อิสานโนซอรัส

อิสานโนซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Isanosaurus) เป็นสกุลของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่สูญพันธุ์จากประเทศไทย เดิมจัดให้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 210 ล้านปีในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (ขั้น Norian ตอนปลายถึง Rhaetian) ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในซอโรพอดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จัก ภายหลังถือว่าไม่ทราบยุคสมัย และอาจอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น[1] หรือแม้แต่ช้าสุดถึงยุคจูแรสซิกตอนปลาย[2] ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีเพียงชนิดเดียว คือ อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ (Isanosaurus attavipachi) แม้ว่าจะมีความสำคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับต้นกำเนิดซอโรพอดและวิวัฒนาการในยุคแรก ๆ Isanosaurus ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก ความสัมพันธ์อย่างชัดเจนระหว่างซอโรพอดชนิดอื่นยังคงไม่ได้รับการแก้ไข[3]

อิสานโนซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย? หรือยุคจูแรสซิกตอนปลาย?
?214–145Ma ไม่ทราบยุค
กระดูกต้นขาของ Isanosaurus attavipachi
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอต
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
เคลด:ไดโนเสาร์
เคลด:ซอริสเกีย
เคลด:Sauropodomorpha
เคลด:ซอโรพอด
เคลด:Eusauropoda
Buffetaut et al. 2000
สกุล:อิสานโนซอรัส
Buffetaut et al. 2000
สปีชีส์:Isanosaurus attavipachi
ชื่อทวินาม
Isanosaurus attavipachi
Buffetaut et al. 2000

การค้นพบและตั้งชื่อ

ตัวอย่างชนิดนี้พบในหินทรายสีแดงเข้มในหมวดหินน้ำพองใกล้บ้านโนนถาวร (Ban Non Thaworn) จังหวัดชัยภูมิ[3] เมื่อมีการค้นพบใน ค.ศ. 1998 โครงกระดูกส่วนใหญ่ถูกกัดกร่อนไปแล้วอย่างน่าเสียดาย[3] ในส่วนของฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น มีการสำรวจในบริเวณนี้ได้ไม่ดีนัก นอกจาก Isanosaurus แล้ว พบแค่กระดูกก้นแบบชัดเจน 2 อัน โดยกระดูกก้นเป็นของ Isanosaurus หรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่กระจ่าง เนื่องจากไม่มีกระดูกเชิงกรานที่เก็บรักษาไว้ในตัวอย่างต้นแบบแรก[3]

Isanosaurus ได้รับการระบุโดยเอริก บุฟแฟโต (Éric Buffetaut) นักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศส และเพื่อนร่วมงานใน ค.ศ. 2000[3] ชื่อไดโนเสาร์มาจากภาคอีสานของประเทศไทย ส่วนชื่อชนิดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ปรีชา อรรถวิภัชน์ ผู้สนับสนุนการวิจัยบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทยและอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี[3]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

เดิมจัดให้เป็นซอโรพอด ภายหลังจึงระบุเป็นซอโรโพดิฟอร์มที่ไม่ใช่ซอโรพอด (non-sauropod sauropodiform) แผนภาพข้างล่างนี้แสดงตำแหน่งของ Isanosaurus ใน Massopoda ตามข้อมูลจาก Oliver W. M. Rauhut และผู้ร่วมงาน, 2020:[1]

Massopoda


Eucnemesaurus



Riojasaurus





Sarahsaurus



Massospondylidae


Yunnanosaurus




Jingshanosaurus



Seitaad







Coloradisaurus




Glacialisaurus



Lufengosaurus






Massospondylus




Adeopapposaurus



Leyesaurus






Sauropodiformes

Xingxiulong





Anchisaurus



Leonerasaurus





Mussaurus




Aardonyx




Sefapanosaurus




Meroktenos




Melanorosaurus




Camelotia





Lessemsaurus




Antetonitrus



Ingentia






Blikanasaurus




Pulanesaura




Gongxianosaurus




Schleitheimia




Isanosaurus




Tazoudasaurus



Sauropoda





















อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร