ฮั่นจ๋ง

ฮั่นจ๋ง[2][3] (เสียชีวิต 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หาน จง (จีน: 韓綜; พินอิน: Hán Zōng) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของฮันต๋ง[b] ขุนพลอาวุโสผู้รับใช้เจ้านายตระกูลซุนสามรุ่น (ซุนเกี๋ยน ซุนเซ็ก และซุนกวน) หลังฮันต๋งเสียชีวิต ฮั่นจ๋งได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ฉือเฉิงโหว (石城侯) ของบิดา แต่ภายหลังได้หนีไปเข้าด้วยวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊ก

ฮั่นจ๋ง (หาน จง)
韓綜
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิต8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253[a]
นครเฉาหู มณฑลอานฮุย
บุพการี
อาชีพขุนพล
บรรดาศักดิ์ฉือเฉิงโหว (石城侯)
กว่างหยางโหว (廣陽侯)

ประวัติ

ในปี ค.ศ. 227 ฮันต๋งเสียชีวิต ฮั่นจ๋งผู้เป็นบุตรชายของฮันต๋งได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ฉือเฉิงโหว (石城侯) ของบิดา ในปีเดียวกันนั้น ซุนกวนนำทัพโจมตีฉือหยาง (石陽) ซุนกวนไม่ได้พาฮั่นจ๋งไปด้วยเพราะเกรงว่าฮั่นจ๋งจะก่อปัญหา จากนั้นฮั่นจ๋งจึงได้รับมอบหมายให้ประจำการอยู่ที่บู๊เฉียง (武昌; ปัจจุบันคือนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์) แล้วฮั่นจ๋งก็ประพฤติตนไม่ดีและใช้อำนาจในทางที่ผิด ซุนกวนไม่ได้เอาความฮั่นจ๋งในเรื่องนี้โดยเห็นแก่คุณงามความดีของฮันต๋งบิดาผู้ล่วงลับของฮั่นจ๋ง[4]

ฮั่นจ๋งต้องการก่อบกฏต่อซุนกวนแต่ฮั่นจ๋งกลัวว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เห็นด้วย จึงพูดปดและบังคับให้พี่สาวน้องสาวและญาติผู้หญิงให้แต่งงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตน และมอบข้ารับใช้ให้กับผู้ช่วยคนสนิทเพื่อให้ได้รับความเชื่อใจและการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 228[5] ฮั่นจ๋งหนีไปรัฐวุยก๊กโดยนำศพของบิดาไปด้วย ทั้งยังนำสมาชิกในครอบครัวและผู้ติดตามรวมจำนวนหลายพันคนติดตามตนมาด้วย[6] ฮั่นจ๋งกลายเป็นขุนพลในวุยก๊กและได้รับบรรดาศักดิ์กว่างหยางโหว (廣陽侯) ฮั่นจ๋งมักจะนำทหารวุยก๊กไปโจมตีชายแดนง่อก๊ก สังหารราษฎรจำนวนมาก ซุนกวนโกรธฮั่นจ๋งมาก[7]

ต้นปี ค.ศ. 253 ฮั่นจ๋งทำหน้าที่นายกองหน้าของทัพวุยก๊กในยุทธการที่ตังหินที่เป็นการรบระหว่างวุยก๊กและง่อก๊ก ฮั่นจ๋งถูกสังหารในที่รบ จูกัดเก๊กแม่ทัพง่อก๊กตัดศีรษะจากศพของฮั่นจ๋งและส่งไปเป็นเครื่องบูชาที่ศาลบรรพกษัตริย์ของจักรพรรดิซุนกวน เพราะซุนกวนซึ่งสวรรคตก่อนยุทธการ 8 เดือน เมื่อครั้งยังทรงพระชนมชีพนั้นทรงเกลียดฮั่นจ๋งอย่างมาก[8]

ในนิยายสามก๊ก

ฮั่นจ๋งปรากฏเป็นตัวละครรองในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 ซึ่งเล่าเรื่องเหตุการณ์ก่อนและระหว่างยุคสามก๊ก ฮั่นจ๋งปรากฏในตอนที่ 108[c] เมื่อฮั่นจงและหวนแกเข้าร่วมรบในยุทธการที่ตังหินโดยอยู่ใต้การบังคับบัญชาของอ้าวจุ๋น ฮั่นจ๋งและหวนแกได้รับมอบหมายให้เข้าโจมตีป้อมปราการ 2 แห่งของเขื่อนตังหิน[9][2] ต่อมาทั้งสองกลับมาประจำการอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เตงฮองขุนพลอาวุโสของง่อก๊กนำกำลังทหารถืออาวุธสั้นเข้าโจมตีค่ายวุยก๊กอย่างฉับพลัน ฮั่นจ๋งถูกเตงฮองสังหารในที่รบ[10][3]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร