หลักฐานโดยเรื่องเล่า

คำว่า หลักฐานโดยเรื่องเล่า (อังกฤษ: anecdotal evidence) หมายถึงหลักฐานที่ได้มาจากเรื่องที่เล่าสู่กันฟังเนื่องจากว่า มีตัวอย่างเพียงเล็กน้อย จึงมีโอกาสมากที่หลักฐานนั้นจะเชื่อถือไม่ได้เพราะอาจมีการเลือกเอาหลักฐาน หรือว่า หลักฐานนั้นไม่เป็นตัวแทนที่ดีของกรณีทั่ว ๆ ไปในเรื่องนั้น ๆ[1][2] มีการพิจารณาว่าหลักฐานโดยเรื่องเล่าไม่ใช่เป็นตัวสนับสนุนข้ออ้างที่ดี จะรับได้ก็ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานที่ดีกว่านั้นแล้วเท่านั้นไม่ว่าเรื่องเล่านั้นจะซื่อสัตย์ตรงความจริงมากแค่ไหน[3][4][5]

หลักฐานอย่างนี้มักจะใช้เทียบกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (scientific evidence) เช่นเมื่อกล่าวถึงวิธีการรักษาต่าง ๆ ในการแพทย์ที่อ้างอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) คือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ต้องเป็นไปตามกระบวนการระเบียบแบบแผนของวิทยาศาสตร์แต่หลักฐานโดยเรื่องเล่าบางอย่างไม่จัดว่าเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์การใช้หลักฐานโดยเรื่องเล่าอย่างผิด ๆ เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) อย่างหนึ่งที่เป็นการอ้างหลักฐานเป็นต้นว่า "มีคน ๆ หนึ่งที่..." "มีกรณี ๆ หนึ่งที่..."แต่จริง ๆ แล้ว เหตุผลโดยเรื่องเล่าที่กล่าวนั้นอาจจะไม่เป็นตัวแทนที่ดีของเรื่องในประเด็นนั้น ๆ และเนื่องจากว่ามนุษย์มีความเอนเอียงทางประชานเช่นความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) จึงหมายความว่า จะจำเรื่องบอกเล่าที่เด่น ๆ หรือที่ยืนยันความคิดฝ่ายตนได้ดีกว่าการจะกำหนดว่า เรื่องบอกเล่านั้นเป็นเรื่องที่ทั่วไปในประเด็นนั้นต้องอาศัยหลักฐานโดยสถิติ[6][7]

ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีความ นักจิตวิทยาได้พบว่า มนุษย์มักจะระลึกถึงตัวอย่างที่เด่นได้ดีกว่าตัวอย่างที่ทั่ว ๆ ไป[8]

อารัมภบท

ในรูปแบบของหลักฐานโดยเรื่องบอกเล่าทุกอย่าง ความน่าเชื่อถือได้โดยเป็นการประเมินแบบเป็นกลาง ๆ เป็นที่น่าสงสัยซึ่งเป็นผลของวิธีการที่ไม่มีแบบแผนในการเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล การแสดงข้อมูล หรือว่า ทั้งสามอย่างผสมผเสกันหลักฐานชื่อนี้บ่อยครั้งใช้กล่าวถึงสถานการณ์ที่ไม่มีการบันทึกข้อมูลที่ดีจนกระทั่งว่าต้องอาศัยความน่าเชื่อถือของผู้แสดงหลักฐานนั้น ๆ

ในโครงการจำแนกประเภทสารอันตรายของสหประชาชาติ หลักฐานโดยการบอกเล่าเรียกว่า ประสบการณ์มนุษย์ (human experience)สารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบบริสุทธิ์ล้วนหรือแบบผสม แม้ว่าจะไม่เข้ากับหลักเกณฑ์เพื่อการรวมเข้าในประเภท 9 อย่างแต่ถ้ายังมีหลักฐานโดยการบอกเล่าที่แสดงว่าสินค้านั้นมีพิษต่อมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม ก็จะรวมสินค้านั้นในประเภทที่เหมาะสมด้วย

ทางวิทยาศาสตร์

ทางวิทยาศาสตร์ คำนิยามเกี่ยวกับหลักฐานโดยการบอกเล่ารวมทั้ง

  • ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่ได้เกิดจากการศึกษาที่รอบคอบ[9]
  • รายงานหรือข้อสังเกตของผู้สังเกตการณ์ที่ไม่รู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์[10]
  • สังเกตการณ์หรือตัวอย่างอย่างคร่าว ๆ ที่ไม่ใช่การวิเคราะห์ที่เข้มงวดกวดขันหรือเป็นไปในแนวทางวิทยาศาสตร์[11]

หลักฐานโดยเรื่องเล่ามีการประเมินด้วยมาตรฐานที่ไม่เหมือนกันยกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ หลักฐานโดยเรื่องเล่าที่ตีพิมพ์โดยผู้สังเกตการณ์ผู้เชี่ยวชาญเช่นหมอนั้น เรียกว่า case report ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกัน (peer review)[12] แม้ว่าหลักฐานเช่นนี้จะไม่เป็นข้อยุติ แต่บางครั้งก็จะได้รับการพิจารณาว่า เป็นการเชื้อเชิญเพื่อการศึกษาที่เข้มข้นยิ่งขึ้นไปในประเด็นนั้น ๆ[13] ยกตัวอย่างเช่น มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า มีรายงานการแพทย์โดยเรื่องเล่า 35 กรณีจาก 47 กรณีเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ที่ภายหลังได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง[14]

หลักฐานโดยการบอกเล่าพิจารณากันว่าเป็นหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือที่สุดในบรรดาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด[15] ซึ่งตรงกันข้ามกับ "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์" (scientific evidence)[16] คือนักวิจัยอาจใช้หลักฐานโดยการบอกเล่าในการเสนอสมมติฐานใหม่ แต่จะไม่ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันสมมติฐานนั้น

ตรรกะที่ผิดพลาด

หลักฐานโดยการบอกเล่าพิจารณาว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience)เพราะว่าความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ของมนุษย์อาจจะมีอิทธิพลต่อการรวบรวมและการแสดงหลักฐานนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่ยืนยันว่าตนได้พบกับอมนุษย์เหนือธรรมชาติหรือมนุษย์ต่างดาวอาจจะเล่าเรื่องที่ละเอียดชัดเจน แต่ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าผิดพลาดได้เป็นปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแม้กับชนกลุ่มใหญ่เพราะตรงกับความเชื่อของตน

นอกจากนั้นแล้ว หลักฐานโดยเรื่องบอกเล่ามักจะตีความหมายกันผิดโดยผ่าน availability heuristic ซึ่งเป็นวิธีการคิดที่อาศัยเรื่องที่นึกถึงได้ง่ายที่สุด ซึ่งนำไปสู่การประเมินความแพร่หลายของเรื่อง ๆ หนึ่งสูงเกินไปคือ ถ้าสามารถเชื่อมเหตุ ๆ หนึ่งกับผลที่เกิดขึ้นได้อย่างง่าย ๆ เรามักจะประเมินว่าเหตุนั้นทำให้เกิดผลนั้นในระดับที่สูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเล่าที่มีรายละเอียดชัดเจน ประกอบด้วยอารมณ์ความรู้สึกสูง ดูเหมือนว่ามีความน่าเป็นไปได้ในระดับที่สูงขึ้น เราจึงให้น้ำหนักในเรื่องนั้นสูงขึ้นและอีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบเรื่องบอกเล่าทุก ๆ เรื่อง คือไม่สามารถตรวจสอบเรื่องที่บางคนประสบแต่ไม่ได้พูดถึง

วิธีที่เรื่องบอกเล่ากลายเป็นหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือก็โดยผ่านการคิดหาเหตุผลที่ผิดพลาดเช่นเหตุผลวิบัติโดย "Post hoc ergo propter hoc"ซึ่งเป็นความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะเหมาเอาว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นหลังจากอีกเหตุการณ์หนึ่ง เหตุการณ์แรกนั้นต้องเป็นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่สอง (เช่นบนพระบนเจ้าว่า ให้สอบได้ แล้วเกิดสอบได้ ดังนั้น พระหรือเจ้าเป็นผู้บันดาลให้สอบได้)เหตุผลวิบัติอีกอย่างหนึ่งก็คือการหาเหตุผลเชิงอุปนัย (inductive reasoning)ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งนำไปสู่บทสรุปที่ต้องการแทนที่บทสรุปที่มีเหตุผล ก็จะเป็นเหตุผลวิบัติโดยการวางนัยทั่วไปที่ผิดพลาดหรือเร็วเกินไป[17] ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องบอกเล่าที่ใช้เป็นหลักฐานของบทสรุปที่ต้องการ

มีหลักฐานเยอะแยะว่าน้ำนั้นช่วยรักษาโรคมะเร็งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง ข้าพเจ้าได้อ่านถึงเรื่องเด็กหญิงคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลังจากที่เธอดื่มน้ำ เธอก็หายป่วย

เรื่องบอกเล่าเช่นนี้ไม่ได้เป็นตัวพิสูจน์อะไรสักอย่าง[18] ในกรณีที่องค์ประกอบบางอย่างมีอิทธิผลต่อผลที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดผลอย่างสิ้นเชิง กรณีเฉพาะ ๆ ที่เลือกมาไม่ได้เป็นตัวพิสูจน์อะไรยกตัวอย่างเช่น "ปู่ของผมสูบบุหรี่ 40 ม้วนต่อวันจนกระทั่งถึงวันตายที่อายุ 90 ปี"และ "ส่วนพี่สาวของผมไม่เคยอยู่ใกล้ใครที่สูบบุหรี่แต่กลับเสียชีวิตไปเพราะมะเร็งปอด"เรื่องบอกเล่าบ่อยครั้งชี้กรณีพิเศษ แทนที่จะชี้กรณีทั่ว ๆ ไปคือ "เรื่องบอกเล่าจะไม่ค่อยสำเร็จประโยชน์เพราะว่าอาจจะแสดงผลที่ไม่ทั่วไป"[19]คือ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สหสัมพันธ์โดยสถิติระหว่างเหตุการณ์สองอย่างไม่ได้ชี้ว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุของเหตุการณ์ไหนเช่น งานวิจัยหนึ่งพบว่า การดูโทรทัศน์มีสหสัมพันธ์ระดับสูงกับการบริโภคน้ำตาลแต่นี่ไม่ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดูโทรทัศน์ทำให้บริโภคน้ำตาลมาก หรือแม้แต่ทางตรงกันข้าม

ในการแพทย์ ยังต้องมีการตรวจดูว่าหลักฐานแบบบอกเล่าเช่นนั้นเป็นผลของปรากฏการณ์ยาหลอกหรือไม่อีกด้วย[20] คือมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ความคาดหมายหรือความหวังของคนไข้หรือของหมอสามารถมีผลต่อการรักษาได้จริง ๆการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบปิดสองทาง (double-blind) ให้ยาโดยสุ่ม (randomized) โดยมีกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอกเท่านั้นที่สามารถจะยืนยันสมมติฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาโดยไม่มีผลจากความต้องการหรือความคาดหวัง

โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ในวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์ กำลังของคำอธิบายขึ้นอยู่กับว่าสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ว่ามีเหตุดังที่ว่าจริง ๆ และสามารถตรวจสอบได้โดยเป็นกลางโดยวิธีที่นักวิจัยอื่น ๆ เห็นด้วยว่าเป็นวิธีการตรวจสอบที่สมควรที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยโดยคนอื่น ๆ

กฎหมาย

โดยกฎหมายแล้ว การให้การของพยานเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายก็มีวิธีที่จะเช็คดูพยานว่าน่าเชื่อถือหรือไม่กระบวนการตามกฎหมายเพื่อที่จะสืบหาและตรวจสอบหลักฐานมีแบบแผนคำให้การของพยานบางพวกอาจจะจัดอยู่ในหลักฐานโดยเรื่องบอกเล่า เช่นเรื่องราวจากบุคคลต่าง ๆ ที่ประสบการก่อกวน (harassment) ที่พบในคดีฟ้องร้องในนามกลุ่มบุคคล (เช่นฟ้องศาลเรื่องบริษัทมีนโยบายที่มีผลให้เกิดการก่อกวนทางเพศต่อพนักงานของบริษัท)ถึงอย่างนั้น การให้การของพยานก็ยังสามารถประเมินความน่าเชื่อถือได้ตัวอย่างของวิธีตรวจสอบและประเมินหลักฐานจากพยานรวมทั้งการซักถาม หลักฐานจากพยานที่ให้การคล้อยตามกัน เอกสาร วีดิโอ และหลักฐานทางนิติเวชศาสตร์อื่น ๆถ้าศาลไม่มีวิธีในการตรวจสอบและประเมินคำให้การของพยานคนหนึ่ง ๆ เช่นไม่มีคำให้การอื่นที่เข้ากันหรือยืนยันกันศาลก็อาจจะตัดสินว่าหลักฐานมีผลจำกัดหรือไม่มีน้ำหนักในการตัดสินคดี

หลักฐานวิทยาศาสตร์โดยเป็นหลักฐานทางนิติ

ในบางกรณี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอต่อศาลต้องครบองค์ประกอบเพื่อจะใช้เป็นหลักฐานในศาลยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา คำให้การของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต้องได้มาตรฐาน Daubert standardซึ่งบ่งว่า หลักฐานที่ผู้เชี่ยวชาญให้ต้องผ่านกระบวนการที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่ว ๆ ไปของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในบางกรณี หลักฐานโดยเรื่องบอกเล่าอาจจะครบองค์ในการให้การแบบนี้เช่น case report ที่ยืนยันหรือปฏิเสธหลักฐานอื่น ๆ

ศ. แอลต์แมนและแบลนด์เสนอว่า case report หรือข้อมูลที่ไม่ลงตัวกับสถิติทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถที่จะตัดสินว่าไม่มีน้ำหนักโดยสิ้นเชิง คือ

ในกรณีของโรคที่หายาก

การค้นพบที่ไม่มีนัยสำคัญในการวิจัยโดยสุ่มไม่ได้หมายความว่า

จะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุที่ไม่มีนัยสำคัญและโรคที่เป็นประเด็นงานวิจัย[21]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง