เกย์เกมส์ 2023

เกย์เกมส์ครั้งที่ 11 หรือ XI Gay Games 2023, Gay Games 11, GGHK2023, GGGDL2023 และ เกย์เกมส์ ฮ่องกง - กัวดาลาฮารา 2023 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติและการแสดงทางวัฒนธรรมที่จัดขึ้นโดยที่ไม่ได้จำกัดการเข้าร่วมเฉพาะนักกีฬา ศิลปิน นักดนตรี ในกลุ่มเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ (LGBTQ+) เท่านั้น[1]

เกย์เกมส์ 11
ฮ่องกง - กัวดาลาฮารา 2023
Gay Games 11 Hong Kong 2023 Logo — Games for All.
เมืองเจ้าภาพฮ่องกง และ กัวดาลาฮารา, เม็กซิโก
คำขวัญUnity in Diversity
在多元中團結
GGHK Games for All.
Juntos Creando Historia
ครั้งที่11
กีฬาฮ่องกง: แบดมินตัน, ดอดจ์บอล, แข่งเรือมังกร, ฮอกกี้, ฟันดาบ, ฟุตบอล, มาราธอน: เต็ม & ครึ่งระยะ, ว่ายน้ำในน่านน้ำเปิด, ว่ายน้ำ, กรีฑาประเภทถนน: 5 กม. & 10 กม., ไพ่นกกระจอก, ศิลปะการต่อสู้, พายเรือ, รักบี้เจ็ดคน, เรือใบ, สควอช, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, วิ่งเทรล
ชนิด36 ชนิดกีฬา & การแสดงศิลปะและวัฒนธรรม
วันที่3 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023
เว็บไซต์ทางการgghk2023.com/en/
← เกย์เกมส์ X
เกย์เกมส์ XII →

เดิมมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 แต่ได้เลื่อนกำหนดการออกไป[2] อันเป็นผลมาจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในฮ่องกง[3]

การประมูล

ใน พ.ศ. 2557 แด็นนิส ฟิลิปส์ (Dennis Philipse) ชาวดัตช์ที่มีถิ่นพำนักในฮ่องกง ได้ก่อตั้งกลุ่มชุมชน OUT ในฮ่องกงเพื่อสร้างกลุ่มทำงานเชิงรุกในฮ่องกง เขามีความทรงจำของงานเกย์เกมส์ใน พ.ศ. 2541 ที่อัมสเตอร์ดัม ทำให้มีความฝันที่จะนำการจัดงานเกย์เกมส์มาสู่ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 40 ปีของรายการ ในปี 2557 เขาได้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร GGHK และติดต่อกับสหพันธ์เกย์เกมส์เพื่อเข้าร่วมกระบวนการประมูล กระบวนการเสนอราคาประกอบด้วยการยื่นเอกสารข้อเสนอประมูลขนาด 300 หน้า ในเดือนมีนาคม 2560 มีการประกาศรายชื่อเมืองที่เข้ารอบสุดท้ายของการประมูล ได้แก่ ฮ่องกง วอชิงตัน ดี.ซี. และกัวดาลาฮารา ในเดือนพฤษภาคม 2560 เมืองที่อยู่ในรายชื่อทั้งหมดได้รับการตรวจประเมินสถานที่จัดงานเป็นเวลา 4 วัน และในเดือนตุลาคม 2560 แต่ละเมืองที่เข้าร่วมได้ทำการนำเสนอรายงานฉบับสุดท้ายในปารีส ตามด้วยการลงคะแนนเสียงและการประกาศเมืองที่ชนะการประมูล

ฮ่องกงได้รับการประกาศให้เป็นเมืองเจ้าภาพการแข่งขันเกย์เกมส์ครั้งที่ 11 ในงานกาล่าที่ออแตลเดอวีล ศาลาว่าการกรุงปารีส เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560 โดยชนะด้วยคะแนนเสียงข้างมากอย่างชัดเจนในการลงคะแนนรอบแรกโดยผู้แทนของสมาพันธ์เกย์เกมส์ เป็นครั้งแรกที่งานจะจัดขึ้นในเอเชีย

ในเดือนเมษายน 2559 มีการประกาศรายชื่อขั้นต้นของเมืองต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมประมูลจัดงานเกย์เกมส์ครั้งที่ 11 ในปี 2565 มีเมืองที่มีความสนใจในการประมูลถึงสิบเจ็ดเมืองซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 สมาพันธ์เกย์เกมส์ประกาศว่า 11 เมืองได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อประมูลอย่างเป็นทางการแล้ว โดยแอนะไฮม์, แอตแลนตา, ดิมอยน์, แมดิสัน, มินนีแอโพลิส และแซนแอนโทนีโอ ตัดสินใจที่จะไม่ยื่นเสนอประมูล ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เก้าเมืองได้ยื่นค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนครั้งที่สองเพื่ออยู่ในกระบวนการเสนอราคา ทั้งเคปทาวน์และเทลอาวีฟได้ถอนตัวในขั้นตอนนี้ โดยระบุความจำนงที่จะประมูลงานเกย์เกมส์ครั้งที่ 12 ในปี 2569 แทน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เมืองที่เสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 8 เมืองยื่นเอกสารการประมูล โดยที่ลอสแองเจลิสถูกตัดออกจากการแข่งขันในขั้นตอนนี้

รายชื่อเมืองที่ได้รับคัดเลือกสามเมืองสุดท้ายได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 คือ กัวดาลาฮารา ฮ่องกง และวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองที่เสนอตัวจะได้รับการตรวจโดยผู้ตรวจประเมินก่อนที่จะมีการตัดสินเมืองเจ้าภาพในขั้นสุดท้ายที่ปารีสในวันที่ 30 ตุลาคม[4]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กัวดาลาฮาราได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพร่วมของการแข่งขันในครั้งนี้[5]

เมืองที่เข้ารอบสุดท้าย
 ฮ่องกง (เจ้าภาพหลัก)
กัวดาลาฮารา (เจ้าภาพร่วม)
วอชิงตัน ดี.ซี.
เมืองที่เข้ารอบสอง
ออสติน
แดลลัส
เดนเวอร์
ซอลต์เลกซิตี
ซานฟรานซิสโก
เมืองที่ตกรอบแรก
แอนะไฮม์
แอตแลนตา
เคปทาวน์
ดิมอยน์
ลอสแองเจลิส
แมดิสัน
มินนีแอโพลิส
แซนแอนโทนีโอ
เทลอาวีฟ

การเลื่อนการจัดงานและเจ้าภาพร่วม

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผู้จัดงานประกาศว่าเกย์เกมส์ ในปี 2565 จะถูกเลื่อนออกไปอีกหนึ่งปีโดยจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2566 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และระเบียบการกักตัวผู้เดินทางที่เข้มงวดของฮ่องกง[2][6]

เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนหลังการประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563 แด็นนิส ฟิลิปส์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้นำองค์กรจัดงานของฮ่องกงในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังจากทำงานอาสาสมัครมา 7 ปี (โดยทำเต็มเวลา 2 ปีสุดท้าย) นอกจากนี้สมาพันธ์ยังมีการตัดสินใจที่ให้มีเจ้าภาพร่วมระหว่างฮ่องกงและกัวดาลาฮารา ในงานเกย์เกมส์ครั้งที่ 11 เนื่องจากกัวดาลาฮาราเป็นผู้ได้รับคะแนนอันดับที่สอง[7]

พิธีเปิด

เดิมพิธีเปิดมีกำหนดไว้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[3] ก่อนจะเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การจัดงานและสถานที่

งานครั้งนี้นำเสนอกีฬา 22 รายการ พร้อมกับกิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรมทั่วฮ่องกง โดยสถานที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน[3]

การโต้แย้ง

การบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ

ใน พ.ศ. 2564 คณะผู้แทนของไต้หวันประกาศว่าจะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเกย์เกมส์ในปี 2565 เนื่องจากเกรงว่าสมาชิกในทีมอาจถูกจับกุมภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกงที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2563[8]

ดูเพิ่ม

  • สมาพันธ์เกย์เกมส์ หน่วยงานกำกับของเกย์เกมส์
  • เกย์เกมส์
  • Principle 6 campaign

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร