เบียร์ชิงเต่า

เบียร์ชิงเต่า (อังกฤษ: Tsingtao, จีน: 青島啤酒廠) เป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองชิงเต่า ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2506 ได้รับยกย่องให้เป็นเบียร์แห่งชาติยี่ห้อเดียวของจีน[1]

โลโก้เบียร์ชิงเต่า


โรงเบียร์ชิงเต่า

โรงงานผลิตเบียร์นี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2446 มีการลงทุน 400,000 มาร์ค ใช้ชื่อว่า บริษัทเบียร์เจอมานิสเชส (Germanisches) แห่งเมืองชิงเต่า จำกัด และใช้เทคโนโลยีการหมักบ่มและวัตถุดิบจากประเทศเยอรมัน แต่หลังจากดำเนินไปได้ 13 ปี ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โรงงานผลิตเบียร์แห่งนี้จึงถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของทหารญี่ปุ่นอีก 29 ปี และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานผลิตเบียร์ไดนิปปอน คอร์เปอเรชั่น” หลังจากนั้นเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โรงงานแห่งหนึ่งก็ตกอยู่ในมือของพรรคก๊กมินตั๋ง กระทั่ง 2 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เมื่อทหารกองทัพปลดปล่อยแห่งพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะ และยึดโรงเบียร์แห่งนี้เป็นวิสาหกิจของรัฐอย่างเต็มตัว ซึ่งมีกิจการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2502 ศักยภาพทางการผลิตก็เริ่มทะลุ 10,000 ตัน

ในปี พ.ศ. 2536 โรงงานผลิตเบียร์แห่งนี้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเบียร์ชิงเต่าจำกัด และเข้าสู่ตลาดทุนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง และเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(WTO) เบียร์ชิงเต่าก็ได้เป็นพันธมิตรกับอันเฮาเซอร์ บุช ผู้ผลิตเบียร์ บัดไวเซอร์

เวปไซท์ ประจำประเทศไทย www.facebook.com/tsingtaothai ผู้ผลิต คนสักคนในโลกนี้

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร