อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หรืออำนาจใดที่ก่อร่างรัฐชาติ โดยทั่วไปถือเป็นอำนาจสูงสุด[1] อำนาจอธิปไตยนำมาซึ่งลำดับขั้นในรัฐ รวมถึงภาวะอิสระในการปกครองตนเองนอกรัฐ (external autonomy)[2] ในรัฐ อำนาจอธิปไตยถูกมอบหมายให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือสถาบันที่มีอำนาจสมบูรณ์เหนือบุคคลอื่น เพื่อตรากฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่มีอยู่เดิม[3] ในทฤษฎีทางการเมือง อำนาจอธิปไตยเป็นคำสามัญบ่งชี้อำนาจหน้าที่ซึ่งมีความชอบธรรมสูงสุดเหนือองค์การทางการเมือง[4] ในกฎหมายระหว่างประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นการใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่ให้กระทำได้โดยนิตินัย ขณะที่โดยพฤตินัยนั้น หมายถึงขีดความสามารถที่กระทำได้อย่างแท้จริง

ปกหนังสือเลอไวอะทัน ของโทมัส ฮอบส์ ปรากฏองค์อธิปัตย์รูปใหญ่ถือดาบและไม้ตะขอใยรา บนร่างกายรายล้อมไปด้วยปัจเจกหลายคน

มโนทัศน์

มโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยมีหลายองค์ประกอบที่ทับซ้อนกัน มีคำนิยามหลายคำ และมีการนำมาปรับใช้ที่หลากหลายและไม่ลงรอยกันตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา[5][6][7][8] ความเชื่อเรื่องรัฐเอกราชในปัจจุบันประกอบด้วย 4 มิติ: ดินแดน, ประชากร, องค์การของรัฐ (authority) และการรับรอง (recognition)[7] อ้างถึง สตีเฟน ดี. คราสเนอร์ อำนาจอธิปไตยสามารถเข้าใจได้โดย 4 วิธี:

  • อำนาจอธิปไตยภายใน (Domestic sovereignty) – การควบคุมที่แท้จริงเหนือรัฐโดยองค์การของรัฐที่ถูกจัดแจงภายในรัฐ
  • อำนาจอธิปไตยพึ่งพาระหว่างรัฐ (Interdependence sovereignty) – การควบคุมการเคลื่อนตัว (movement) เหนือชายแดนรัฐ
  • อำนาจอธิปไตยทางกฎหมายระหว่างประเทศ (International legal sovereignty) – การรับรองรัฐโดยรัฐเอกราชอื่นอย่างเป็นทางการ
  • อำนาจอธิปไตยแบบเว็สท์ฟาเลิน – ไม่มีอำนาจอธิปไตยอื่นใดนอกจากอำนาจอธิปไตยภายในรัฐนั้น (อำนาจอื่น ๆ อาจเป็นองค์การทางการเมืองหรือตัวแสดงภายนอกอื่น)[5]

ทั้งนี้ ยังมีอีกสององค์ประกอบของอำนาจอธิปไตยที่ควรกล่าวถึงคือ อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์ (empiriacal sovereignty) และ อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมาย (juridical sovereignty)[9] อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์จะบรรยายการจัดการกับความชอบธรรมของผู้ปกครองรัฐ และความชอบธรรมในการใช้อำนาจนั้น[9] เดวิด ซามูเอล ชี้ว่าเป็นมิติที่สำคัญของรัฐ เพราะจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับเลือกให้กระทำแทนพลเมืองของรัฐ[10] ขณะที่อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมายเน้นไปที่ความสำคัญของรัฐอื่นในการรับรองสิทธิการปกครองและใช้อำนาจอย่างเสรีของรัฐโดยให้มีการแทรกแซงอย่างน้อยที่สุด[9] Douglass North ระบุว่าสถาบันต้องมีโครงสร้าง และรูปแบบของอำนาจอธิปไตยทั้งสองนี้อาจใช้เป็นวิธีในการก่อร่างโครงสร้างขึ้น[11]

การได้มา

วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยหลายวิธีได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในปัจจุบันและในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิธีโดยชอบด้วยกฎหมายผ่านการได้มาของดินแดนนอกรัฐ การจัดแบ่งประเภทของวิธีเหล่านี้ แต่เดิมมาจากกฎหมายลักษณะทรัพย์สินโรมันและการพัฒนาขึ้นของระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่:[12]

  • การได้ดินแดนตามข้อตกลง (cession) คือการโอนดินแดนจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งโดยสนธิสัญญา
  • การยึดครอง (occupation) คือการได้มาซึ่งดินแดนที่รัฐใดไม่ได้ครอบครองอยู่ (หรือดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ)
  • การครอบครองปรปักษ์ (prescription) เป็นการควบคุมดินแดนโดยมีผลบังคับเหนือดินแดนที่ยอมโอนอ่อนตาม
  • ที่งอก (accretion) คือการได้มาซึ่งดินแดนด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น ที่งอกชายฝั่งหรือการปะทุของแม็กมาสู่พื้นผิวโลก (volcanism)
  • การสร้าง (creation) เป็นกระบวนการที่อ้างสิทธิในดินแดนใหม่ทางทะเล
  • การชี้ขาดตัดสิน และ
  • การพิชิตดินแดน
ขอบเขตอำนาจและอำนาจอธิปไตย
อวกาศ (รวมถึงวงโคจรของโลก, ของดวงจันทร์ และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ และวงโคจรของมัน)
น่านฟ้าระดับชาติน่านฟ้าทะเลอาณาเขตน่านฟ้าเขตต่อเนื่อง[ต้องการอ้างอิง]น่านฟ้าสากล
พื้นผิวอาณาเขตทางบกพื้นผิวน่านน้ำภายในพื้นผิวทะเลอาณาเขตพื้นผิวเขตต่อเนื่องพื้นผิวเขตเศรษฐกิจจำเพาะพื้นผิวน่านน้ำสากล
น่านน้ำภายในน่านน้ำอาณาเขตเขตเศรษฐกิจจำเฉพาะน่านน้ำสากล
ดินแดนทางบกใต้ดินพื้นผิวไหล่ทวีปพื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยายพื้นผิวพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ
ไหล่ทวีปใต้ดินพื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยายใต้ดินพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศใต้ดิน
  เขตอำนาจและอำนาจอธิปไตยระดับชาติเต็มที่
  มีข้อจำกัดเรื่องเขตอำนาจและอำนาจอธิปไตยระดับชาติ
  เขตอำนาจระหว่างประเทศตามมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ

การให้เหตุผล

มีการให้เหตุผลที่หลากหลายผ่านมุมมองที่แตกต่างซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานทางศีลธรรมของอำนาจอธิปไตย การให้เหตุผลเรื่องอำนาจอธิปไตยถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว: องค์อธิปัตย์ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยโดยเทวสิทธิราชย์หรือสิทธิธรรมชาติ และอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนแต่เดิม ซึ่งโทมัส ฮอบส์ กล่าวว่าปวงชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้แก่องค์อธิปัตย์ ขณะที่ฌ็อง-ฌัก รูโซ ระบุว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนและสงวนรักษาอำนาจนั้นไว้[13]

ในช่วงหนึ่งของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป หลักเทวสิทธิราชย์เป็นหนึ่งในการอ้างสิทธิในการใช้อำนาจอธิปไตยที่สำคัญ ขณะที่อาณัติแห่งสวรรค์ในประเทศจีนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการให้เหตุผลการปกครองโดยจักรพรรดิ แม้ต่อมาจะแทนที่โดยแนวคิดอำนาจอธิปไตยแบบตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[14]

สาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐบาลหนึ่งที่ประชาชน หรือส่วนหนึ่งที่สำคัญของพวกเขา สงวนไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐบาล และตำแหน่งในรัฐบาลไม่ได้มาโดยมรดกตกทอด[15][16] คำนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของคำว่าสาธารณรัฐคือ รัฐบาลที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ[17][18]

ประชาธิปไตยตั้งอยู่บนมโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) ในประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนมีบทบาทในการออกนโยบายสาธารณะ ขณะที่ประชาธิปไตยมีผู้แทนทำให้มีการโอนถ่ายการใช้อำนาจอธิปไตยจากประชาชนสู่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง