สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์[1] หรือ สมาพันธรัฐแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbund; ฝรั่งเศส: États confédérés du Rhin (ชื่ออย่างเป็นทางการ) Confédération du Rhin (ชื่อในทางพฤตินัย)) เป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ก่อตั้งจากรัฐเยอรมันทั้ง 16 รัฐ โดยจักรพรรดินโปเลียนหลังจากรบชนะจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ การลงนามในสนธิสัญญาเพรซเบิร์กได้นำไปสู่การก่อตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1806 ถึงปี ค.ศ. 1813

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

Rheinische Bundesstaaten (เยอรมัน)
États confédérés du Rhin (ฝรั่งเศส)
ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1813
ของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์
ตราแผ่นดิน
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ในปี ค.ศ. 1812
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ในปี ค.ศ. 1812
สถานะรัฐบริวารของฝรั่งเศส
เมืองหลวงแฟรงก์เฟิร์ต
ศาสนา
คาทอลิกโปรเตสแตนต์
การปกครองสมาพันธรัฐฝรั่งเศส รัฐบริวาร
ผู้อารักขา 
• ค.ศ. 1806-1813
นโปเลียนที่ 1
เจ้าชาย-ไพรเมต 
• ค.ศ. 1806-1813
คาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก
• ค.ศ. 1813
เออแฌน เดอ โบอาร์เนส์
ยุคประวัติศาสตร์สงครามนโปเลียน
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806
6 สิงหาคม ค.ศ. 1806
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1813
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สมาพันธรัฐเยอรมัน

สมาชิกของสมาพันธ์คือเจ้าผู้ครองนครรัฐเยอรมัน (Fürsten) ในความปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ 16 รัฐ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว เจ้าเหล่านี้ล้วนมิใช่ประมุขของรัฐซึ่งตนเองปกครองอยู่ ภายหลังได้มีรัฐอื่นอีก 19 รัฐเข้าร่วมในสมาพันธรัฐ ทำให้เมื่อรวมกันแล้วทำให้มีประชากรภายใต้การปกครองมากกว่า 15 ล้านคน ก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์อย่างมากต่อจักรวรรดิฝรั่งเศสในแนวรบด้านตะวันออก

การก่อตั้ง

ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 นครรัฐ 16 รัฐ ซึ่งรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ได้ลงนามในสนธิสัญญาสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbundakte) เพื่อแยกตัวจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และรวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐในชื่อ "สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์" (états confédérés du Rhin) โดยอิงตามชื่อของกลุ่มรัฐเยอรมันในยุคก่อนหน้าที่เรียกว่า "สันนิบาตแห่งแม่น้ำไรน์" มีจักรพรรดินโปเลียนเป็นดำรงตำแหน่ง "ผู้อารักขา" แห่งสมาพันธรัฐ หลังจากนั้นในวันที่ 6 สิงหาคม ด้วยการยื่นคำขาดของนโปเลียน จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จึงได้สละตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และประกาศล้มเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บรรดารัฐเยอรมันมากกว่า 23 รัฐก็เข้าร่วมสมาพันธรัฐ โดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จะปกครองส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิในชื่อจักรวรรดิออสเตรีย มีเฉพาะออสเตรีย ปรัสเซีย ฮ็อลชไตน์ส่วนที่เป็นของเดนมาร์ก และปอมเมอเรเนียของสวีเดนเท่านั้นที่อยู่นอกสมาพันธรัฐ ไม่นับรวมดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และราชรัฐเออร์เฟิร์ตซึ่งถูกยึดครองโดยจักรวรรดิฝรั่งเศส

ตามสนธิสัญญาดังกล่าว สมาพันธรัฐจะดำเนินการโดยผู้แทนร่วมตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐใหญ่ ต่างก็ต้องการมีอำนาจอธิปไตยอย่างไม่จำกัด

สมาพันธรัฐนี้มิได้มีประมุขเป็นกษัตริย์ตามอย่างที่เคยใช้ในจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำแหน่งสูงสุดในสมาพันธรัฐนี้เป็นของคาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก อดีตอัครมหาเสนาบดีผู้ที่เบื่อตำแหน่งเจ้าชาย-ไพรเมตของสมาพันธรัฐ ในฐานะดังกล่าวเขาเป็นประธานของคณะพระมหากษัตริย์ (College of Kings) และมีอำนาจเหนือ สภานิติบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐ (Diet of the Confederation) ซึ่งมีลักษณะองค์กรคล้ายกับรัฐสภา (Parliament) อย่างไรก็ตาม องค์กรดังกล่าวนี้ไม่เคยมีการประชุมแต่อย่างไร ส่วนประธานสภาของเจ้าผู้ครองนครคือเจ้าชายแห่งนัสเซา-อูซินเงน

ในความเป็นจริงแล้ว สมาพันธรัฐมีสถานะเป็นพันธมิตรทางการทหาร กล่าวคือ รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐจะต้องส่งกำลังทหารสนับสนุนจำนวนมากให้แก่ฝรั่งเศส โดยที่ผู้ปกครองรัฐจะได้รับการยกสถานะดินแดนของตนขึ้นเป็นการตอบแทน เช่น บาเดิน (ปัจจุบันดินแดนส่วนตะวันตกอยู่ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค) เฮ็สเซิน คลีฟส์ (Cleves) และเบิร์ก (ทั้งสองแห่งปัจจุบันอยู่ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน) ได้ยกฐานะขึ้นเป็นแกรนด์ดัชชี ส่วนเวือร์ทเทิมแบร์คและบาวาเรีย ได้ยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักร นอกจากนี้บางรัฐยังมีอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นโดยได้รับเอา "Kleinstaaten" หรือรัฐขนาดเล็กหลาย ๆ แห่งที่เคยเป็นสมาชิกของจักรวรรดิมาควบรวมเข้าไป

หลังปรัสเซียพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1806 รัฐขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากก็เข้าร่วมกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ โดยขยายตัวมากที่สุดในปี ค.ศ. 1808 ประกอบด้วย 4 ราชอาณาจักร 5 แกรนด์ดัชชี 13 ดัชชี 17 พรินซิพาลิตี และนครรัฐอิสระฮันเซียติค ได้แก่ เมืองฮัมบวร์ค ลือเบค และ เบรเมิน

ในปี ค.ศ. 1810 ส่วนใหญ่ของเยอรมนีตะวันออกเฉียงเหนือก็รวมเข้ากับจักรวรรดินโปเลียนอย่างเร่งด่วน ตามคำสั่งการห้ามค้าขายระหว่างประเทศกับสหราชอาณาจักร ตามนโยบายการปิดล้อมภาคพื้นทวีป ซึ่งบังคับให้ชาวยุโรปค้าขายกันเองโดยไม่ต้องพึ่งอังกฤษ

สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์สลายตัวในปี ค.ศ. 1813 อันเนื่องมาจากการที่จักรพรรดินโปเลียนพ่ายสงครามแก่จักรวรรดิรัสเซีย สมาชิกจำนวนมากย้ายฝ่ายหลังจากสิ้นสุดยุทธการที่ไลพ์ซิก เมื่อการณ์ปรากฏชัดว่าจักรพรรดินโปเลียนจะแพ้ในสงครามประสานมิตรครั้งที่หก อย่างแน่นอนแล้ว

รัฐที่เป็นสมาชิก

ตารางต่อไปนี้แสดงรายนามรัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐและวันที่เข้าร่วม พร้อมทั้งจำนวนกำลังทหารในความปกครอง (แสดงด้วยตัวเลขในวงเล็บ)[2]

สมาชิกที่เป็นกษัตริย์

ร้ฐสมาชิกเข้าร่วมเมื่อหมายเหตุ
แกรนด์ดัชชี่บาเดน12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นรัฐมาร์เกรฟ (8,000)
ราชอาณาจักรบาวาเรีย12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดัชชี (30,000)
แกรนด์ดัชชี่เบิร์ก12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; รวมทั้งดัชชีเคลเวอ ในอดีตทั้งคู่เป็นดัชชี (5,000)
แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน-ดาร์มสตัดท์12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นเคาน์ตี (4,000)
ราชรัฐเรเกนสบวร์ก12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นราชรัฐอัครมุขนายก(4,000)
ราชอาณาจักรซัคเซิน12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806ในอดีตเป็นดัชชี (20,000)
ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1807จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นใหม่ (25,000)
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นดัชชี (12,000)
แกรนด์ดัชชี่เวิร์ซบวร์ก23 กันยายน ค.ศ. 1806จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นใหม่ (2,000)

สมาชิกที่เป็นเจ้าชาย

รัฐสมาชิกเข้าร่วมเมื่อหมายเหตุ
ดัชชีอันฮัลท์-แบร์นบูร์ก11 เมษายน ค.ศ. 1807(700)
ดัชชีอันฮัลท์-เดสเซา11 เมษายน ค.ศ. 1807(700)
ดัชชีอันฮัลท์-เคอเทิน11 เมษายน ค.ศ. 1807(700)
ดัชชีอาเรนแบร์ก12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐโฮเฮนซอลเลิร์น-เฮชิงเงิน12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐไอเซนบูร์ก12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐไลเอิน12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นเกรฟ (Graf) (4,000)
ราชรัฐลิคเตนสไตน์12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐลิพเพอ-เดทมอลด์11 เมษายน ค.ศ. 1807(650)
ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน22 มีนาคม ค.ศ. 1808(1,900)
ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1808(400)
ดัชชีนัสเซา (อูซิงเงินและเวลบูร์ก)12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806*ร่วมอยู่ในสหภาพแห่ง นัสเซา-อูซิงเงิน และ นัสเซา-เวลบูร์ก ทั้งสองรัฐเป็นรัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (อย่างละ 4,000)
แกรนด์ดัชชีอ็อลเดินบวร์ค14 ตุลาคม ค.ศ. 1808ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเสษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1810 (800)
ราชรัฐรอยสส์-เอเบิร์สดอร์ฟ11 เมษายน ค.ศ. 1807(400)
ราชรัฐรอยสส์-ไกรซ์11 เมษายน ค.ศ. 1807(400)
ราชรัฐรอยสส์-โลเบนสไตน์11 เมษายน ค.ศ. 1807(400)
ราชรัฐรอยสส์-ชไลซ์11 เมษายน ค.ศ. 1807(400)
ราชรัฐซัล์ม (ซัล์ม-ซัล์ม และ ซาล์ม-คีร์บูร์ก)25 กรกฎาคม ค.ศ. 1806รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเสษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1810 (4,000)
ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์ก15 ธันวาคม ค.ศ. 1806(เป็นส่วนหนึ่งในกองกำลังแกรนด์ดัชชี่ซัคเซิน 2,000)
ดัชชีซัคเซิน-โกทา15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ฮิลด์บูร์กเฮาเซิน15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ไมนิงเงิน15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ราชรัฐชอมบวร์ก-ลิพเพอ11 เมษายน ค.ศ. 1807(650)
ราชรัฐชวาร์ซบวร์ก-รูดอลสตัดท์11 เมษายน ค.ศ. 1807(650)
ราชรัฐชวาร์ซบวร์ก-ซอนเดอร์สเฮาเซ่น11 เมษายน ค.ศ. 1807(650)
ราชรัฐวาลเดิก-พีร์มอนต์11 เมษายน ค.ศ. 1807(400)

เหตุการณ์ในช่วงหลัง

ฝ่ายประสานมิตรได้คัดค้านจักรพรรดินโปเลียนในการยุบสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1813 แต่ไม่เป็นผล ต่อมาหลังการเลิกล้มสมาพันธรัฐ ก็มีความพยายามที่จะรวมชาติเยอรมนีอีกครั้ง กระทั่งเมื่อมีการสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1815 โดยองค์กรบริหารของสมาพันธรัฐนี้เรียกว่าสภาการปกครองส่วนกลาง (เยอรมัน: Zentralverwaltungsrat) โดยประธานสภาได้แก่ ไฮน์ริช ฟรีดริช คาร์ล ไรช์สไฟรเฮอร์ ฟอม อุนด์ ซุม สไตน์ (ค.ศ. 1757 – 1831) ซึ่งต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ล้มเลิกไปในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1815

สนธิสัญญาปารีสได้ประกาศให้บรรดารัฐเยอรมันได้รับเอกราชในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1814

ในปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ร่างแผนที่รัฐกิจของยุโรปภาคพื้นทวีปขึ้นใหม่ รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ที่เหลืออยู่ส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนเพียงเล็กน้อย และมีผลทำให้เกิดสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกจำนวนใกล้เคียงใกล้เคียงกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร