สามเหลี่ยมชมพู

ในนาซีเยอรมนีสามเหลี่ยมชมพู (เยอรมัน: Rosa Winkel)[2]ถูกใช้ในค่ายกักกันของนาซีเพื่อเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงความผิดของนักโทษที่เป็นพวกรักร่วมเพศ[3][4] นักโทษทุกคนต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมกลับหัวบนเสื้อแจ็กเกตและมีสีต่างๆ ในการจัดกลุ่มตามความผิด ชาวยิวต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีเหลืองซ้อนกันเป็นดาราแห่งดาวิด สามเหลี่ยมสีชมพูและเหลืองอาจใช้ร่วมกันหากนักโทษเป็นทั้งเกย์และชาวยิว[5]

สามเหลี่ยมชมพูเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) และเป็นสามเหลี่ยมที่ชี้ไปข้างล่างเพื่อเครื่องหมายสำหรับนักโทษเกย์ชาย[1]

แต่เดิมตั้งใจให้เป็นตราแห่งความอัปยศตามการใช้ของนาซี แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) และการเคลื่อนไหวของสิทธิเกย์ (gay rights) และเป็นเครื่องหมายที่ได้รับความนิยมมากรองมาจากธงสายรุ้ง[6]

ประวัติ

ในนาซีเยอรมนีนักโทษทุกคนต้องใส่เสื้อแจ็คเกตที่มีสัญลักษณ์ของค่ายกักกันโดยจะแบ่งกันเป็นกลุ่มตามสี ชายรักร่วมเพศต้องใส่สามเหลี่ยมชมพู แม้ว่าจะเป็รการยากที่จะคาดคะเนจำนวนเกย์ในค่ายกักกันของเยอรมัน ริชาร์ด แพลนท์ได้คาดเดาไว้ว่าระหว่างปีค.ศ. 1933 และ 1944 น่าจะมีประมาณ 50,000 ถึง 60,000 คน[4]

ในช่วงปลายของยุค 70 สามเหลี่ยนชมพูถูกนำมาใช้แทนสัญลักษณ์ในการประท้วงสิทธิชาวเกย์[7][8]

สามเหลี่ยมสีชมพูล้อมรอบด้วยวงกลมสีเขียวแสดงถึงเพื่อนชาวเกย์ (Straight ally) สิทธิเกย์ และพื้นที่ที่ปราศจากโฮโมโฟเบีย

กลุ่มผู้สนันสนุนผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ The AIDS Coalition To Unleash Power (ACT UP) ได้นำสามเหลี่ยมชมพูไปใช้พร้อมกับสโลแกน ความเงียบ = ตาย ("SILENCE = DEATH") ไปใช้เป็นโลโก้โดยนักเคลื่อนไหวเกย์ที่นครนิวยอร์กในปี 1987[9][10]

สามเหลี่ยชมพูเป็นพื้นฐานของการออกแบบอนุเสาวรีย์โฮโม (Homomonument ) ในอัมสเตอร์ดัม อนุสรณ์ฮอโลคอสต์เกย์และเลสเบี้ยนในซิดนีย์ (Gay and Lesbian Holocaust Memorial) และสวนสามเหลี่ยมชมพู (Pink Triangle Park) ในซานฟรานซิสโก[11]

ตัวอย่าง


อ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • An Underground Life: Memoirs of a Gay Jew in Nazi Berlin (1999) by Gad Beck (University of Wisconsin Press). ISBN 0-299-16500-0.
  • The Iron Words (2014) by Michael Fridgen (Dreamlly Publishing). ISBN 978-0-615-99269-3.
  • Liberation Was for Others: Memoirs of a Gay Survivor of the Nazi Holocaust (1997) by Pierre Seel (Perseus Book Group). ISBN 0-306-80756-4.
  • I, Pierre Seel, Deported Homosexual: A Memoir of Nazi Terror (1995) by Pierre Seel. ISBN 0-465-04500-6.
  • Heinz Heger (1994). Men With the Pink Triangle: The True, Life-And-Death Story of Homosexuals in the Nazi Death Camps. Alyson Books. ISBN 1-55583-006-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง