อาราม

อาราม[1] (อังกฤษ: monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit)

ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios”[2] (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง[3]) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล

ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย

ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน

อารามในพุทธศาสนา

ป่าไผ่ร่มรื่นในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร

อารามในพุทธศาสนา ในภาษาบาลีเรียกว่าวิหาร ส่วนในประเทศไทย ลาว และกัมพูชาเรียกว่าวัด เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและสามเณร ภิกษุณีและสามเณรีก็อาศัยในอารามเดียวกับภิกษุแต่ต้องจัดพื้นที่อาศัยแยกต่างหาก[4]

ตามพุทธประวัติระบุว่าวัดเวฬุวันมหาวิหาร[5] เป็นอารามแห่งแรกในพุทธศาสนา เกิดจากพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าแล้วมีพระราชศรัทธาจึงอุทิศป่าไผ่นอกพระนครราชคฤห์ถวายเป็นพุทธบูชา[6] ต่อมายังมีกษัตริย์และคหบดีนิยมสร้างวัดถวายในพุทธศาสนาอีก เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวันมหาวิหาร นางอัมพปาลีหญิงโสเภณีสร้างวัดอัมพปาลีวัน นางวิสาขาสร้างวัดบุพพาราม เป็นต้น

อารามในคริสต์ศาสนา

อารามนักบุญแคเธอริน

สำหรับอารามในคริสต์ศาสนามีขนาดแตกต่างกันไป ทั้งที่อยู่อาศัยขนาดเล็กของฤๅษีผู้อยู่โดดเดียว (hermit) หรือเป็นอารามของชุมชนนักพรต (Cenobium) ก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลังเดียวที่เป็นที่พำนักของนักพรตอาวุโสรูปหนึ่งกับนักพรตอีกสองสามรูปหรือชี ไปจนถึงกลุ่มสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นที่พำนักของนักพรตเป็นจำนวนร้อยก็ได้ เช่น อารามออคเซนเฮาเซิน ประเทศเยอรมนี

ในภาษาอังกฤษคำว่า Monastery โดยทั่วไปแล้วใช้สำหรับกลุ่มสิ่งก่อสร้างของชุมนุมนักพรต และ “คอนแวนต์” มักจะใช้สำหรับกลุ่มสิ่งก่อสร้างของคณะนักบวชหญิงหรือชี ศาสนาอื่นๆ อาจจะใช้คำอื่นในการเรียกอารามตามแต่จะเหมาะสม

อารามคริสต์ศาสนาอาจจะมีวิธีหารายได้เลี้ยงตัวเองหลายวิธี เช่น การสร้างหรือผลิตและขายสินค้าที่มักจะเป็นสินค้าทางการเกษตรกรรมเช่นเนยแข็ง ไวน์ เหล้า เบียร์ หรือผลิตผลจากผลไม้เช่นแยม หรืออาจจะจากเงินบริจาค, จากรายได้ค่าเช่า, จากการลงทุน ในปัจจุบันอารามก็ปรับวิถีการดำเนินการให้เข้ากับโลกสมัยใหม่เช่นในการให้เช่าสถานที่สำหรับการสัมมนา ฝึกสมาธิ หรือโรงแรม หรือขายบริหารคอมพิวเตอร์ การบัญชี หรือการบริหารโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง