ข้ามไปเนื้อหา

เดอะเฟม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะเฟม
ภาพปกอัลบั้ม เดอะเฟม
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด19 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(ดูประวัติการจำหน่าย)
บันทึกเสียงพ.ศ. 2551 ณ เรเคิดแพลนต์สตูดิโอ, แชลิสเรเคิดดิงสตูดิโอส์, 150 สตูดิโอส์, เชอร์รีทรีเรเคิดดิงสตูดิโอส์, 333 สตูดิโอส์, โพบอยสตูดิโอส์[1]
แนวเพลงป็อป อิเล็กทรอนิกส์ แดนซ์
ความยาว59:35
ค่ายเพลงสตรีมไลน์, คอนไลฟ์ดิสทรีบิวชัน, อินเตอร์สโคป, เชอร์รีทรีเรเคิดดิงสตูดิโอส์
โปรดิวเซอร์Rob Fusari, Bilal Hajji, Vincent Herbert (executive) , Martin Kierszenbaum, KNS Productions, RedOne, Space Cowboy
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของเลดี้ กาก้า
เดอะเฟม
(2551)
เดอะเฟมมอนสเตอร์
(2552)เดอะเฟมมอนสเตอร์2552
ซิงเกิลจากเดอะเฟม
  1. "จัสต์แดนซ์"
    จำหน่าย: 8 เมษายน พ.ศ. 2551
  2. "บิวตีฟูล, เดอร์ตี, ริช"
    จำหน่าย: 16 กันยายน พ.ศ. 2551
  3. "โป๊กเกอร์เฟส"
    จำหน่าย: 23 กันยายน พ.ศ. 2551
  4. "เอ, เอ (นอตติงเอลส์ไอแคนเซย์)"
    จำหน่าย: 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  5. "เลิฟเกม"
    จำหน่าย: 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
  6. "ปาปารัซซี"
    จำหน่าย: 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เดอะเฟม (อังกฤษ: The Fame) คือสตูดิโออัลบั้มแรกของเลดี้ กาก้า นักร้องหญิงชาวอเมริกัน ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยค่ายอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ก่อนหน้านี้กาก้าเคยทำงานด้านการประพันธ์เพลงให้กับศิลปินมากมายจนกระทั่งการออกอัลบั้มเป็นของตนเองครั้งแรก ธีมหลักของเพลงในอัลบั้มมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้สึกอย่างคนที่มีชื่อเสียง ในอัลบั้มนี้ กาก้าได้ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์หลายคน อาทิ เรดวัน, Martin Kierszenbaum, และ Rob Fusari เพลงต่างๆได้แรงบันดาลใจมาจากความรักของกาก้าในการเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงโดยพื้นฐาน ผสานกับแบบชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อและสลับซับซ้อนของเธอ ดนตรีในอัลบั้มได้แรงบันดาลใจมาจากแนวดนตรีซินธ์ป็อปช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 (80s) ผสมผสานกับเพลงแดนส์และฮูก

อัลบั้มนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงบวกโดยส่วนมาก ด้วยกาก้าสามารถค้นพบเมโลดีฮูกและมีการเปรียบเทียบความสามารถของเธอกับเกวน สเตฟานี อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร, แคนากา และไอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกาอัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ต บิลบอร์ด 200 สูงสุดในอับดับที่ 4 และขึ้นอันดับสูงสุดในชาร์ต บิลบอร์ด ทอปอิเล็กทรอนิกอัลบั้ม มียอดจำหน่ายอัลบั้มทั่วโลกกว่า 4 ล้านชุด

สองซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม เดอะเฟม อันได้แก่ "จัสแดนส์" และ "โปเกอร์เฟส" ได้รับความนิยมทั่วโลก ทั้งสองขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งกว่า 6 ประเทศ รวมทั้ง บิลบอร์ด ฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา เพลง "โปเกอร์เฟส" ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในตลาดดนตรีใหญ่ๆ ในส่วนซิงเกิลอื่นๆ ได้แก่ "เอ, เอ (นอตติงเอลส์ไอแคนเซย์)", "เลิฟเกม" และ "ปาปารัสซี่" กาก้าประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าวด้วยการขับร้องเพลงในการแสดงสดของเธอ รวมทั้งใน คอนเสิร์ตทัวร์เดอะเฟมบอล คอนเสิร์ตทัวร์ครั้งแรกของเธอ อัลบั้มนี้ยังบรรจุเป็นซีดีแผ่นพิเศษในอัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ ฉบับดีลักซ์

ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552 อัลบั้ม เดอะเฟม ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 ในสองสาขา ได้แก่ สาขาอัลบั้มอิเล็กทรอนิก/แดนส์ยอดเยี่ยม และอัลบั้มแห่งปี[11]

การประพันธ์และพัฒนาการ

ภายหลังการประพันธ์เพลงให้กับศิลปินมากมาย อาทิ บริตนีย์ เสปียร์ส และ พุซซีแคต ดอลส์ ขณะที่กาก้าเองก็มีความพยายามที่จะเป็นศิลปินเช่นกันโดยทพเพลงใต้ดินในคลับในนิวยอร์ก จนกระทั่งกาก้าได้ออกอัลบั้มเป็นของตนเองอัลบั้มแรกในชื่อ เดอะเฟม[12] เมื่อพูดถึงชื่อและคอนเสปต์ของอัลบั้ม กาก้าอธิบายว่า "เดอะเฟม เป็นความรู้สึกที่ทุกคนสัมผัสความนิยมของวัฒนธรรมเพลงป๊อปเป็นศิลปะ มันไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกเจ๋งที่จะเกลียดวัฒนธรรมเพลงป๊อป ฉันจึงนำมมันมาใช้และคุณจะได้ยินทั้งหมดนั้นทั้งอัลบั้ม เดอะเฟม (ชื่อเสียง) แต่เป็นชื่อเสียงที่แบ่งปันกันได้ ฉันอยากเชิญชวนคุณมาร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ฉันอยาดให้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตนี้"[13] กาก้าเริ่มต้นด้วยการให้สัมภาษณ์กับ เอ็มทีวียูเค (MTV UK) ในช่วงการสร้างสรรค์อัลบั้มของเธอกว่า 2 ปีครึ่งและเสร็จสิ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[14] เช่นเดียวกับการประพันธ์เนื้อเพลง กาก้าทำงานทางเมโลดี้และซินธ์ของอัลบั้มร่วมกับเรดวัน[13] เธอกล่าวว่าเพลงจะมีความสนุกสนานและเป็นเรื่องราวของความรักที่จะดึงดูดคนไปสู่ช่วงเวลาแห่งชีวิตของพวกเขา[15] "เลิฟเกม" เพลงลำดับที่สองของอัลบั้มได้รับแรงบันดาลใจมาจากความหลงใหลของเธอในคนแปลกหน้าที่คลับและเธอกล่าวว่า "I wanna ride on your disco stick" บทเพลงดังกล่าวใช้เวลาประพันธ์เพียง 4 นาทีโดยมีพื้นฐานจากดนตรีในดิสโก[16] เพลง "ปาปารัสซี่" ได้นำมาตีความหมายในอีกแง่หนึ่ง อย่างไรก็ตามกาก้าอธิบายในการสัมภาษณ์ในอะเบาต์ดอตคอมว่าเพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากการต่อสู้ดิ้นรนและความโหยหาความมีชื่อเสียงและความรักของเธอ โดยเฉพาะเพลงรัก "ปาปารัสซี่" นำเสนอในสิ่งที่ต้องการและถามคำถามว่าคนจะสามารถมีทั้งชื่อเสียงแลัความรักได้หรือไม่[17]

"โปเกอร์เฟส" ได้แรงบันดาลมาจากแฟนของกาก้าที่ชอบเล่นการพนัน[18] และประสบการไบเซ็กชวลของเธอเอง เธอนึกฝันเกี่ยวกับสตรีกำลังมีเพศสำพันธ์กับบุรุษดังนั้นเธอจึงแทนตัวเธอเองว่า "โปเกอร์เฟส"[19] "บอยส์, บอยส์, บอยส์" ได้รับแรงบัลดาลใจจากเพลงของ Motley Crue ในชื่อใกล้เคียงกันคือ "เกิร์ลส, เกิร์ลส, เกิร์ลส" กาก้าอธิบายว่าเธอต้องการฉบับของผู้หญิงที่ร็อกเกอร์อยากได้เช่นกัน[13] "บิลตีฟูล, เดอร์ตี, ริช" เป็นบทสรุปของการค้นพบของเธอ ใช้ชีวิตฝั่งตะวันออกและใช้ยาในปาร์ตี[13] "เอ, เอ (นิตติงเอลส์ไอแคนเซย์)" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเลิกกับแฟนและกำลังหาคนใหม่[13] "บราวน์อายส์" ได้รับแรงบันดาลใจจากวงควีนและเพลงส่วนใหญ่ของกาก้าที่ไม่มีความมั่นคง[13]

ในการสัมภาษณ์กับเอ็มทีวี กาก้ายังอธิบายถึงแนวคิดอัลบั้ม เดอะเฟม เพิ่มเติมถึงแรงบันดาลใจและมุมมองของเธอสำหรับอัลบั้มดังกล่าว เธอเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดหายไปจากเพลงป๊อปร่วมสมัยคือการรวมกันของภาพลักษณ์ของศิลปินเข้ากับดนตรี กาก้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์การแสดงดนตรีบนคอนเสิร์ตของเธอ เธอหวังว่าผู้ชมจะสังเกตถึงการแสดงอย่างศิลปะของเธอซึ่งเธอพยายามนำออกมาจากอัลบั้มและดนตรีซึ่งเธอได้ใส่ความเป็นตัวเธอลงไปด้วย[20]

"ฉันแค่รู้สึกว่าอัลบั้มนี้แตกต่าง- คุณเคยได้สัมผัสดนตรีแกลมช่วงทศวรรษ 1970 ของศิลปินและของนักประพันธ์เพลงร็อกมากมาย [...] เดอะเฟม ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณคือใคร — แต่มันเกี่ยวกับว่าทำอย่างไรให้ทุกๆ คนต้องการรู้ว่าคุณคือใคร! ซื้อและฟังมันก่อนออกจากบ้านหรือระหว่างขับรถ [...] ฉันคิดว่ามันทำให้ศิลปินสร้างเพลงได้อย่างสร้างสรรค์ ฉันใช้เวลากับมันซักพักใหญ่แต่มันทำให้ฉันเข้าใจตัวฉันเอง ท้ายที่สุดฉันก็เข้าใจมัน ฉันจะภูมิใจมันไม่ได้เลย มันไม่ใช่แค่แผ่นเสียง แต่มันคือการเคลื่อนไหวทางศิลปะเพลงป๊อป และมันก็ไม่ใช่แค่เพลงเพลงหนึ่ง"[14]

อันดับบนชาร์ต

กาก้าขับร้องเพลง "จัสแดนส์" ใน คอนเสริ์ตทัวร์เดอะเฟมบอล

ในสหรัฐอเมริกา เดอะเฟม เริ่มต้นขึ้นชาร์ต บิลบอร์ด 200 ในอนดับที่ 17 ด้วยยอดขาย 24,000 ชุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[21] ภายหลังการตกอันดับจากชาร์ตเรื่อยๆ อัลบั้มนี้ก้าวขึ้นสู่หนึ่งในสิบอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552[22] โดยขึ้นสู่อันดับที่ 4 บนชาร์ต[23] อัลบั้มนี้ยังขึ้นสู่อันดับสูงสุดบนชาร์ต บิลบอร์ด ทอปอิเล็กทรอนิกอัลบั้ม โดยขึ้นสู่อันดับที่หนึ่งรวมกว่า 40 สัปดาห์[24] ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวสำหรับยอดขายกว่า 1 ล้านชุดโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา[25] เดอะเฟม มียอดจำหน่ายกว่า 1.56 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา[26] ภายหลังการออกอัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ โดยมีอัลบั้ม เดอะเฟม เป็นซีดีพิเศษในฉบับดีลักซ์ อันดับบน บิลบอร์ด 200 กระโดดจากอันดับที่ 34 เป็นอันดับที่ 6 ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 151,000 ชุด[27] ในแคนาดาอัลบั้มนี้ขึ้นอันดับสูงสุดในอันดับที่หนึ่ง[28] และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวสามแผ่น โดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของแคนาดา ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 240,000 ชุด [29]

อัลบั้มนี้เปิดตัวในอันดับที่ 6[30] และขึ้นสู่อันดับสูงสุดที่สองในนิวซีแลนด์พร้อมการได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวสองแผ่น[31] ในออสเตรเลียอัลบั้มเปิดตัวในอันดับที่ 12[32] และขึ้นสู่อันดับสูงสุดที่ 4[33] อัลบั้มนี้ยังได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 3 แผ่นจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของออสเตรเลีย ด้วยยอดจหน่ายกว่า 210,000 ชุด[34]

เดอะเฟม เปิดตัวในชาร์ตสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 3[35] ภายหลังการอยู่บนชาร์ตนานกว่าสิบสัปดาห์ อัลบั้ม ซองส์ฟอร์มายมาเธอร์ ของโรนัน คิตติง เข้าชาร์ตแทน[36] หลังจากนั้นอัลบั้มได้อยู่บนชาร์ตติดต่อกัน 4 สัปดาห์ในอันดับที่หนึ่ง[37] ในไอร์แลนด์อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตในอันดับที่ 8[38] ภายหลังการอยู่บนชาร์ตกว่า 5 สัปดาห์จึงขึ้นสู่ดันดับที่หนึ่ง 2 สัปดาห์ติดต่อกัน[39] ในยุโรปอัลบั้มนี้ขึ้นอันดับหนึ่งใน ยูโรเปียนทอป 100 อัลบั้ม[40] และในชาร์อัลบั้มของออสเตรเลีย[41] และยังขึ้นเป็นหนึ่งในยี่สิบในเบลเยี่ยม, เช็ก, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, เยอรมนี, ฮังการี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, รัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์[42] อัลบั้มนี้มียอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า 4 ล้านชุด[43]

ซิงเกิล

"จัสต์แดนซ์" เป็นซิงเกิลทางการค้าซิงเกิลแรก ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลด[44] เพลงนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ดนตรีรวมทั้งในคลับแนวซินธ์ป๊อป [2][10] เพลงนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งทั้งในสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ไอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, และสหราชอาณาจักร รวมทั้งการขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหลายประเทศ[45][46][47][48][49] เพลงนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีครั้งที่ 51 ในสาขาเพลงแดนส์ยอดเยี่ยม ทว่าเพลง "ฮาร์เดอร์, เบตเทอร์, ฟาสเตอร์, สตรองเกอร์" ของ Daft Punk ได้รับรางวัลดังกล่าว[50]

"โป๊กเกอร์เฟส" เป็นซิงเกิลที่สองจากอัลบั้มดังกล่าว ยังคไดรับการวิพากวิจารณ์อย่างดีเช่นกัน ซึ่งยกย่องในท่วงทำนองฮูกแบบหุ่นยนตร์และช่วงท่อนคอรัสของเพลง[51] เพลงนี้ประสบความสำเร็จสูงสุดกว่าเพลง "จัสแดนส์" โดยขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดในเกือบทุกประเทศที่ออกจำหน่าย[52] "โปเกอร์เฟส" กลายเป็นซิงเกิลที่สองของเลดี้ กาก้าที่ขึ้นชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 ในอันดับที่หนึ่ง[53][54] ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 "โปเกอร์เฟส" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 ในสาขาเพลงแห่งปี, สาขาการบันทึกเสียงแห่งปี และสาขาเพลงแดนส์ยอดเยี่ยม[11]

"เอ, เอ (นอตติงเอลส์ไอแคนเซย์)" เป็นซิงเกิลที่สามของอัลบั้มในประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สวีเดน และเดนมาร์ก และเป็นซิงเกิลที่สี่ในฝรั่งเศส เพลงนี้ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในเชิงบวกและลบ บางข้อวิจารณ์เปรียบเทียบบทเพลงกับยูโรป๊อปช่องคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ในอีกด้านกลับวิจาร์เพลงนี้เป็นการนำไปสู่จุดจบของงานเลี้ยง และเป็นความอับอายของอัลบั้ม[8] เพลงนี้นับว่าประสบความล้มเหลวหากเทียบกับสองซิงเกิลแรกโดยขึ้นชาร์ตในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในอันดับที่ 15 และ 9 ตามลำดับ ขึ้นชาร์ตในอับดับที่ 2 ในสวีเดน และอันดับที่ 7 ในฝรั่งเศส[55]

"เลิฟเกม" ออกเผยแพร่เป็นซิงเกิลที่สามในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และบางประเทศในยุโรป และเป็นซิงเกิลที่ 4 ของออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร เพลงนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เชิงบวกเนื่องจากท่วงทำนองที่ดึงดูดใจและในท่อน "I wanna take a ride on your disco stick"[56] เพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งใน 10 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และแคนาดา และยังเป็นหนึ่งใน 20 บนชาร์ตเพลงในหลายประเทศ[57]

"ปาปารัซซี" เป็นซิงเกิลที่สามในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเป็นซิงเกิลที่ห้าในประเทศอื่นๆ [58] รวมทั้งออสเตรเลียซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552[59] อย่างไรก็ดีเพลงนี้ขึ้นชาร์ตก่อนการออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลและขึ้นชาร์ต 5 อันดับแรกในออสเตรเลีย, แคนาดา, ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[60] "ปาปารัสซี่" ได้รับคำชื่นชมเนื่องมาจากดนตรีที่สนุกสนานและเป็นมิตรภาพในคลับ และเพลงนี้เป็นเพลงที่ทรงคุณค่าน่าจดจำที่สุดจากอัลบั้มนี้[61] มิวสิกวิดีโอเพลงนี้ถ่ายทำในรูปแบบภาพยนตร์ขนาดย่อโดยกาก้าแสดงเป็นนักแสดงชื่อดังซึ่งถูกฆาตกรรมโดยแฟนของเธอ แต่บทสรุปคือการกลับมาแก้แค้นของเธอและสร้างชื่อเสียงและความนิยมของเธอกลับมาอีกครั้งหนึ้ง[62]

การประชาสัมพันธ์

เพื่อการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม กาก้าแสดงคอนเสิร์ตและการแสดงต่างๆ ทั่วโลก เริ่มแรกด้วยการออกโทรทัศน์สถานีโลโก้ในรายการ เน็กซ์นาวเน็กว์อะวาร์ด เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551[63] และยังแสดงในรายการ โซยูทิงก์ยูแคนดานซ์, [64] Jimmy Kimmel Live!,[65] เดอะทูไนต์โชว์วิธเจย์เลโน[66] นอกจากนี้เธอยังแสดงในงานประกอบมิสยูนิเวอร์ส ณ ประเทศเวียดนาม ในรอบการประกวดชุดว่ายน้ำ[67] เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 เธอแสดงในรายการโทรทัศน์ไอร์แลนด์ช่อง RTÉ One ในรายการ Tubridy Tonight[68] และได้มีการนำเพลงจากอัลบั้ม เดอะเฟม 3 เพลงประกอบในซีรีส์ชุด แสบใสไฮโซ อันได้แก่ "ปาปารัสซี่" และตอน "Summer, Kind of Wonderful", "โป๊กเกอร์เฟส" ในตอน "The Serena Also Rises" และ "มันนีฮันนี" ในตอน "Remains of the J"[69] กาก้ายังแสดงเพลง "โปเกอร์เฟส" ในรายการ อเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552[70]

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการแสดง เดอร์ตีเซ็กซี่มันนี ช่อง ABC จึงได้จัดทำมิวสิกวิดีโอเพลง "บิวตีฟูล, เดอร์ตี, ริช" อำนวยการผลิตโดย Melina Matsoukas ซึ่งในเบื้องต้นเพลงนี้จะได้นำมาใช้เป็นซิงเกิลที่ 2 แต่ต่อมาได้เลือกเพลง "โปเกอร์เฟส" แทน[71] ซึ่งมีสองวิดีโอสำหรับเพลงนี้ อันได้แก่ คลิปจาก เดอร์ตี เซ็กซี มันนี และมิวสิกวิดีโอจริง[72] เพลงนี้ขึ้นชาร์ตซิงเกิลของสหราชอาณาจักรผ่านดิจิทัลดาวน์โหลดและขึ้นอันดับสูงสุดที่ 83[73] อัลบั้มนี้ได้รับการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องใน คอนเสิร์ตทัวร์เดอะเฟมบอล ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552แซนดีเอโก แคลิฟอร์เนีย

เดอะเฟมมอนสเตอร์

แต่เดิมมีกำหนดการจำหน่ายอัลบั้ม เดอะเฟม พร้อมทั้งเพลงพิเศษ 8 เพลง แต่เลดี้ กาก้าประกาศว่าอัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ จะเป็นอัลบั้มอิสระ บรรจุเพลงใหม่ 8 เพลง และในรูปแบบดีลักซ์จะบรรจุเพลงจากอัลบั้ม เดอะเฟม ในรูปแบบซีดีพิเศษ[74]

รายชื่อเพลง

ฉบับมาตรฐาน

ฉบับนี้ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 ในแคนาดา, เม็กซิโก บางประเทศในยุโรป, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ลำดับชื่อเพลงทำนองยาว
1."Just Dance" (featuring Colby O'Donis)Lady Gaga, RedOne, Aliaune Thiam4:04
2."LoveGame"Lady Gaga, RedOne3:33
3."Paparazzi"Lady Gaga, Rob Fusari3:28
4."Beautiful, Dirty, Rich"Lady Gaga, Fusari2:54
5."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)"Lady Gaga, Martin Kierszenbaum2:56
6."Poker Face"Lady Gaga, RedOne3:59
7."The Fame"Lady Gaga, Kierszenbaum3:44
8."Money Honey"Lady Gaga, RedOne, Bilal Hajji3:08
9."Again Again"Lady Gaga, Fusari3:06
10."Boys Boys Boys"Lady Gaga, RedOne3:22
11."Brown Eyes"Lady Gaga, Fusari4:05
12."Summerboy"Lady Gaga, Brian Kierulf, Josh Schwartz4:16
13."I Like It Rough" (Canadian iTunes, Mexico, Australian, and selected European bonus track)Lady Gaga, Kierszenbaum3:24

ฉบับแก้ไข

ฉบับนี้ออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2552 มีการแก้ไขภาพปกอัลบั้มเล็กน้อย โดยมีการนำเพลง "LoveGame" "Paparazzi" "Boys Boys Boys" และ "Money Honey" มารีมิกซ์ใหม่ และนำเพลง "Again Again" ออกจากอัลบั้ม รวมทั้งนำเพลง "Startrucks" "Papergangster" และ"I like it rough" เพิ่มเติมเข้ามา

รายชื่อเพลง
ลำดับชื่อเพลงทำนองยาว
1."Just Dance" (featuring Colby O'Donis)Lady Gaga, RedOne, Akon4:01
2."LoveGame"Lady Gaga, RedOne3:36
3."Paparazzi"Lady Gaga, Rob Fusari3:28
4."Poker Face"Lady Gaga, RedOne3:57
5."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)"Lady Gaga, Martin Kierszenbaum2:55
6."Beautiful, Dirty, Rich"Lady Gaga, Fusari2:52
7."The Fame"Lady Gaga, Kierszenbaum3:42
8."Money Honey"Lady Gaga, RedOne, Bilal Hajji2:50
9."Starstruck" (featuring Space Cowboy and Flo Rida)Lady Gaga, Kierszenbaum, Space Cowboy, Flo Rida3:37
10."Boys Boys Boys"Lady Gaga, RedOne3:22
11."Paper Gangsta"Lady Gaga, RedOne4:23
12."Brown Eyes"Lady Gaga, Fusari4:03
13."I Like It Rough"Lady Gaga, Kierszenbaum3:22
14."Summerboy"Lady Gaga, Brian Kierulf, Josh Schwartz4:13
15."Disco Heaven" (International bonus track)Lady Gaga, Fusari, Tom Kafafian3:41
16."Retro Dance Freak" (Australian bonus track)Lady Gaga, Fusari3:22
เพลงพิเศษฉบับญี่ปุ่น
ลำดับชื่อเพลงทำนองยาว
16."Again Again"Lady Gaga, Fusari3:04
17."Retro Dance Freak"Lady Gaga, Fusari3:22

ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการออกจำหน่ายฉบับซีดี/ดีวีดีในญี่ปุ่น ซึ่งดีวีดีประกอบไปด้วยวิดีโอเพลง "Just Dance", "Poker Face", "Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)", "LoveGame" และ "Paparazzi"

German deluxe edition bonus tracks
ลำดับชื่อเพลงทำนองยาว
16."Poker Face" (Piano & Voice Version- Live)Lady Gaga, RedOne3:38
17."Just Dance" (Stripped Down Version - Live)Lady Gaga, RedOne, Akon2:06
18."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)" (Electric Piano & Human Beat Box Version - Live)Lady Gaga, Martin Kierszenbaum3:03
19."Again Again"Lady Gaga3:04

ฉบับนี้ยังบรรจุเพลงพิเศษ 3 เพลงจาก The Cherrytree Sessions

ฉบับสหราชอาณาจักรและไอริช

ออกวางจำหน่ายใน ค.ศ. 2009 ในฉบับสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ประกอบด้วยเพลงทั้งหมดจากฉบับแก้ไขและฉบับมาตรฐาน ที่มีทั้ง 3 เพลงของฉบับแก้ไข และรวมถึงเพลง "อะเกนอะเกน" ที่ได้ถูกตัดออกไปจากฉบับแก้ไข เช่นเดียวกับเพลง "ดิสโกเฮฟเวน" ที่ไม่ได้รวมอยู่ในทั้ง 2 ฉบับ ก็ปรากฏในชุดนี้ การเรียนลำดับเพลงมีความแตกต่างจากฉบับอื่น ๆ

รายชื่อเพลง
ลำดับชื่อเพลงทำนองยาว
1."Just Dance" (featuring Colby O'Donis)Lady Gaga, RedOne, Akon4:01
2."LoveGame"Lady Gaga, RedOne3:36
3."Paparazzi"Lady Gaga, Rob Fusari3:28
4."Poker Face"Lady Gaga, RedOne3:57
5."I Like It Rough"Lady Gaga, Kierszenbaum3:22
6."Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)"Lady Gaga, Martin Kierszenbaum2:55
7."Starstruck" (featuring Space Cowboy and Flo Rida)Lady Gaga, Kierszenbaum, Space Cowboy, Flo Rida3:37
8."Beautiful, Dirty, Rich"Lady Gaga, Fusari2:52
9."The Fame"Lady Gaga, Kierszenbaum3:42
10."Money Honey"Lady Gaga, RedOne, Bilal Hajji2:50
11."Boys Boys Boys"Lady Gaga, RedOne3:20
12."Paper Gangsta"Lady Gaga, RedOne4:23
13."Brown Eyes"Lady Gaga, Fusari4:03
14."Summerboy"Lady Gaga, Brian Kierulf, Josh Schwartz4:13
15."Disco Heaven" (bonus track)Lady Gaga, Fusari, Tom Kafafian3:41
16."Again Again" (bonus track)Lady Gaga, Fusari3:04
17."LoveGame (Space Cowboy Remix)" (enhanced CD bonus track)Lady Gaga, Space Cowboy3:07

คณะผู้สร้างอัลบั้ม

ชาร์ต, ยอดจำหน่าย และการสืบตำแหน่ง

ยอดจำหน่าย

ประเทศรางวัล
(ยอดจำหน่าย)
Australia3× Platinum[34]
AustriaPlatinum[81]
BelgiumPlatinum[82]
BrazilGold[83]
Canada3× Platinum[29]
DenmarkPlatinum[84]
EuropePlatinum[85]
FinlandGold[86]
GermanyPlatinum[87]
HungaryGold[88]
JapanGold[89]
New Zealand2× Platinum[31]
PolandPlatinum[90]
RussiaPlatinum[91]
SwitzerlandPlatinum[92]
United StatesPlatinum[25]

การสืบตำแหน่ง

ก่อนหน้าเดอะเฟมถัดไป
คาลา โดย M.I.A.
บิลบอร์ด ชาร์ตอัลบั้มอิเล็กทรอนิกส์ อัลบั้มอันดับหนึ่ง
(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 17 มกราคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่หนึ่ง)
14 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สอง)
21 มีนาคม - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สาม)
16 พฤษภาคม - 5 กันยายน พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สี่)
19 กันยายน - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ห้า)
5 ธันวาคม - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่หก))
สลัมดอกมิลเลียแนร์ โดย เอ.อาร์.ราห์มัน
สลัมดอกมิลเลียแนร์ (อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์)
ดาร์กฮอร์ส โดย นิกเกิลแบ็กชาร์ตอัลบั้มแคนาดา อัลบั้มอันดับหนึ่ง
(11 มกราคม - 18 มกราคม พ.ศ. 2552)
ดาร์กฮอร์ส โดย นิกเกิลแบ็ก
โนไลน์ออนเดอะฮอไรซัน โดย บรู๊ซ สปริงทีน
ซองส์ฟอร์มายมาเธอร์ โดย โรนัน คีตติง
อ็อกฮาน ควิกก์ โดย อ็อกฮาน ควิกก์
ชาร์ตอัลบั้มไอริช อัลบั้มอันดับหนึ่ง
(12 กุมภาพันธ์ - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่หนึ่ง)
20 มีนาคม - 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สอง)
2 เมษายน - 9 เมษายน พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สาม)
16 เมษายน - 23 เมษายน พ.ศ. 2552 (ครั้งที่สี่))
บลูไลต์สออนเดอะรันเวย์ โดย Bell X1
ซองส์ฟอร์มายมาเธอร์ โดย โรนัน คีตติง
อ็อกฮาน ควิกก์ โดย อ็อกฮาน ควิกก์
ลิสเซ่น โดย คริสตี้ มูร์
ซองส์ฟอร์มายมาเธอร์ โดย โรนัน คีตติง
ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร อัลบั้มอันดับหนึ่ง
(5 เมษายน - 26 เมษายน พ.ศ. 2552)
ทูเกตเตอร์ธรูไลฟ์ โดย บอบ ไดย์แลน

ประวัติการจำหน่าย

ประเทศออกจำหน่ายรูปแบบค่ายเพลง
แคนาดา19 สิงหาคม พ.ศ. 2551ซีดี, LP, ดิจิทัลดาน์โหลดยูนิเวอร์ซัลมิวสิกกรุ๊ป
ออสเตรเลีย5 กันยายน พ.ศ. 2551[93]ซีดี, ดิจิทัลดาวน์โหลด (ฉบับมาตรฐาน)
28 ตุลาคม พ.ศ. 2551[94]ซีดี, ดิจิทัลดาวน์โหลด (ฉบับสากล)
สหรัฐอเมริกา28 ตุลาคม พ.ศ. 2551ซีดี, LP, ดิจอตอลดาวน์โหลดสตรีมไลน์, คอนไลฟ์, อินเตอร์สโคป, เชอร์รีทรี
อิตาลี31 ตุลาคม พ.ศ. 2551[95]ซีดี, ดิจิทัลดาวน์โหลด (ฉบับมาตรฐานยูนิเวอร์ซัลมิวสิกกรุ๊ป
30 มกราคม พ.ศ. 2552[96]ซีดี, ดิจิทัลดาวน์โหลด (ฉบับสากล)
เยอรมนี2 ธันวาคม พ.ศ. 2551[97]ซีดี, ดิจิทัลดาวน์โหลด
สหราชอาณาจักร12 มกราคม พ.ศ. 2552[98][99][100]โพลีดอร์
สเปน24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[101]ยูนิเวอร์ซัลมิวสิกกรุ๊ป
บราซิล31 มีนาคม พ.ศ. 2552[102]ซีดี
จีน4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[103]
ญี่ปุ่น20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[104]
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[105][106][107]ซีดี, ดีวีดี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร