วุยก๊ก

เว่ย์ (จีน: ; พินอิน: Wèi < จีนสมัยกลาง: *ŋjweiC < จีนฮั่นตะวันออก: *ŋuiC[8]; ค.ศ. 220–266) มีอีกชื่อว่า วุยก๊ก หรือ อดีตเว่ย์[9][10] เป็นหนึ่งในสามรัฐหลักที่ต่อสู้รบแย่งชิงกันเพื่อครองอำนาจสูงสุดเหนือแผ่นดินจีนในยุคสมัยสามก๊ก(ค.ศ. 220 - ค.ศ. 280) ด้วยเริ่มแรก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่สวี่ชาง(นครฮูโต๋) และต่อจากนั้นเป็นลั่วหยาง รัฐนี้ได้ถูกสถาปนาโดยเฉา ผี(โจผี) ใน ค.ศ. 220 จากรากฐานที่ได้ถูกวางไว้โดยบิดาของเขา เฉาเฉา(โจโฉ) ตลอดจนถึงจุดสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชื่อว่า "เว่ย์" มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นครั้งแรกกับเฉาเฉา เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "วุยก๋ง" โดยราชสำนักฮั่นตะวันออกใน ค.ศ. 213 และกลายเป็นชื่อของรัฐ เมื่อเฉาพีได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 220 นักประวัติศาสตร์มักจะเติมคำนำหน้าว่า "เฉา" เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐอื่น ๆ ของจีนที่เรียกว่า "เว่ย์" เช่น รัฐเว่ย์แห่งยุครณรัฐ(จั้นกั๋ว) และรัฐเว่ย์เหนือแห่งยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ อำนาจการปกครองของตระกูลเฉาได้อ่อนแอลงอย่างมากในภายหลังจากทำการขับไล่เนรเทศและประหารชีวิตเฉา ซวง(โจซอง) พร้อมกับบรรดาพี่น้องของเขา ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจักรพรรดิเว่ย์องค์ที่สาม เฉา ฟาง(โจฮอง) โดยอำนาจควบคุมรัฐก็ค่อย ๆ ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของซือหม่า อี้(สุมาอี้) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนและครอบครัวของเขา ตั้งแต่ ค.ศ. 249 ต่อมา ในท้ายที่สุดจักรพรรดิเว่ย์ยังคงกลายเป็นผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของตระกูลซื่อหม่า จนกระทั่งซือหม่า หยาน(สุมาเอี๋ยน) หลานชายของซือหม่า อี้ ได้บีบบังคับให้เฉา ฮวั่น(โจฮวน) จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งเว่ย สละราชบัลลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมา

รัฐเว่ย์

ค.ศ. 220–266
ดินแดนวุยก๊ก (เหลือง) ใน ค.ศ. 262
ดินแดนวุยก๊ก (เหลือง) ใน ค.ศ. 262
เมืองหลวงสฺวี่ชาง (ค.ศ. 220–226),[1] ลั่วหยาง (ค.ศ. 226–266)
ภาษาทั่วไปจีนเก่า
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นเมืองจีน
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 220–226
โจผี
• 226–239
โจยอย
• 239–254
โจฮอง
• 254–260
โจมอ
• 260–266
โจฮวน
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
• พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติ
11 ธันวาคม ค.ศ. 220[2][3]
• ง่อก๊กเป็นเอกราชจากวุยก๊ก
ค.ศ. 222
• วุยก๊กพิชิตจ๊กก๊ก
ค.ศ. 263
• พระเจ้าโจฮวนสละราชสมบัติ
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[a]
ประชากร
• 260
4,432,881 (กำกวม)[5][b]
สกุลเงินเหรียญจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ฮั่นตะวันออก
จิ้นตะวันตก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ประเทศเกาหลีเหนือ
ประเทศเวียดนาม
วุยก๊ก
อักษรจีนตัวเต็ม曹魏
อักษรจีนตัวย่อ曹魏
ฮั่นยฺหวี่พินอินCáo Wèi

วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่[11]

  1. โจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 — พ.ศ. 769
  2. โจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 — พ.ศ. 782
  3. โจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 — พ.ศ. 797
  4. โจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 — พ.ศ. 803
  5. โจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 — พ.ศ. 808

ประวัติ

จุดเริ่มต้นและการสถาปนา

ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภาคเหนือของจีนอยู่ใต้การปกครองของโจโฉ อัครมหาเสนาบดีในพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ในปี ค.ศ. 213 พระเจ้าเหี้ยนเต้สถาปนาโจโฉขึ้นเป็น "วุยก๋ง" (魏公 เว่ย์กง) และพระราชทานเมืองให้ปกครองสิบเมือง พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า "วุย" (เว่ย์) ขณะนั้นภาคใต้ของจีนถูกแบ่งเป็นสองพื้นที่ที่ปกครองโดยอีกสองขุนศึกคือเล่าปี่และซุนกวน ในปี ค.ศ. 216 พระเจ้าเหี้ยนเต้เลื่อนโจโฉขึ้นเป็น "วุยอ๋อง" (魏王 เว่ย์หวาง) และมอบอาณาเขตให้ปกครองมากขึ้น

โจโฉถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 220 โจผีขึ้นสืบทอดตำแหน่งวุยอ๋อง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โจผีบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้สละราชสมบัติ โจผีขึ้นครองราชย์แทนและสถาปนาวุยก๊ก (รัฐวุย) ขึ้น เล่าปี่ตอบโต้การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของโจผีทันทีโดยการสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก" ในปีถัดมา ซุนกวนดำรงตำแหน่งอ๋องภายใต้วุยก๊ก แต่ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 222 และสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก" ในปี ค.ศ. 229

เพื่อแยกความแตกต่างของรัฐจากรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสร์จีนที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ได้เพื่ออักขระที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า "เว่ย์"(魏) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "เฉา เว่ย์" (曹魏)

รัชสมัยพระเจ้าโจผีและพระเจ้าโจยอย

เฉา ผี(โจผี) ทรงปกครองมาเป็นเวลาหกปีจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 226 และถูกสืบราชสมบัติโดยราชโอรสของพระองค์ เฉา รุ่ย(โจยอย) ทรงปกครองจนกระทั่งทรงสวรรคตใน ค.ศ. 239 ตลอดรัชสมัยของเฉาผีและเฉารุ่ย รัฐเว่ย์ต้องต่อสู้รบในสงครามหลายครั้งกับสองรัฐที่เป็นคู่แข่งกันคือ รัฐฉู่(จ๊กก๊ก) และรัฐอู๋(ง่อก๊ก)

ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูเก่อ เลี่ยง(ขงเบ้ง) ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและผู้แทนพระองค์ของรัฐฉู่ ได้นำชุดของการทัพทางทหารห้าครั้งเพื่อเข้าโจมตีชายแดนทางตะวันตกของเว่ย์ (ภายในกานซูและส่านซีในปัจจุบัน) โดยมีเป้าหมายเพื่อพิชิตนครฉางอัน เมืองยุทธศาสตร์ซึ่งอยู่บนถนนสู่นครลั่วหยาง เมืองหลวงของเว่ย์ การบุกครองของรัฐฉู่ได้ถูกขับไล่โดยกองทัพเว่ย์ที่นำโดยแม่ทัพ เฉาเจิน(โจจิ๋น) ซือหม่าอี้ จางเหอ(เตียวคับ) และอื่น ๆ รัฐฉู่ไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญในการทัพครั้งนี้เลย

บนชายแดนทางใต้และตะวันออก เว่ยได้ต่อสู้รบกับรัฐอู๋ในชุดของความขัดแย้งทางอาวุธตลอดช่วงปี ค.ศ. 220 และ ค.ศ. 230 รวมทั้งยุทธการที่ตงโข่ว (ค.ศ. 222-223) เจียงหลิง (ค.ศ. 223) และเซ็กเต๋ง (ค.ศ. 228) อย่างไรก็ตาม การสู้รบส่วนใหญ่ส่งผลก่อให้เกิดหนทางตันและทั้งสองฝ่ายไม่สามารถขยายอาณาเขตของตนได้มากนัก

การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้

ภายหลังจากบู๊ขิวเขียม ได้ล้มเหลวในการปราบปรามตระกูลกงซุน(กองซุน)ในจังหวัดเลียวตั๋ง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 238 ซือหม่าอี้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไท่เว่ย์( 太尉 หรือ มหาเสนา) เปิดฉากการบุกครองพร้อมกับทหารจำนวน 40,000 นาย ตามรับสั่งของจักรพรรดิเฉา รุ่ยในการเข้าปะทะกับเลียวตั๋ง ซึ่งจุดที่แห่งนี้ได้ถูกหยั่งรากอย่างเหนียวแน่นภายใต้การควบคุมของตระกูลกงซุนมาเป็นเวลายาวนานถึงสี่ทศวรรษ ภายหลังจากการโอบล้อมเป็นเวลาสามเดือน โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาณาจักรโคกูรยอ ซือหม่าอี้สามารถเข้ายึดเมืองหลวงเซียงผิงได้ ส่งผลทำให้สามารถพิชิตจังหวัดภายในช่วงปลายเดือนกันยายนของปีเดียวกัน

ศึกโคกูรยอ-วุยก๊ก

ในช่วงเวลานั้น เมื่ออาณาจักรโคกูรยอรวบรวมอำนาจ ได้ดำเนินการพิชิตดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน โคกูรยอได้ริเริ่มสงครามโคกูรยอ-เว่ย์ ใน ค.ศ. 242 โดยพยายามตัดขาดเส้นทางในการเข้าถึงดินแดนเกาหลีของจีน โดยพยายามเข้ายึดป้อมปราการของจีน อย่างไรก็ตาม เว่ย์ได้ตอบโต้ด้วยบุกรุกและเอาชนะโคกูรยอ ฮวันโดได้ถูกทำลายจากการล้างแค้นโดยกองทัพเว่ย์ใน ค.ศ. 244 การบุกครองครั้งนี้ทำให้กษัตริย์หลบหนีไป และทำลายความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอและชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีซึ่งก่อให้เกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ แม้ว่ากษัตริย์จะหลบหนีจากการถูกจับกุมและไปตั้งรกรากในเมืองหลวงแห่งใหม่ในที่สุด โคกูรยอก็ได้ถูกลดความสำคัญลงจนเหลือเพียงครึ่งทศวรรษ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีการเอ่ยถึงรัฐในตำราประวัติศาสตร์จีน

การล่มสลายของวุยก๊ก

ในปี ค.ศ. 249 ในรัชสมัยของทายาทผู้สืบทอดต่อจากเฉา รุ่ยคือ เฉา ฟาง(โจฮอง) ซือหม่า อี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ยึดอำนาจควบคุมรัฐมาจากเฉา ซวง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนนึงในการก่อรัฐประหาร เหตุการณ์นี้เป็นการบ่งบอกถึงการล่มสลายของอำนาจจักรพรรดิในเว่ย์ เนื่องจากบทบาทของเฉา ฟางถูดลดทอนลงเหลือเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิด ในขณะที่ซือหม่า อี้ควบคุมอำนาจรัฐอย่างมั่นคงไว้ในกำมือของเขา หวัง หลิง แม่ทัพแห่งเว่ย์ ได้พยายามที่จะก่อกบฏต่อต้านซือหม่า อี้ แต่ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วและต้องปลิดชีพตนเอง ซือหม่า อี้ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 251 โดยส่งอำนาจต่อให้แก่ซือหม่าซือ(สุมาสู) บุตรชายคนโตของเขาในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ซือหม่าซือได้ปลดเฉา ฟางออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 254 ด้วยเหตุผลในการวางแผนก่อกบฏต่อต้านเขาและแต่งตั้งเฉาเหมา(โจมอ) ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แทน ในผลตอบสนอง บู๊ขิวเขียมและเหวิน ฉินได้ร่วมมือกันก่อกบฏ แต่กลับถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยซือหม่าซือ ด้วยเหตุการณ์นี้ยังได้ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพของซือหม่าซือ ซึ่งได้รับการผ่าตัดที่ดวงตาช่วงก่อนการจลาจล ทำให้เขาต้องเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 255 แต่ได้มีการส่งมอบอำนาจต่อและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปให้กับซือหม่าเจา(สุมาเจียว) น้องชายคนเล็กของเขา

ในปี ค.ศ. 258 ซือหม่าเจาได้ปราบปรามการก่อกบฏของจูเก๋อต้าน เป็นการยุติสิ่งที่ถูกเรียกว่า กบฏทั้งสามในโชชุน ใน ค.ศ. 260 เฉาเหมาได้พยายามจะยึดอำนาจควบคุมรัฐกลับคืนมาจากซือหม่าเจาในการก่อรัฐประหาร แต่กลับถูกสังหารโดยเฉิงจี แม่ทัพทหารนายกองซึ่งรับใช้อยู่ภายใต้เจี่ยชง(กาอุ้น) ซึ่งเป็นผู้ติดตามของซือหม่า ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเฉาเหมา เฉา ฮวั่น(โจฮวน)ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเว่ย์องค์ที่ห้า อย่างไรก็ตาม เฉา ฮวั่นก็ยังคงเป็นเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของซือหม่าเจาเช่นเดียวกับจักรพรรดิองค์ก่อน ใน ค.ศ. 263 กองทัพเว่ย์ซึ่งนำโดยจงหุ้ย(จงโฮย) และเติ้งอ้าย(เตงงาย) สามารถพิชิตรัฐฉู่มาได้ ภายหลังจากนั้นจงหุ้ยและเจียงเหวย(เกียงอุย) อดีตแม่ทัพแห่งรัฐฉู่ ได้ร่วมมือกันและวางแผนเพื่อขับไล่ซือหม่าเจาลงจากอำนาจ อย่างไรก็ตาม แม่ทัพทหารเว่ย์หลายคนได้หันมาต่อต้านพวกเขา เมื่อพบว่าเจียงเหวยยุแยงจงฮุ้ยให้กำจัดแม่ทัพทหารเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มก่อรัฐประหารตามแผน ซือหม่าเจาเองได้รับและในที่สุดก็ยอมรับบรรดาศักดิ์เก้าขั้นและได้รับสถาปนาเป็น จิ้นก๋ง ใน ค.ศ. 264 และต่อมาได้รับพระราชทานยศตำแหน่งเป็น จิ้นอ๋อง โดยเฉา ฮวั่นใน ค.ศ. 264 แต่เขาได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 โดยทิ้งไว้เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายของการแย่งชิงอำนาจให้กับซือหม่า หยาน(สุมาเอี๋ยน) บุตรชายคนโตของเขา

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ซือหม่า หยาน บุตรชายของซือหม่าเจา ได้บีบบังคับให้เฉา ฮวั่นสละราชบัลลังก์ และตัวเขาเองก็ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์เว่ย์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ส่วนเฉา ฮวั่นเองทรงรอดชีวิตและมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ค.ศ. 302 ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์

ราชสำนัก

วัฒนธรรม

ลายสือศิลป์แบบไข่ชูได้รับการพัฒนาในระหว่างช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและราชวงศ์วุยก๊ก ผู้เชี่ยวชาญลายสือศิลป์แบบไข่ชูที่เป็นที่รู้จักคือจงฮิว ขุนนางแห่งวุยก๊ก[12]

รายชื่ออาณาเขต

รายพระนามกษัตริย์

ผู้ปกครองวุยก๊ก
ชื่อวัดพระราชสมัญญานามแซ่ (ตัวหนา) และชื่อตัวครองราชย์ (ค.ศ.)ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.)หมายเหตุ
(-)จักรพรรดิเกา
(เกาหฺวังตี้)
高皇帝
โจเท้ง
(เฉา เถิง)
曹騰
(-)(-)พระราชสมัญญานามของโจเท้งได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจยอย
(-)จักรพรรดิไท่
(ไท่หฺวังตี้)
太皇帝
โจโก๋
(เฉา ซง)
曹嵩
(-)(-)พระราชสมัญญานามของโจโก๋ได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี
ไท่จู่
太祖
จักรพรรดิอู่
(อู่หฺวังตี้)
武皇帝
โจโฉ
(เฉา เชา)
曹操
(-)(-)ชื่อวัดและพระราชสมัญญานามของโจโฉได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี
ชื่อจู่
世祖
จักรพรรดิเหวิน
(เหวินหฺวังตี้)
文皇帝
โจผี
(เฉา ผี)
曹丕
220-226
เลี่ยจู่
烈祖
จักรพรรดิหมิง
(หมิงหฺวังตี้)
明皇帝
โจยอย
(เฉา รุ่ย)
曹叡
227-239
(-)(-)โจฮอง
(เฉา ฟาง)
曹芳
240-249โจฮองถูกลดขั้นเป็น "เจอ๋อง" (齊王 ฉีหวาง) หลังถูกถอดจากราชสมบัติ โจฮองได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เช่าหลิงลี่กง" (邵陵厲公) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก
(-)(-)โจมอ
(เฉา เหมา)
曹髦
254-260โจมอได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เกากุ้ยเซียงกง" (高貴鄉公).
(-)จักรพรรดิยฺเหวียน
(ยฺเหวียนหฺวังตี้)
元皇帝
โจฮวน
(เฉา ฮฺวั่น)
曹奐
260-266

พงศาวลีวุยก๊ก

หมายเหตุ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง