วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

วิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองเริ่มขึ้นในประเทศเวเนซุเอลาในปี 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซและดำเนินต่อมาจนประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโรคนปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา[1] และนับเป็นวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในทวีปอเมริกา[2][3] โดยมีภาวะเงินเฟ้อเกิน ความอดอยากสูง โรค อาชญากรรมและอัตราตาย และการย้ายออกนอกประเทศขนานใหญ่[4] ผู้สังเกตการณ์และนักเศรษฐกิจแถลงว่า วิกฤตดังกล่าวมิใช่ผลลัพธ์แห่งความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติแต่เป็นผลพวงจากนโยบายประชานิยมซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติโบลิบาร์ของรัฐบาลชาเบส[5][6][7][8][9][10] โดยสถาบันบรุกคิงส์แถลงว่า "ประเทศเวเนซุเอลากลายเป็นตัวแทนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง การบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด และการปกครองซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่ความทรมานอย่างกว้างขวางได้อย่างไรโดยแท้"[11]

วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ประธานาธิบดีชาเบสประกาศ "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ วิกฤตดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาลมาดูโร และผลจากราคาน้ำมันที่ถูกในต้นปี 2558[12][13] และปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและการลงทุน รัฐบาลไม่สามารถตัดรายจ่ายเมื่อเผชิญกับรายได้จากน้ำมันที่ลดลงและรับมือกับปัญหาโดยปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหา[14][15] และปราบปรามการคัดค้านอย่างรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวงทางการเมือง การขาดแคลนอาหารและยาอย่างเรื้อรัง การปิดบริษัท การว่างงาน การลดลงของผลิตภาพ ลัทธิอำนาจนิยม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริหารเศรษฐกิจมวลรวมที่ผิดพลาด และการพึ่งพาน้ำมันอย่างสูงล้วนส่งเสริมให้วิกฤตนี้เลวร้ายลง การหดตัวของจีดีพีประชาชาติและต่อหัวในประเทศเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 2556–60 รุนแรงกว่าสมัยสหรัฐระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือของประเทศรัสเซีย คิวบาและอัลเบเนียหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต[16][17] อัตราเงินเฟ้อต่อปีสำหรับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละหลายแสน ส่วนเศรษฐกิจหดตัวเกือบร้อยละ 20 ต่อปีในปี 2559[18] เมื่อปลายปี 2561 เงินเฟ้อแตะร้อยละ 1.35 ล้าน

วิกฤตดังกล่าวมีผลต่อชีวิตของชาวเวเนซุเอลาโดยเฉลี่ยทุกระดับ ในปี 2560 ความอดอยากรุนแรงถึงขั้นที่ประชากรเกือบร้อยละ 75 มีน้ำหนักลดลงกว่า 8 กิโลกรัม เกือบร้อยละ 90 ยากจน และกว่าครึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารขั้นพื้นฐาน[19] นับตั้งแต่เริ่มวิกฤตจนถึงปี 2560 ชาวเวเนซุเอลากว่า 2.3 ล้านคนออกนอกประเทศ เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าคนสูงสุดในโลก โดยมีผู้ถูกฆ่า 90 ต่อ 100,000 คนในปี 2558

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง