เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (จีนตัวย่อ: 中华民国国歌; จีนตัวเต็ม: 中華民國國歌; พินอิน: Zhōnghuá Míngúo gúogē, จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน[1] เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน

Zhōnghuá Míngúo gúogē
จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ
คำแปล: เพลงชาติสาธารณรัฐจีน
中華民國國歌 (中华民国国歌)
สุนทรพจน์เนื่องในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวังปู
ลายมือของ ดร. ซุนยัดเซ็น
ชื่ออื่นซานหมินจูอี้ (San Min Chu-i)
เนื้อร้องจากสุนทรพจน์ของ ดร. ซุนยัดเซ็น, ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467)
ทำนองเฉิงเหมาหยุน, ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471)
รับไปใช้พ.ศ. 2473
ตัวอย่างเสียง
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (ทำนอง)

เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" (จีนตัวย่อ: 三民主义; จีนตัวเต็ม: 三民主義; พินอิน: Sān Mín Zhǔyì; เวด-ไจลส์: San Min Chu-i) อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ประวัติ

ซุน ยัดเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และเจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ในปี ค.ศ.1924

เนื้อความในเพลงชาติสาธารณรัฐจีนเป็นผลงานร่วมกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง 4 คน ซึ่งได้แก่

  • หู ฮั่นหมิน (胡漢民 Hú Hànmín)
  • ไต้ จี้เถา (戴季陶; Dài Jìtáo) หรือในอีกชื่อ คือ ไต้ ฉวนเซี่ยน (戴傳賢; Dài Chúanxían)
  • เหลียว จงไข่ (廖仲愷 Liáo Zhōngkǎi)
  • เซ่า หยวนชง (邵元沖 Shào Yuánchōng)

เนื้อความดังกล่าวได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 ในฐานะสุนทรพจน์พิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ของ ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง

หลังพรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกเป็นขุนศึก อีกทั้งโค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยางอันเป็นรัฐบาลขุนศึกได้สำเร็จ พรรคก็ได้เลือกเอาสุนทรพจน์นี้เป็นบทร้องของเพลงประจำพรรค พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้สาธารณชนเข้าร่วมการประกวดทำนองเพลงสำหรับใช้เป็นเพลงชาติ

เฉิง เหมาหยวิน (程懋筠; Chéng Màoyún) นักประพันธ์ได้รวบรวมผลงานเพลงชาติที่แต่งก่อนหน้านี้ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่มาเรียบเรียงทำนองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยแรงศรัทธาต่อระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ เพลงชาติสาธารณรัฐจีนจึงถูกแต่งเสร็จภายในคืนเดียว จนในที่สุดผลงานของเฉิงจึงเป็นผลงานที่ชนะเลิศการประกวดจากผลงานที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 139 ผลงาน

ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งจำนวนมากได้เสนอให้ใช้สุนทรพจน์ของ ดร. ซุน ยัดเซ็น เป็นบทร้องสำหรับเพลงชาติ และสืบเนื่องจากได้มีการคัดค้านเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทำให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขและค้นคว้าเพลงชาติ (國歌編製研究委員會) ขึ้น ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ได้รับรองเนื้อเพลงประจำพรรคก๊กมินตั๋งใช้เป็นเพลงชาติได้ คณะกรรมาธิการกลาง (中央常務委員會) ได้ผ่านความเห็นชอบการเสนอเพลงชาติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1937 และต่อมาในปี ค.ศ. 1943 เพลง "หลักลัทธิไตรราษฎร์" จึงได้เป็นเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ

บทร้อง

โน้ตเพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ภาษาจีน

อักษรจีนตัวเต็มอักษรจีนตัวย่อคำแปล

三民主義,吾黨所宗;
以建民國,以進大同。
咨爾多士,為民前鋒;
夙夜匪懈,主義是從。
矢勤矢勇,必信必忠;
一心一德,貫徹始終。

三民主义,吾党所宗;
以建民国,以进大同。
咨尔多士,为民前锋;
夙夜匪懈,主义是从。
矢勤矢勇,必信必忠;
一心一德,贯彻始终。

สามหลักการแห่งประชาชน, รากฐานพรรคของเรา (ก๊กมินตั๋ง)
เราใช้หลักการนี้สร้างสาธารณรัฐขึ้นมา, จึงได้ซึ่งความบรมสุขเกษม
เหล่านักรบทั้งปวงเอ๋ย, จงเข้าสู่แนวหน้าเพื่อประชาชนเถิด
เช้าค่ำมิได้หยุดพัก, จงกระทำตามหลักการนี้
ปฏิญาณตนที่จะพากเพียรและกล้าหาญ, จักถือความสัตย์ซื่อ จักถือความภักดี;
ด้วยใจหนึ่งเดียว คุณธรรมหนึ่งเดียว, จักนำพาปวงชนจนตราบอวสานเอย.

ถอดเสียง

ถอดเสียงระบบเวด-ไจลส์พินอิน

San-min-chu-i, Wu-tang so tsung;
i-chien min-kuo, i-chin ta-t'ung.
Tzu erh to-shih, wei min ch'ien-feng;
su-yeh fei-hsieh, chu-i shih ts'ung.
Shih ch'in shih yung, pi hsin pi chung;
i-hsin i-te, kuan-ch'e shih-chung.

Sānmín zhǔyì, wú dǎng suǒ zōng;
Yǐ jiàn Mínguó, yǐ jìn dàtóng.
Zī ěr duōshì, wèi mín qiánfēng;
Sùyè fěi xiè, zhǔyì shì cóng.
Shǐ qín shǐ yǒng, bì xìn bì zhōng;
Yì xīn yì dé, guànchè shǐ zhōng.

อักษรจีนตัวเต็มอักษรจีนตัวย่อ
(ถอดเสียงเป็นอักษรไทย)

ㄙㄢㄇㄧㄣˊㄓㄨˇㄧˋㄨˊㄉㄤˇㄙㄨㄛˇㄗㄨㄥ
ㄧˇㄐㄧㄢˋㄇㄧㄣˊㄍㄨㄛˊㄧˇㄐㄧㄣˋㄉㄚˋㄊㄨㄥˊ
ㄦˇㄉㄨㄛㄕˋㄨㄟˋㄇㄧㄣˊㄑㄧㄢˊㄈㄥ
ㄙㄨˋㄧㄝˋㄈㄟˇㄒㄧㄝˋㄓㄨˇㄧˋㄕˋㄘㄨㄥˊ
ㄕˇㄑㄧㄣˊㄕˇㄩㄥˇㄅㄧˋㄒㄧㄣˋㄅㄧˋㄓㄨㄥ
ㄧˋㄒㄧㄣㄧˋㄉㄜˊㄍㄨㄢˋㄔㄜˋㄕˇㄓㄨㄥ

三民(ซานหมิน)主义(จู่อี้)(อู่)(ตาง)(ซฺว่อ)(ซง)
(อี่)(เจี่ยน)民国(หมินกั๋ว)(อี่)(จิ้น)大同(ต้าถง)
(ซือ)(เอ่อร์)多士(ตัวชื่อ)(เหว่ย)(หมิน)前锋(เฉียนเฟิง)
夙夜(ซู่เย่)(เฟ่ย์)(เซีย)主义(จู่อี้)(ชือ)(ฉง)
(ซือ)(ฉิน)(ซือ)(ยง)(ปี้)(ซิน)(ปี้)(จง)
(อี้)(ซิน)(อี้)(เตอ)贯彻(ก่วนเช่อ)(ซือ)(จง)

อักษรแทนเสียง (จู้อินฝูเฮ่า)

ㄙㄢ ㄇㄧㄣˊ ㄓㄨˇ ㄧˋ, ㄨˊ ㄉㄤˇ ㄙㄨㄛˇ ㄗㄨㄥ;
ㄧˇ ㄐㄧㄢˋ ㄇㄧㄣˊ ㄍㄨㄛˊ, ㄧˇ ㄐㄧㄣˋ ㄉㄚˋ ㄊㄨㄥˊ。
ㄗ ㄦˇ ㄉㄨㄛ ㄕˋ, ㄨㄟˋ ㄇㄧㄣˊ ㄑㄧㄢˊ ㄈㄥ;
ㄙㄨˋ ㄧㄝˋ ㄈㄟˇ ㄒㄧㄝˋ, ㄓㄨˇ ㄧˋ ㄕˋ ㄘㄨㄥˊ。
ㄕˇ ㄑㄧㄣˊ ㄕˇ ㄩㄥˇ, ㄅㄧˋ ㄒㄧㄣˋ ㄅㄧˋ ㄓㄨㄥ;
ㄧˋ ㄒㄧㄣ ㄧˋ ㄉㄜˊ, ㄍㄨㄢˋ ㄔㄜˋ ㄕˇ ㄓㄨㄥ。

บทร้องที่ปรากฏในที่นี้ใช้อักษรจีนตัวเต็มหรืออักษรจีนแบบเดิม ยกตัวอย่างเช่น

  • ěr (爾) มีความหมายว่า "คุณ, ท่าน, เธอ" โดยเป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ (ซึ่งแตกต่างจากภาษาจีนปัจจุบัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งในบริบทนี้ใช้ในความหมายพหูพจน์
  • fěi (匪) เป็นคำพ้องความหมายกับคำว่า 不 (bù) ซึ่งแปลว่า "ไม่"
  • zī (咨) เป็นคำอุทานที่ใช้ในภาษาจีนสมัยเก่า ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้ในภาษาจีนสมัยใหม่

ในประเด็นนี้ เพลงชาติของสาธารณรัฐจีนจึงแสดงออกถึงความแตกต่างจากเพลง "มาร์ชทหารอาสา" ของฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นภายหลังไม่กี่ปีด้วยอักษรจีนย่อหรืออักษรจีนสมัยใหม่ที่ใช้ทั่วไปในทุกวันนี้

เช่นเดียวกับการที่ถูกเขียนขึ้นด้วยอักษรจีนอย่างเก่า บทเพลงชาติสาธารณรัฐจีนยังดำเนินตามขนบทางกวีตามแบบจีนดั้งเดิมด้วย รูปแบบของบทเพลงเน้นใช้บทกวีแบบสี่ตัวอักษร (四言詩 - four-character poem) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ร้อยแก้วแบบสัมผัสสี่อักษร (四言韻文 - four-character rhymed prose) ซึ่งปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว อักษรตัวสุดท้ายในแต่ละบาทของบทร้องนี้ลงท้ายด้วยการสัมผัสเสียง ōng หรือเสียง ēng ซึ่งมีค่าเท่ากันในภาษาจีนโบราณ ด้วยธรรมชาติของบทกวีที่ต้องมีเนื้อหาสั้น ได้ใจความ และรัดกุม ทำให้บางคำในบทร้องนี้มีการแปลความหมายออกแตกต่างกัน ดังปรากฏในคำแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง