เอ็มแรป

รถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี (อังกฤษ: Mine-Resistant Ambush Protected) หรือ เอ็มแรป (อังกฤษ: MRAP; /ˈɛmræp/ em-rap) เป็นคำที่ใช้เรียกยานพาหนะทางยุทธวิธีขนาดเบาของกองทัพสหรัฐ ซึ่งผลิตขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเอ็มแรป ที่ออกแบบมาให้ทนต่อการโจมตีของระเบิดแสวงเครื่อง (IED) และการซุ่มโจมตีโดยเฉพาะ[1] โครงการเอ็มแรปของกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2007 เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของระเบิดแสวงเครื่องในช่วงสงครามอิรัก[2] ตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2012 โครงการเอ็มแรปได้กรีธาพลยานพาหนะดังกล่าวมากกว่า 12,000 คันในสงครามในอิรัก ตลอดจนสงครามในอัฟกานิสถาน

คูการ์ เอชอี เอ็มแรป ขณะทดสอบในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ด้วยทุ่นระเบิด

การผลิตยานพาหนะเอ็มแรปได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2012[1] ตามด้วยยานพาหนะเอ็มแรปสำหรับทุกสภาพภูมิประเทศ (เอ็ม-เอทีวี) โดยใน ค.ศ. 2015 ออชคอชคอร์ปอเรชันได้รับสัญญาให้สร้างออชคอช แอล-เอทีวี ในฐานะยานยนต์เบาทางยุทธวิธีร่วม ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ทนทานต่อทุ่นระเบิดที่เบากว่า เพื่อแทนที่ฮัมวีในบทบาทการรบ และเสริมเอ็ม-เอทีวี[3]

ประวัติ

ยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อต้านทานทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ ได้รับการแนะนำครั้งแรกในยานพาหนะพิเศษในคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยกองทัพบกโรดีเชีย และได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยผู้ผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ โดยเริ่มใน ค.ศ. 1974 ด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) ฮิปโป[4][5] ขั้นตอนแรกในกองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้เป็นบอสวาร์ก ซึ่งเป็นอูนิมอกที่ติดตั้งถังเบี่ยงเบนทุ่นระเบิดบนแชสซีเพื่อปกป้องลูกเรือ ต่อมาคือยานพาหนะที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะรุ่นแรก ได้แก่ ฮิปโปและประเภทเบาอื่น ๆ พวกมันมีตัวถังรูปตัววีหุ้มเกราะโดยพื้นฐานแล้วติดตั้งบนแชสซีรถบรรทุก ส่วนรุ่นต่อไปเป็นตัวแทนโดยบัฟเฟล ซึ่งเป็นแชสซีอูนิมอกที่มีห้องคนขับที่มีการป้องกันทุ่นระเบิด และห้องลูกเรือที่มีการป้องกันทุ่นระเบิดติดตั้งอยู่ ยานพาหนะรุ่นแรก ๆ เหล่านี้ทำงานได้ดี แต่แชสซีนั้นบรรทุกเกินพิกัดและไม่คล่องตัวเมื่อขับทางขรุขระ ส่วนรถหุ้มเกราะทหารราบแคสเปอร์ได้รับการพัฒนาสำหรักองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้หลัง ค.ศ. 1980[6] นี่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการเอ็มแรปอเมริกัน และพื้นฐานสำหรับยานพาหนะบางรายการของโครงการ[7][8][9]

ใน ค.ศ. 2004 ทีเอสจี/เอฟพีไอ คูการ์ได้รับการออกแบบโดยทีมสหรัฐ ที่นำโดยสหราชอาณาจักร ตามข้อกำหนดของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดตัวโครงการเอ็มแรป[10][11] เนื่องจากในสหรัฐมีโรงงานเหล็กกล้า "คุณภาพเกราะ" เพียงสองแห่งเท่านั้น ได้แก่ บริษัทออริกอนสตีลมิลส์ และบริษัทอินเตอร์เนชันแนลสตีลกรุป (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอาร์เซลอร์มิททาลของอินเดีย) ซึ่งมีคุณสมบัติในการผลิตเกราะเหล็กกล้าสำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โดยได้เจรจาเพื่อให้แน่ใจว่ามีเหล็กเพียงพอเพื่อให้ทันต่อการผลิต[12]

โครงการเอ็มแรป

โครงการเอ็มแรปของกองทัพสหรัฐ ได้รับแจ้งจากการบาดเจ็บล้มตายของสหรัฐจากระเบิดแสวงเครื่องในช่วงสงครามอิรัก[2]

เหล่าเฟิสต์แมกซ์โปรที่ออกสนามในประเทศอิรัก
รถคันสุดท้ายจากประเทศอิรักได้กลับมายังสหรัฐ ซึ่งรถคันนี้ได้มาถึงท่าเรือโบมอนต์ รัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 และได้รับการขนออกจากเรือเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[13]

มีการออกแบบยานพาหนะจำนวนหนึ่งจากผู้จำหน่ายหลายรายในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเอ็มแรป ยานพาหนะมักจะมีตัวถังรูปตัว "วี" เพื่อเบี่ยงเบนแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่องใต้ตัวรถ ซึ่งจะช่วยปกป้องรถและผู้โดยสาร[14] ทั้งนี้ เอ็มแรปมีน้ำหนัก 14 ถึง 18 ตัน สูง 9 ฟุต (2.7 เมตร) และมีราคาระหว่าง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[14][15]

บริษัทต่อไปนี้นำเสนอการออกแบบ:

  • อาร์เมอร์โฮลดิงส์ (เข้าซื้อกิจการโดยบีเออี ซิสเต็มส์ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2007)[16]
  • บีเออี ซิสเต็มส์
  • ฟอร์ซโพรเทกชัน อิงก์ (FPI)
  • เจเนอรัลไดนามิกส์แลนด์ซิสเต็มส์ (GDLS)
  • เจเนอรัลเพอร์เพิสวีฮิเคิลส์ (GPV)
  • นาวิสตาร์อินเตอร์เนชันแนลมิลิทรีกรุป (IMG)
  • ออชคอชทรัก
  • โพรเทกเต็ดวีฮิเคิลอินคอร์ปอเรเต็ด (PVI)
  • เท็กซ์ตรอนมารีนแอนด์แลนด์ซิสเต็มส์
ขบวนอาร์จี-33 ที่ติดตั้งระบบสถานีอาวุธควบคุมระยะไกลทั่วไป (CROWS)

โดยมีแผนที่จะรวมสถานีอาวุธระยะไกลอย่างโครวส์ II, เกราะต้านระเบิดเจาะเกราะอย่างแฟรกคิต 6 และระบบต่อต้านพลซุ่มยิงอย่างบูมเมอแรงบนเอ็นแรปจำนวนมากในการรบ[ต้องการอ้างอิง]

หมวดยานพาหนะ

ทหารช่างอเมริกันที่อยู่ข้างกับเอ็มแรปคูการ์ ณ เราะมะฎี ประเทศอิรัก เมื่อ ค.ศ. 2008

ชั้นเอ็มแรปแบ่งออกเป็นสามประเภทตามน้ำหนักและขนาด

หมวดที่หนึ่ง (เอ็มแรป-เอ็มอาร์ยูวี)

อินเตอร์เนชันแนลแมกซ์โปร ซึ่งเป็นเอ็มแรปหมวด 1

รถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิด (MRUV) มีขนาดเล็กกว่าและเบากว่า โดยออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการในเมือง ซึ่งยานพาหนะเอ็มแรปหมวด 1 ที่ได้รับการสั่งซื้อหรือประจำการอยู่ ได้แก่:

  • บีเออี เคแมน ขับเคลื่อน 4 ล้อ – ได้รับการสั่งซื้อ 2,864 คัน[17][18][19]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร