ญะมาอะห์ อิสลามียะห์

(เปลี่ยนทางจาก เจไอ)

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ (อาหรับ: الجماعة الإسلامية, al-Jamāʿah al-Islāmiyyah  แปลว่า กลุ่มอิสลาม) หรือกลุ่ม JI เป็นกลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 การมีอยู่ขององค์กรนี้ยังไม่แน่ชัด แต่ก็มีนักวิชาการเชื่อว่ามีศูนย์กลางอยู่ในอินโดนีเซีย เป้าหมายหลักขององค์กรคือการก่อตั้งรัฐอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยครอบคลุมพื้นที่ของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เครือข่ายของเจไอเชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์ แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร และกลุ่มกัมปูลัน มุญาฮืดีนในมาเลเซีย[2]

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์
แนวคิดลัทธิอิสลาม
Islamic fundamentalism
ซุนนีย์
อุดมการณ์รวมกลุ่มอิสลาม
พื้นที่ปฏิบัติการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กำลังพล5,000 คน[1]
พันธมิตร อัลกออิดะฮ์
แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร
แอลจีเรีย แอลจีเรีย
อิหร่าน อิหร่าน
ปรปักษ์ สหประชาชาติ

รัฐที่เป็นปรปักษ์

ประวัติ

กลุ่มเจไอมีวิวัฒนาการมาจากกลุ่มดารุลอิสลามในอินโดนีเซียซึ่งต้องการสถาปนารัฐอิสลามในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมี เซกามัดยี มาริดจัน กาโตสุวิรโจเป็นผู้นำในขณะนั้น อย่างไรก็ตามกลุ่มชาตินิยมของซูการ์โนเป็นกลุ่มที่ได้ก่อตั้งประเทศอินโดนีเซียสำเร็จ กลุ่มดารุลอิสลามเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปราม

กลุ่มดารุลอิสลามยังคงเคลื่อนไหวก่อความไม่สงบในหลายพื้นที่ระหว่าง พ.ศ. 2501 – 2512 โดยเขตพื้นที่หลักเป็นบริเวณอาณาจักรมัชปาหิตเดิมคือเกาะชวาตอนกลางและตะวันตกรวมทั้งสุมาตราตอนล่างและเกาะซูลาเวซี

อับดุลลา อาหมัด ซุงกาและเพื่อนของเขาคือ นายอาบู บาการ์ บาชีร์ (อาหรับ: أَبُو بَكْر بَاعَشِير, อักษรโรมัน: ʾAbū Bakr Bāʿašīr ) เป็นผู้เลื่อมใสแนวคิดดารุลอิสลามและเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเจไอในเวลาต่อมา ทั้งคู่ได้ตั้งโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2514 และได้ตั้งเครือข่ายเยาวชนขึ้นดำเนินการ จนกระทั่งเกิดเหตุระเบิดที่เมืองตันหยงปริอ็อกเมื่อ พ.ศ. 2527 ที่ทั้งคู่อยู่เบื้องหลัง ทั้งซุงกาและบาชีร์หนีไปมาเลเซียเมื่อ พ.ศ. 2528 และได้ตั้งขบวนการเจไอเต็มรูปแบบขึ้นที่นี่

เริ่มแรกทั้งคู่เปิดโรงเรียนสอนศาสนาชื่ออัลตาบิยะห์ ลุกมานุลอาดัมในรัฐยะโฮร์เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการ ซุงกาเปลี่ยนชื่อเป็นอับดุล ฮาลิม ส่วนบาชีร์เปลี่ยนชื่อเป็นอับดุล ซามัด โดยมีกลุ่มมวลชนเป็นแรงงานชาวอินโดนีเซียและชาวมาเลเซียบางส่วน โรงเรียนนี้เป็นสถานที่ฝึกและคัดเลือกเยาวชนไปฝึกวิชาทหารที่เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน รวมทั้งเข้ารบในสมรภูมิจริงในอัฟกานิสถาน

เมื่อยุคของรัฐบาลซูฮาร์โตสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2541 ซุงกาและบาชีร์เดินทางกลับอินโดนีเซีย ซุงกาถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคชราส่วนบาชีร์ยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณต่อไป

จุดมุ่งหมาย

ขบวนการเจไอต้องการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม (ชาริอะห์) เป็นกฎหมายประจำรัฐ และตั้งรัฐอิสลามบริสุทธิ์ที่เรียกว่า “ดอเลาะ อิสลามิยาห์ นุสันตารา” โดยมีกลยุทธที่สำคัญคือ พลังศรัทธา พลังภราดรภาพ และพลังการทหาร[3]

การบังคับบัญชา

นายอาบู บาการ์ บาชีร์ ครูสอนศาสนาชาวอินโดนีเซีย (อพยพมาจากเยเมน) คือบุคคลที่เชื่อว่าเป็นผู้นำทางศาสนาของกลุ่มญะมาอะห์ อิสลามียะห์ หรือ เจมาห์ อิสลามิยาห์ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า นายบาชีร์ก็ดำรงฐานเป็นแกนนำด้านการปฏิบัติการเช่นเดียวกัน นายบาชีร์เข้าร่วมกับกลุ่มดารุล อิสลาม ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และถูกทางการอินโดนีเซียจับกุมไปขังเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางศาสนา แต่ได้รับการปล่อยตัวออกมาระยะหนึ่ง และได้หลบหนีไปยังประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังจากที่ศาลอินโดนีเซียมีคำสั่งให้จับกุมตัวนายบาชีร์ไปคุมขังอีกครั้งหนึ่งระหว่างที่พำนักอยู่ในมาเลเซีย นายบาชีร์ได้รวบรวมอาสาสมัครเพื่อไปร่วมทำสงครามต่อต้านกองทัพรัสเซียที่บุกยึดประเทศอัฟกานิสถาน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย ขณะเดียวกันนายบาชีร์ก็ยังคงติดต่อกับพวกพ้องที่มีแนวคิดเดียวกันในอินโดนีเซียอย่างสม่ำเสมอ

หลังจากที่ระบอบเผด็จการของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2541 นายบาชีร์ เดินทางกลับไปยังประเทศอินโดนีเซีย และเปิดโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นที่เมืองโซโล บนเกาะชวา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่บนเกาะนี้ เป็นชาวมุสลิม พร้อมก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภานักรบมุสลิมแห่งอินโดนีเซีย (Majelis Mujahidin Indonesia ) ซึ่งเป็นแกนนำเครือข่ายนักรบมุสลิมในอินโดนีเซีย

นายบาชีร์ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย และหลังจากเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2545 ทางการอินโดนีเซีย ได้เรียกตัวนายบาชีร์มาให้ปากคำเกี่ยวกับกรณีการลอบโจมตีที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนหน้านั้น ปัจจุบันนายบาชีร์ถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและความเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ในขบวนการกลุ่มแกนนำมีความรับผิดชอบต่าง ๆ กัน ผู้นำสูงสุดเรียกว่าเอมีร์ รองลงไปคือสภาผู้นำ (มากาซ) และสภาที่ปรึกษา (ซูเราะห์) จากนั้นจึงแบ่งไปสู่ระดับภาค (มันติกิ) แต่ละภาคมีการบังคับบัญชาในระดับกองพัน (ซาลาล), หมวด (เกอดาซ) และหมู่ (เฟียซ) โดยแบ่งออกเป็นสี่ภาคด้วยกันคือ[3]

ในแต่ละภูมิภาค มีหน่วยงานหลักห้าฝ่ายคือ

  • ฝ่ายจาริกเชิญชวน มีหน้าที่หาสมาชิก
  • ฝ่ายฝึกอาวุธ
  • ฝ่ายเศรษฐกิจ ทำหน้าที่เรี่ยไรและรับบริจาคเงิน
  • ฝ่ายองค์กรบังหน้า ปรากฏตัวในรูปมูลนิธิ โรงเรียนสอนศาสนา และพยายามแทรกซึมเข้าไปในองค์กรต่าง ๆ
  • ฝ่ายต่างประเทศ เชื่อมโยงกับขบวนการในภูมิภาคอื่นที่มีอุดมการณ์เดียวกัน

ปฏิบัติการ

กลุ่มเจไอออกมาประกาศความรับผิดชอบการลอบวางระเบิดโรงแรมเจ ดับเบิลยู แมริออต ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และคาดว่าอยู่เบื้องหลังการวางระเบิดในสถานบันเทิงที่เกาะบาหลีเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 เจ้าหน้าที่ไทยจับกุมตัวนายฮัมบาลีที่เป็นแกนนำของกลุ่มเจไอ และคาดว่ามีส่วนพัวพันการลอบวางระเบิดในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์หลายครั้ง[4]

พื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มเจไอ อยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอาจจะเคลื่อนไหวอยู่ในฟิลิปปินส์ และไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่อำนาจของรัฐบาลเข้าไปไม่ถึง, พื้นที่ที่ขาดแคลนเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในหมู่เจ้าหน้าที่ และพื้นที่ติดทะเลที่มีเขตน่านน้ำที่เปิดกว้างของหลายประเทศ ทำให้กลุ่มเจไออาศัยข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นช่องทางในการปฏิบัติการในหลายประเทศได้โดยสะดวก

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ ในความเป็นกลุ่ม หรือสมาชิกเพียงบางคน น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายหลายครั้ง ประกอบด้วย:

  • การโจมตีโรงแรม เจ ดับเบิลยู มาริอ็อต กลางกรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 โดยใช้รถยนต์บรรทุกระเบิด (Car bomb) เป็นอาวุธ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน
  • การลอบวางระเบิดไนท์คลับ ที่เกาะบาหลี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 202 คน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากออสเตรเลียและประเทศอื่น ๆ โดย นายอัมโรซี บิน เนอร์ฮาสยิม ช่างเทคนิค จากทางตะวันออกของเกาะชวา วัย 41 ปี ถูกพิพากษาลงโทษ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ซื้อรถยนต์คันที่ใช้บรรทุกระเบิด และเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อและลำเลียงสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของระเบิดส่วนใหญ่ นายอัมโรซี เป็นผู้ต้องสงสัยคนแรกที่ถูกตัดสินลงโทษ จากจำนวนผู้ต้องสงสัย 33 คน ที่ถูกจับกุมในกรณีการก่อการร้ายที่เกาะบาหลี
  • กรณีการโจมตีโบสถ์คริสต์หลายแห่ง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 คน หน่วยข่าวกรองของประเทศอาเซียนและสหรัฐ เชื่อว่า นายฮัมบาลี มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อการร้ายระลอกนี้[5] และทางการอินโดนีเซียก็ใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการควบคุมตัวนายอาบู บาการ์ บาชีร์ ไปสอบปากคำ
  • การลอบวางระเบิดที่เกิดขึ้นหลายระลอกที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า นายฮัมบาลี ช่วยเหลือในเรื่องการวางแผน ซึ่ง นายเฟอร์ตู เราะห์มาน อัลกอซี ลูกศิษย์คนใกล้ชิดของ นายอาบู บาการ์ บาชีร์ ยอมสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิด และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ก็ถูกตัดสินลงโทษในข้อหามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีการก่อการร้าย
  • กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า นายฮัมบาลี ช่วยเหลือในเรืองการวางแผนก่อการร้ายที่จะระเบิดเครื่องบินโดยสารของสายการบินสหรัฐฯ จำนวน 11 ลำ ในปฏิบัติการ Oplan Bojinka [en] เมื่อปี พ.ศ. 2538
  • นอกเหนือจากนี้ ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ ยังเกี่ยวข้องกับแผนโจมตีสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2544 ซึ่งแผนดังกล่าวถูกสกัดกั้นได้ก่อนที่จะมีการลงมือ

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

  • Atran, Scott (2010). Talking to the Enemy: Faith, Brotherhood, and the (Un)Making of Terrorists. New York: Ecco Press / HarperCollins. ISBN 978-0-06-134490-9.
  • Barton, Greg (2005). Jemaah Islamiyah: radical Islam in Indonesia. Singapore: Singapore University Press. ISBN 9971-69-323-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง