เกาะสุมาตรา

เกาะหนึ่งในอินโดนีเซีย

สุมาตรา หรือ ซูมาเตอรา (อินโดนีเซีย: Sumatra)[a] เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะซุนดาของอินโดนีเซียตะวันตก ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 475,807.63 km2) ซึ่งรวมเกาะรอบข้างอย่างซีเมอลูเวอ, นียัซ, เมินตาไว, เอิงกาโน, หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง และกลุ่มเกาะกรากาตัว

เกาะสุมาตรา
ภูมิประเทศของเกาะสุมาตรา
ที่ตั้งของเกาะสุมาตราในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด00°N 102°E / 0°N 102°E / 0; 102
กลุ่มเกาะหมู่เกาะซุนดาใหญ่
พื้นที่475,807.63 ตารางกิโลเมตร (183,710.35 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด3,805 ม. (12484 ฟุต)
จุดสูงสุดเกอรินจี
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดอาเจะฮ์
สุมาตราเหนือ
สุมาตราตะวันตก
เรียว
จัมบี
เบิงกูลู
สุมาตราใต้
ลัมปุง
เมืองใหญ่สุดเมดัน (2,097,610 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร59,977,300 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
ความหนาแน่น125.0/กม.2 (323.7/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์อาเจะฮ์, บาตัก, กาโย, ลัมปุง, มลายู, เมินตาไว, มีนังกาเบา, นียัซ, ปาเล็มบัง, เรอจัง, จีน, อินเดีย, ชวา, ซุนดา ฯลฯ
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

การทำลายป่าบนเกาะนี้ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบปกคลุมประเทศเพื่อนบ้าน อย่างฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2556 ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างอินโดนีเซียกับประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์[2] นักวิชาการมักอธิบายถึงการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวางและการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในเกาะสุมาตราและส่วนอื่นของอินโดนีเซียเป็นอีโคไซด์ (ecocide)[3][4][5][6][7]

ศัพทมูลวิทยา

ในสมัยโบราณ เกาะสุมาตรามีชื่อเรียกในภาษาสันสกฤตว่า สุวรรณทวีป (Suwarnadwīpa; 'เกาะทอง') และสุวรรณภูมิ (Suwarnabhūmi; 'ดินแดนทอง') ทั้งนี้เพราะมีการพบทองคำบนที่ราบสูงของเกาะแห่งนี้[8] ส่วนรูปปัจจุบันของ "Sumatra" แบบแรกสุดปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1017 เมื่อกษัตริย์ท้องถิ่น ฮาจีซูมาตราบูมี ("กษัตริย์แห่งดินแดนสุมาตรา")[9]ส่งทูตไปจีน ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับระบุถึงเกาะนี้เป็น ลัมรี ลามูรี ลัมบรี และรัมนี (Lamri, Lamuri, Lambri หรือ Ramni) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10-13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้กับบันดาร์อาเจะฮ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาขึ้นฝั่ง เกาะนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ อันดาลัซ (Andalas)[10] หรือ เกาะเปอร์จา (Percha Island)[11]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาร์โก โปโลกล่าวถึงอาณาจักรนี้เป็น Samara ในขณะที่ Odoric of Pordenone นักเดินทางชาวอิตาลีร่วมสมัยของเขา ใช้รูปเขียน Sumoltra ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 รูป "Sumatra" กลายเป็นที่นิยมในต่างประเทศ เนื่องจากราชอาณาจักรซามูเดอราปาไซกับรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ในยุคหลัง เรืองอำนาจ[12][13]

นับตั้งแต่นั้นมา นักเขียนชาวยุโรปยุคหลังส่วนใหญ่เขียนชื่อเกาะในรูป Sumatra หรือรูปคล้ายกัน[14][15]

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1971 20,808,148—    
1980 28,016,160+34.6%
1990 36,506,703+30.3%
1995 40,830,334+11.8%
2000 42,616,164+4.4%
2005 45,839,041+7.6%
2010 50,613,947+10.4%
2015 55,198,752+9.1%
2020 58,557,211+6.1%
2022 59,977,300+2.4%
ข้อมูล:[16][17]

เกาะสุมาตราไม่ได้มีประชากรหนาแน่นเป็นพิเศษ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมแล้วมีประมาณ 59,977,300 คน (รายงานจากจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงปลาง ค.ศ. 2022)[18] ถึงกระนั้น เนื่องด้วยขนาดของเกาะ ทำให้เกาะสุมาตราเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก[19]

หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี
หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี 
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ 

ภูมิศาสตร์

แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง พื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน (Barisan Mountains) ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก

ทางตะวันออกเฉียงใต้คือเกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมลายู แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือเกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาตา (Karimata Strait) ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดีย

สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบารีซัน ภูเขาไฟในภูมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพอันสวยงามเช่น รอบ ๆ ทะเลสาบโตบา (Lake Toba) นอกจากนี้ ยังมีแร่ถ่านหินและทองคำด้วย

ทางตะวันออก แม่น้ำใหญ่พัดพาเอาตะกอนดินจากภูเขา ทำให้เกิดลุ่มกว้างขวาง พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร อย่างไรก็ดี พื้นที่นี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก สุมาตราผลิตน้ำมันทั้งจากบนดินและใต้ดิน ("from above the soil and underneath") กล่าวคือ ผลิตทั้งน้ำมันปาล์มและปิโตรเลียม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสุมาตราเคยปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงอุรังอุตัง สมเสร็จ และ เสือสุมาตรา และพืชพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แรฟเฟิลเซีย (Rafflesia) อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการคอร์รัปชันและการทำไม้ผิดกฎหมาย ทำให้มีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พื้นที่อนุรักษ์ยังถูกทำลายด้วย

ดูเพิ่ม

  • เกาะของอินโดนีเซีย
  • เกาะเรียว

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง