สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา (พ.ศ. 2303 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2350) มีพระนามเดิมว่า ลา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามา เป็นพระราชอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
ประสูติพ.ศ. 2303
สิ้นพระชนม์4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2350 (47 ปี)
ราชสกุลเจษฎางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระมารดาเจ้าจอมมารดามา

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา หรือพระนามเดิมว่า ลา ประสูติในปี พ.ศ. 2303 เป็นพระโอรสลำดับที่ 7 ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามา[1] จึงเป็นพระราชอนุชาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 เจ้าฟ้าลาทรงติดตามสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกกับเจ้าจอมมารดาไปประทับที่เมืองพิษณุโลกจนพระบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้ปลงพระศพและนำพระอัฐิมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระราชอนุชาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ให้ประทับอยู่นิเวศน์เดิมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[2] เมื่อปี พ.ศ. 2328 ทรงรับราชการเป็นยกกระบัตรทัพในสงครามเก้าทัพ และร่วมตีเมืองเชียงใหม่กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[1]

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ประชวรสิ้นพระชนม์[3]เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2350 พระชันษา 48 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร[1] พระอัฐิของพระองค์ประดิษฐานอยู่ที่หอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระโอรสธิดา

พระองค์มีพระโอรสธิดาจำนวนมากพระองค์หาทราบพระนามได้หมด[4] เท่าที่ปรากฏพระนามมีจำนวน 17 องค์[5] เท่าที่พบมีรายพระนามดังต่อไปนี้

  1. หม่อมเจ้าชายหลาน
  2. หม่อมเจ้าชายฉัตร
  3. หม่อมเจ้าชายสอน หรือ หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (พ.ศ. 2321 – พ.ศ. 2410)
  4. หม่อมเจ้าชายอิน (ไม่มีข้อมูล - สมัยรัชกาลที่ 4)
  5. หม่อมเจ้าชายรอด
  6. หม่อมเจ้าหญิงน้อยหน่า ประสูติแต่หม่อมเหม ธิดาพระยาศรีสรราช (บุญเมือง)
  7. หม่อมเจ้าหญิงทับทิม
  8. หม่อมเจ้าหญิงมะลิวัน
  9. หม่อมเจ้าหญิงประทุม
  10. หม่อมเจ้าชายฉิมพาลี
  11. หม่อมเจ้าหญิงอำภา
  12. หม่อมเจ้าหญิงภิมเสน
  13. หม่อมเจ้าหญิงน้อย
  14. หม่อมเจ้าหญิงนารี
  15. หม่อมเจ้าชายสุข
  16. หม่อมเจ้าชายเถร
  17. หม่อมเจ้าหญิงตลับ (พ.ศ. 2345 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2418)

ซึ่งเชื้อพระวงศ์เหล่านี้ถูกเรียกกันโดยสามัญว่า "พวกเจ้ากรมหลวงจักรเจษฎา" เป็นต้นราชสกุล เจษฎางกูร[1]

พระอิสริยยศ

  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325: สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ได้แก่

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม 1988). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2017.
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 57 หน้า.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง