แม่น้ำยูรัล

แม่น้ำยูรัล (อังกฤษ: Ural River; รัสเซีย: Урал, ออกเสียง: [ʊˈraɫ]) มีอีกชื่อว่า แม่น้ำยาอิค (รัสเซีย: Яик; บัชกอร์ต: Яйыҡ, อักษรโรมัน: Yayıq, ออกเสียง: [jɑˈjɯq]; คาซัค: Жайық / Jaiyq / جايىق, ออกเสียง [ʑɑˈjəq]) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากประเทศรัสเซียถึงประเทศคาซัคสถานซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป โดยไหลลงมาจากทางใต้ของเทือกเขายูรัลและสิ้นสุดที่ทะเลสาบแคสเปียน โดยแม่น้ำสายนี้มีความยาวประมาณ 2428 กิโลเมตร และมีความยาวเป็นอันดับ 3 ของทวีปยุโรป รองจากแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดานูบ น้ำในแม่น้ำยูรัลไหลลงสู่ทะเลสาบแคสเปียนในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งร้อยละ 70 ของน้ำในแม่น้ำยูรัลได้มาจากการละลายของหิมะ ส่วนที่เหลือมาจากปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ต้นกำเนิดของแม่น้ำยูรัลเกิดจากเทือกเขายูรัลซึ่งมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเส้นแบ่งทวีประหว่างยุโรปกับเอเชีย

แม่น้ำยูรัล
ภาพถ่ายแม่น้ำยูรัลจากเครื่องบิน ระหว่างโวรัลกับอาเตอเรา ประเทศคาซัคสถาน
ที่ตั้ง
ประเทศคาซัคสถาน, รัสเซีย
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งเทือกเขายูรัล
ปากน้ำทะเลแคสเปียน
 • พิกัด
46°53′N 51°37′E / 46.883°N 51.617°E / 46.883; 51.617
ความยาว2,428 กิโลเมตร (1,509 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ231,000 ตารางกิโลเมตร (89,000 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย400 cubic metre per second (14,000 cubic foot per second)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนUral River Delta and adjacent Caspian Sea coast
ขึ้นเมื่อ10 มีนาคม ค.ศ. 2009
เลขอ้างอิง1856[1]

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล (Ural delta) มีลักษณะยาว และเรียวคล้ายกับตีนนก (bird’s foot)[2] ซึ่งการแสดงการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะนี้สามารถบอกได้ว่า เกิดจากอิทธิพลการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก และได้รับอิทธิพลจากคลื่นเล็กน้อย ซึ่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปีในสหรัฐอเมริกามีลักษณะแบบนี้เช่นกัน

การสะสมของตะกอน (sediment supply) โดยปกติปริมาณตะกอนรวมประมาณ 310 g/m³ ส่วนในฤดูน้ำหลากจะมีปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้นจนถึง 2400 g/m³ และในฤดูหนาวจะมีปริมาณตะกอนต่ำสุดประมาณ 0.5 g/m³ [3]

ลักษณะสภาพแวดล้อมในอดีต

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลมีลักษณะยาวและเรียวคล้ายกับตีนนก[2]

สภาพแวดล้อมในอดีตของดินดอนสามเหลี่ยมจะเป็นลักษณะของธารน้ำแข็ง เพราะเมื่อก่อนถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งอยู่ในยุคน้ำแข็งและยุคน้ำแข็งละลาย เมื่อน้ำแข็งละลาย ก็มีการพัฒนามาเป็นแม่น้ำต่างๆ โดยได้พาตะกอนจากพื้นดินโดยเฉพาะบริเวณที่เป็น ที่ราบธารน้ำแข็งรัสเซีย ลักษณะของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลเริ่มมีการคงสภาพในช่วงไพลสโตซีน (Pleistocene)[4]

ปัจจัยของระดับน้ำทะเลที่มีผลต่อดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล

แม่น้ำยูรัล เริ่มมีการเปลี่ยนตำแหน่งและทิศทางในช่วงหลังยุคที่น้ำทะเลลด โดยมีการขยายตัวไปถึง 32 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 522 ตารางกิโลเมตร และยื่นเข้าไปในคาบสมุทรเปชนอย (Peshnoy) ในประเทศคาซัคสถาน

การพัฒนามาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล

ในแต่ละปี แม่น้ำยูรัลจะมีการกัดเซาะจากคลื่นและจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล เกิดเป็นลักษณะของทางน้ำ เมื่อตะกอนมีการสะสมตัวมากขึ้นจะเกิดเป็นลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล ซึ่งจะแสดงลักษณะการกระทำที่เกิดจากแม่น้ำเป็นหลัก[5]

ซากดึกดำบรรพ์

ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีได้ตั้งแต่พวกแพลงก์ตอน ไปจนถึงพวกไดอะตอมขนาดเล็ก แต่ที่พบเจอในหิน ได้แก่ พวกหอยสองฝา และหอยฝาเดียว

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง