เลฟ คาเมเนฟ

เลฟ โบรีโซวิช คาเมเนฟ[a] (นามแรกเกิด โรเซนเฟล์ด;[b] 18 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 6 กรกฎาคม] ค.ศ. 1883 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1936) เป็นนักปฏิวัติบอลเชวิคและหนึ่งในนักการเมืองคนสำคัญของสหภาพโซเวียต

เลฟ คาเมเนฟ
Лев Каменев
คาเมเนฟ ป.ทศวรรษ 1920
รองประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 – 16 มกราคม ค.ศ. 1926
หัวหน้ารัฐบาล
ผู้อำนวยการสถาบันเลนินแห่งคณะกรรมการกลาง
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม ค.ศ. 1923 – ค.ศ. 1926
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอีวาน สควอร์ซอฟ-สเตปานอฟ
ประธานคณะกรรมการบริหารกลางแห่งรัฐสภาโซเวียตแห่งรัสเซียทั้งปวง
ดำรงตำแหน่ง
9 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917
ก่อนหน้านีโคไล ชเฮอิดเซ
ถัดไปยาคอฟ สเวียร์ดลอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เลโอ โรเซนเฟล์ด

18 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 6 กรกฎาคม] ค.ศ. 1883
มอสโก จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต25 สิงหาคม ค.ศ. 1936(1936-08-25) (53 ปี)
มอสโก รัสเซียโซเวียต สหภาพโซเวียต
สาเหตุการเสียชีวิตการประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุด
สัญชาติโซเวียต
เชื้อชาติรัสเซีย
พรรคการเมือง
คู่สมรส
  • ออลกา บรอนสเตย์น
  • ตาเตียนา เกลโบวา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมอสโก

คาเมเนฟเกิดที่มอสโกในครอบครัวที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองปฏิวัติเมื่อทศวรรษ 1870 เขาเข้าร่วมพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP) ใน ค.ศ. 1901 และดำเนินกิจกรรมปฏิวัติในมอสโกและเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เขามีส่วนร่วมในระหว่างการปฏิวัติล้มเหลว ค.ศ. 1905 และต่อมาจึงย้ายไปต่างประเทศเมื่อ ค.ศ. 1908 คาเมเนฟกลายเป็นสมาชิกเริ่มแรกของบอลเชวิคและเป็นผู้ร่วมงานคนสนิทของวลาดีมีร์ เลนิน จากนั้นใน ค.ศ. 1914 เขาถูกจับกุมหลังเดินทางกลับมาเมืองหลวงและถูกเนรเทศไปยังไซบีเรีย เขาเดินทางกลับมาเซนต์ปีเตอส์เบิร์กอีกครั้งภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งส่งผลให้ระบอบราชาธิปไตยซาร์เป็นอันสิ้นสุด ใน ค.ศ. 1917 เขาดำรงตำแหน่งซึ่งเปรียบได้กับประมุขแห่งรัฐคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย คาเมเนฟไม่เห็นด้วยกับกลยุทธ์ของเลนินในการจราจลด้วยอาวุธระหว่างการปฏิวัติเดือนตุลาคม แต่เขาก็ยังคงอยู่ในตําแหน่งที่มีอํานาจหลังจากการล่มสลายของรัฐบาลชั่วคราว ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1919 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกเต็มของโปลิตบูโรชุดแรก

ในช่วงการป่วยระยะสุดท้ายของเลนินระหว่าง ค.ศ. 1923–1924 คาเมเนฟจึงรักษาการตำแหน่งผู้นำสหภาพโซเวียต โดยเขาได้ก่อตั้งกลุ่มตรอยกา (troika) ร่วมกับกรีโกรี ซีโนเวียฟ และโจเซฟ สตาลิน ทำให้เลออน ทรอตสกี เริ่มเสื่อมอำนาจลง ในเวลาต่อมาสตาลินหันหลังให้กับอดีตพันธมิตรของเขาและขับไล่คาเมเนฟออกจากตําแหน่งผู้นําของโซเวียต คาเมเนฟและซีโนเวียฟจึงให้การสนับสนุนทรอตสกีในภายหลังและจัดตั้งแนวร่วมฝ่ายค้านขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1926–1927 เขาถูกขับออกจากพรรคถึงสามครั้งและถูกจับกุมใน ค.ศ. 1935 ภายหลังการลอบสังหารเซียร์เกย์ คีรอฟ และกลายเป็นหัวหน้าจำเลยในการพิจารณาคดี 16 จำเลย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกวาดล้างใหญ่ในสหภาพโซเวียต คาเมเนฟถูกตัดสินว่ามีความผิดในระหว่างการพิจารณาคดี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1936 เขาบังเอิญเสียชีวิตในวันเดียวกับเซียร์เกย์ คาเมเนฟ ซึ่งทั้งสองคนไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด

หมายเหตุ

หนังสืออ่านเพิ่ม

เป็นภาษาอังกฤษ

  • Corney, Frederick C., ed. Trotsky's Challenge: The "Literary Discussion" of 1924 and the Fight for the Bolshevik Revolution. (Chicago: Haymarket Books, 2017).
  • Debo, Richard Kent. "Litvinov and Kamenev—Ambassadors Extraordinary: The Problem of Soviet Representation Abroad." Slavic Review 34.3 (1975): 463–482. online
  • Isaac Deutscher. Stalin: a Political Biography (1949)
  • Isaac Deutscher. The Prophet Armed: Trotsky, 1879–1921 (1954)
  • Isaac Deutscher. The Prophet Unarmed: Trotsky, 1921–1929 (1959)
  • Haupt, Georges, and Jean-Jacques Marie. Makers of the Russian Revolution: Biographies (Routledge, 2017).
  • Kotkin, Stephen. Stalin: Paradoxes of Power, 1878–1928 (2015) excerpt
  • Lih, Lars T. "Fully Armed: Kamenev and Pravda in March 1917." The NEP Era: Soviet Russia 1921–1928, 8 (2014), 55–68(2014). online
  • Pipes, Richard. Russia Under the Bolshevik Regime (2011)
  • Pogorelskin, Alexis. "Kamenev and the Peasant Question: The Turn to Opposition, 1924–1925." Russian History 27.4 (2000): 381–395. online
  • Rabinowitch, Alexander. Prelude to Revolution: The Petrograd Bolsheviks and the July 1917 Uprising (1968).
  • Volkogonov, Dmitri. Lenin. A New Biography (1994),

ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

  • Ulrich, Jürg: Kamenew: Der gemäßigte Bolschewik. Das kollektive Denken im Umfeld Lenins. VSA Verlag, Hamburg 2006, ISBN 3-89965-206-1.
  • "Unpersonen": Wer waren sie wirklich? Bucharin, Rykow, Trotzki, Sinowjew, Kamenew. Dietz Verlag, Berlin 1990, ISBN 3-320-01547-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าเลฟ คาเมเนฟถัดไป
นีโคไล ชเฮอิดเซ ประธานคณะกรรมการบริหารกลางแห่งรัฐสภาโซเวียตแห่งรัสเซียทั้งปวง
(9 – 21 พฤศจิกายน 1917)
ยาคอฟ สเวียร์ดลอฟ
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง