู และภาษาบราฮุย ภาษาในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ภาษาอาร์มีเนีย ภาษาจอร์เจีย ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น [[ภาษามลายู และภาษาในทวีปแอฟริกา เช่น ภาษาสวาฮิลี นอกจากนั้น ภาษาเปอร์เซียยังส่งอิทธิพลต่อภาษาในยุโรปตะวันออกผ่านทางภาษาตุรกี เช่น ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย โดยเฉพาะที่ใช้พูดในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา

การเขียน

ตัวอย่างการเขียนภาษาเปอร์เซียแบบนัสตาลิก [ 1 ]
ลายมือเขียนของอักษรเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ภาษาทาจิกที่ถือเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกในเอเชียกลาง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก

อักษรเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารีเปอร์เซียสมันใหม่ เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงซึ่งมีการออกเสียงที่ต่างไปและเพิ่มอักษรเข้ามา ในขณะที่ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก หลังจากที่ชาวเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามใช้เวลาถึง 150 ปีที่ชาวเปอร์เซียได้ประยุกต์นำอักษรอาหรับเข้าไปแทนที่อักษรที่เคยใช้อยู่เดิมคืออักษรปะห์ลาวีสำหรับภาษาเปอร์เซียยุคกลางและอักษรอเวสตะที่ใช้สำหรับงานเขียนทางศาสนา อักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาอเวสตะมาก่อนในอักษรเปอร์เซียสมัยใหม่สระที่ใช้แทนสระเสียงสั้น (a, e, o) จะไม่แสดง แสดงเฉพาะสระเสียงยาว (i, u, â) ซึ่งจะทำทำให้เกิดความสับสนได้ เช่นเมื่อสะกดว่า "krm" อาจหมายถึง kerm "หนอน", karam "ใจกว้าง", kerem "ครีม" หรือ krom "สี" ผู้อ่านต้องตัดสินใจเอาเองจากบริบท ระบบเครื่องหมายการออกเสียงภาษาอาหรับที่เรียกฮารากัตมีใช้ในภาษาเปอร์เซียด้วย แม้จะออกเสียงต่างจากภาษาอาหรับ เช่น ฎ็อมมะห์ ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง [ʊ] ส่วนภาษาเปอร์เซียใช้แทน [o] แต่การแสดงเครื่องหมายนี้จะไม่ใช้ในการเขียนภาษาเปอร์เซียตามปกติ จะใช้สำหรับการสอนและพจนานุกรมบางเล่มตัวอักษรบางตัวจะใช้เฉพาะคำยืมจากภาษาอาหรับ แต่จะออกเสียงแบบภาษาเปอร์เซีย เช่น มีอักษร 4 ตัวแทนเสียง 'z' อักษรแทนเสียง 's' 3 ตัวและแทนเสียง 't' อีก 2 ตัว

อักษรเพิ่ม

อักษรเปอร์เซียมีเพิ่มจากอักษรอาหรับ 4 ตัวคือ

เสียงรูปเดี่ยวรูปท้ายรูปกลางรูปต้นชื่อ
/p/پـپـپـپـเพ
/tʃ/چـچـچـچـเช
/ʒ/ژـژـژژเฌ
/ɡ/گـگـگـگـเก (กาฟ)

ในอดีต เคยมีอักษรพิเศษสำหรับเสียง /β/ ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว เพราะเสียง /β/ เปลี่ยนเป็นเสียง /b/ เช่น زڤان /zaβān/ ในอดีต > زبان /zæbɒn/ 'ภาษา'[43]

เสียงรูปเดี่ยวรูปท้ายรูปกลางรูปต้นชื่อ
/β/ڤـڤـڤـڤـβe

การเปลี่ยนแปลง

อักษรเปอร์เซียมีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรจากภาษาอาหรับ เช่นอลิฟที่มีฮัมซะหฺอยู่ข้างล่าง ( إ ) เปลี่ยนเป็น ( ا ) คำที่เขียนด้วยฮัมซะหฺจะเขียนต่างไป เช่น مسؤول เป็น مسئول และ ة เปลี่ยนเป็น ه หรือ ت อักษรที่เปลี่ยนรูปร่างไป แสดงในตารางข้างล่าง การเขียนตามรูปแบบเดิมในภาษาอาหรับไม่ถือว่าผิดแต่ไม่นิยม

แบบอักษรอาหรับแบบอักษรเปอร์เซียชื่อ
كکเก (กาฟ)
يیเย
รูปแบบของคีย์บอร์ดมาตรฐานISIRI 9147 เก็บถาวร 2011-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำหรับภาษาเปอร์เซีย

อักษรละติน

องค์กรนานาชาติสำหรับการจัดมาตรฐานได้เสนอการปริวรรตภาษาเปอร์เซียเป็นอักษรละตินแต่ไม่เป็นที่นิยม อีกรูปแบบหนึ่งมาจากอักษรละตินมาตรฐานสำหรับกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่นำไปใช้ในทาจิกิสถานเมื่อราว พ.ศ. 2463 ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้อักษรซีริลลิกในอีกทศวรรษต่อมา นอกจากนั้นยังมีระบบของ Universal Persian Alphabet ใช้ในหนังสือตำราหรือคู่มือการท่องเที่ยว และ International Persian Alphabet ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย A. Moslehi นักภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

อักษรทาจิก

อักษรซีริลลิกถูกนำมาใช้เขียนภาษาทาจิกในสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก โดยนำมาใช้แทนอักษรละตินที่เริ่มใช้หลังการปฏวัติบอลเชวิกในราว พ.ศ. 2473 หลัง พ.ศ. 2482 การเขียนด้วยอักษรเปอร์เซียในประเทศถูกสั่งห้าม

ตัวอย่าง

ประโยคในนี้คือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1

ภาษาเปอร์เซียแบบอิหร่านهمه‌ی افراد بشر آزاد به دنیا می‌آیند و حیثیت و حقوق‌شان با هم برابر است، همه اندیشه و وجدان دارند و باید در برابر یکدیگر با روح برادری رفتار کنند.
ทับศัพท์Hame-ye afrād-e bashar āzād be donyā mi āyand o heysiyat o hoquq-e shān bā ham barābar ast hame andishe o vejdān dārand o bāyad dar barābare yekdigar bā ruh-e barādari raftār konand.
สัทอักษรสากล[hæmeje æfrɒde bæʃær ɒzɒd be donjɒ miɒjænd o hejsijæt o hoɢuɢe ʃɒn bɒ hæm bærɒbær æst hæme ʃɒn ændiʃe o vedʒdɒn dɒrænd o bɒjæd dær bærɒbære jekdiɡær bɒ ruhe bærɒdæri ræftɒr konænd]
ภาษาทาจิกҲамаи афроди башар озод ба дунё меоянд ва ҳайсияту ҳуқуқашон бо ҳам баробар аст, ҳамаашон андешаву виҷдон доранд ва бояд дар баробари якдигар бо рӯҳи бародарӣ рафтор кунанд.
แปลภาษาไทยมนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

อ้างอิง

ข้อมูลทั่วไป

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง