ประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศในทวีปแอฟริกา

แอฟริกาใต้[15] หรือ เซาท์แอฟริกา[15] (อังกฤษ: South Africa) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ หรือ สาธารณรัฐเซาท์แอฟริกา (อังกฤษ: Republic of South Africa: RSA) เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา ล้อมรอบด้วยแนวชายฝั่งยาว 2,798 กิโลเมตร (1,739 ไมล์) ทอดยาวไปตามมหาสมุทรแอตแลนติกใต้และมหาสมุทรอินเดีย อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับประเทศนามิเบีย, บอตสวานา และ ซิมบับเว ทางทิศตะวันออกติดกับโมซัมบิก และ เอสวาตินี และยังมีประเทศเลโซโทตั้งอยู่ภายในประเทศในฐานะดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก แอฟริกาใต้ถือเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้มากที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของโลกเก่า และเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันสองรองจากแทนซาเนีย แอฟริกาใต้เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีชีวนิเวศ พืช และสัตว์ป่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

Republic of South Africa  (อังกฤษ)
ชื่อทางการของประเทศใน 10 ภาษาอื่น ๆ[1]
  • ซูลู:iRiphabhuliki yaseNingizimu Afrika
    สวาตี:iRiphabhulikhi yeNingizimu Afrika
    อาฟรีกานส์:Republiek van Suid-Afrika
    เปดี:Repabliki ya Afrika-Borwa
    ซูทูใต้:Rephaboliki ya Afrika Borwa
    สวันนา:Rephaboliki ya Aforika Borwa
    ซองกา:Riphabliki ya Afrika Dzonga
    โคซา:iRiphablikhi yoMzantsi-Afrika
    เวนดา:Riphabuḽiki ya Afurika Tshipembe
    เอ็นเดเบลีใต้:iRiphabliki yeSewula Afrika
คำขวัญ"ǃke e꞉ ǀxarra ǁke" (ซคัม)
"เอกภาพในความหลากหลาย"
เมืองหลวง
เมืองใหญ่สุดโจฮันเนสเบิร์ก[4]
ภาษาราชการ11 ภาษา[1]
  • อังกฤษ
  • ซูลู
  • สวาตี
  • อาฟรีกานส์
  • เปดี
  • ซูทู
  • สวันนา
  • ซองกา
  • โคซา
  • เวนดา
  • เอ็นเดเบลี
ภาษาที่มีสถานะพิเศษ[5]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2019[6])
  • 80.7% ผิวดำ
  • 8.8% ผิวสี
  • 7.9% ผิวขาว
  • 2.6% เอเชีย
ศาสนา
(2016)[7]
  • 78.0% คริสต์
  • —58.3% โปรเตสแตนต์
  • —19.7% คริสต์นิกายอื่น ๆ
  • 10.9% ไม่มีศาสนา
  • 4.4% ความเชื่อท้องถิ่น
  • 1.6% อิสลาม
  • 1.0% ฮินดู
  • 2.7% อื่น ๆ
  • 1.4% ไม่มั่นใจ
เดมะนิมชาวแอฟริกาใต้
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร
ไซริล รามาโฟซา
• รองประธานาธิบดี
เดวิด มาบูซา
• ประธานสภาแห่งชาติ
อมอส มาซันโด
• ประธานสมัชชาแห่งชาติ
โนซิวิเว มาปิซา-นควากูลา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาแห่งชาติ
สมัชชาแห่งชาติ
เอกราช 
31 พฤษภาคม ค.ศ. 1910
11 ธันวาคม ค.ศ. 1931
• สาธารณรัฐ
31 พฤษภาคม ค.ศ. 1961
17 มิถุนายน ค.ศ. 1991
• เป็นประชาธิปไตย
27 เมษายน ค.ศ. 1994
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997
พื้นที่
• รวม
1,221,037 ตารางกิโลเมตร (471,445 ตารางไมล์) (อันดับที่ 24)
0.380
ประชากร
• 2021 ประมาณ
60,142,978[8] (อันดับที่ 23)
• สำมะโนประชากร 2011
51,770,560[9]: 18 
42.4 ต่อตารางกิโลเมตร (109.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 169)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 862 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 32)
เพิ่มขึ้น 14,239 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 96)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 415 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 33)
เพิ่มขึ้น 6,861 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 89)
จีนี (2014)positive decrease 63.0[11]
สูงมาก
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.709[12]
สูง · อันดับที่ 114
สกุลเงินแรนด์แอฟริกาใต้ (ZAR)
เขตเวลาUTC+2 (SAST)
รูปแบบวันที่รูปแบบสั้น:
  • วว/ดด/ปปปป[13]
  • วว-ดด-ปปปป[14]
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+27
รหัส ISO 3166ZA
โดเมนบนสุด.za

ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 62 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก แผ่นดินของประเทศครอบคลุมพื้นที่ 1,221,037 ตารางกิโลเมตร (471,445 ตารางไมล์) ประเทศแอฟริกาใต้ได้แบ่งเมืองหลวงออกเป็นสามเมืองได้แก่ พริทอเรียซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางในการบริหาร, เคปทาวน์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางนิติบัญญัติและที่ตั้งของรัฐสภา และบลูมฟอนเทน ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือโจฮันเนสเบิร์กซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลสูงสุด กว่า 80% ของประชากรเป็นชาวแอฟริกาผิวดำ[16] ประชากรที่เหลือประกอบด้วยชุมชนชาวยุโรปที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา (ชาวแอฟริกาผิวขาว), ชาวเอเชีย (ชาวแอฟริกาใต้จากอินเดียและจีน) และประชากรที่สืบจากบรรพบุรุษหลากหลายเชื้อชาติ แอฟริกาใต้เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งครอบคลุมวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่หลากหลาย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นจากการที่รัฐธรรมนูญของประเทศยอมรับภาษามากถึง 12 ภาษาในฐานะภาษาราชการ ซึ่งมากเป็นอันดับสี่ของโลก[17] จากรายงานใน ค.ศ. 2011 ภาษาที่ถูกใช้มากที่สุดคือ ภาษาซูลู (22.7%) และ ภาษาโคซา (16.0%)[18] ตามมาด้วยภาษาอาฟรีกานส์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาดัตซ์ และภาษาอังกฤษซึ่งเป็นผลมาจากลัทธิอาณานิคม โดยภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการค้าและสถานที่สาธารณะ

มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ อย่างไรก็ตาม พลเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจนถึง ค.ศ. 1994 นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 การเรียกร้องสิทธิทางสังคมของประชากรผิวสีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา พรรคการเมืองแห่งชาติมีนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1940 การเรียกร้องสิทธิและนโยบายโดยพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา รวมถึงนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวทั้งในและนอกประเทศ เป็นผลให้มีการยกเลิกกฎหมายการเลือกปฏิบัติในทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 มีการยอมรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เป็นตัวแทนทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมมากขึ้น และประเทศได้กลายเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาเต็มรูปแบบ และแบ่งจังหวัดออกเป็นเก้าจังหวัด แอฟริกาใต้มักถูกเรียกว่า "ประเทศสีรุ้ง" เพื่ออธิบายความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศ โดยเฉพาะภายหลังจากการแบ่งแยกสีผิวและเชื้อชาติ[19] จากการรายงานโดยดัชนีประชาธิปไตย แอฟริกาใต้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 51 ของโลก และอันดับ 3 ในทวีปแอฟริกาในแง่คุณภาพของระบบประชาธิปไตยในประเทศ และความเท่าเทียมกันทางสังคม

แอฟริกาใต้เป็นประเทศอำนาจปานกลางของโลก และถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคโดยเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติและกลุ่ม 20[20] แอฟริกาใต้เป็นประเทศกำลังพัฒนา อยู่ในอันดับที่ 109 ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ และอันดับ 7 ในทวีป และยังเป็นประเทศเดียวในทวีปแอฟริกาที่ยอมรับกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน[21] แอฟริกาใต้ได้รับการจัดอันดับโดยธนาคารโลกให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในทวีปหากวัดตามอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากที่สุดในทวีป รวมทั้งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 39 ของโลก[22][23] รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมแร่ธาตุ และการท่องเที่ยว แอฟริกาใต้มีแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกมากที่สุดในทวีป ภายหลังยุคแห่งการถือผิว การพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชากรดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[24] อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมยังเป็นปัญหาสำคัญโดยมีอัตราการว่างงานสูงถึง 40% ใน ค.ศ. 2021[25] ในขณะที่ประชากรกว่า 60% ยังมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน และกว่าหนึ่งในสี่มีรายได้ต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์ต่อวัน[26][27]

นิรุกติศาสตร์

ชื่อ "แอฟริกาใต้" มาจากที่ตั้งของประเทศที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา เมื่อมีการก่อตั้งนั้น ประเทศแอฟริกาใต้จึงได้รับการตั้งชื่อว่า สหภาพแอฟริกาใต้ (Union of South Africa) ในภาษาอังกฤษ และ Unie van Zuid-Afrika ในภาษาดัตช์ ซึ่งสะท้อนถึงการรวมตัวกันของอาณานิคมบริติชทั้ง 4 แห่ง ที่ถูกแยกออกจากกันในก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศในรูปแบบยาวในภาษาอังกฤษคือ "สาธารณรัฐแอฟริกาใต้" (Republic of South Africa) และ Republiek van Suid-Afrika ในภาษาอาฟรีกานส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 เป็นต้นมา ประเทศแอฟริกาใต้จึงมีชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาราชการทั้งหมด 11 ภาษา

ภูมิศาสตร์

ภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา โดยมีแนวชายฝั่งที่ทอดยาวมากกว่า 2,500 กม. (1,553 ไมล์) และตามแนวมหาสมุทร 2 แห่ง (มหาสมุทรแอตแลนติกใต้และมหาสมุทรอินเดีย) ด้วยพื้นที่ 1,219,912 ตารางกิโลเมตร (471,011 ตารางไมล์) แอฟริกาใต้จึงเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 24 ของโลก[28] หากไม่รวมหมู่เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด ประเทศนี้อยู่ระหว่างละติจูด 22° ถึง 35°S และลองจิจูด 16° ถึง 33°E พื้นที่ด้านในของแอฟริกาใต้ประกอบด้วยที่ราบสูงขนาดใหญ่โดยมีระดับความสูงระหว่าง 1,000 ม. (3,300 ฟุต) ถึง 2,100 ม. (6,900 ฟุต) ซึ่งสูงที่สุดในทิศตะวันออกและลาดลงไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ และ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย[29]

พื้นที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูง (ที่ความสูงประมาณ 1,100–1,800 ม. เหนือระดับน้ำทะเล) และที่ราบที่อยู่ติดกันด้านล่าง (ที่ความสูงประมาณ 700–800 ม. เหนือระดับน้ำทะเล) เรียกว่า Great Karoo ซึ่งประกอบด้วยป่าไม้พุ่ม ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือและที่สูงที่สุดของที่ราบสูงเรียกว่าไฮเวลด์ พื้นที่เป็นที่ตั้งของพื้นที่เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนที่มากของประเทศ และมีพื้นที่ชานเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของไฮเวลด์ จากเส้นละติจูดประมาณ 25° 30' ใต้ ที่ราบสูงลาดลงสู่บุชเวลด์ ซึ่งท้ายที่สุดจะเป็นทางไปสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำลิมโปโปหรือโลว์เวลด์[30]

ดราเคนส์เบิร์ก ผาชันบริเวณตะวันออกของประเทศ ถูกสร้างเป็นชายแดนคั่นระหว่างแอฟริกาใต้กับเลโซโท
ฤดูใบไม้ผลิในแอฟริกาใต้

บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ คาบสมุทรเคปก่อตัวใต้สุดของแนวชายฝั่งซึ่งติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและไปสิ้นสุดที่ชายแดนของประเทศติดกับนามิเบียที่แม่น้ำออเรนจ์ คาบสมุทรเคปมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน และพื้นที่โดยรอบเป็นเพียงส่วนเดียวของแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราที่ได้รับฝนตกส่วนใหญ่ในฤดูหนาว แนวชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรเคปล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก และแนวของเทือกเขาเคปโฟลด์ที่ทอดยาวจากเหนือ-ใต้ไปทางทิศตะวันออก เทือกเขาเคปโฟลด์เคลื่อนตัวออกไปที่เส้นละติจูด 32° ใต้ หลังจากนั้นแนวชันใหญ่จะทอดตัวเข้าสู่ที่ราบชายฝั่ง

แอฟริกาใต้ยังครอบครองพื้นที่นอกชายฝั่งแห่งหนึ่ง ได้แก่ หมู่เกาะเล็ก ๆ ทางใต้ของทวีปแอนตาร์กติกของหมู่เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด ซึ่งประกอบด้วยเกาะแมเรียน (290 ตารางกิโลเมตร หรือ 110 ตารางไมล์) และเกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด (45 ตารางกิโลเมตร หรือ 17 ตารางไมล์)

สภาพภูมิอากาศ

แอฟริกาใต้มีสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น เนื่องจากถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียทั้งสามด้าน และเนื่องจากตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ นอกจากนี้ ระดับความสูงเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปทางเหนือ (ไปทางเส้นศูนย์สูตร) ​​และไกลออกไป ภูมิประเทศและอิทธิพลมหาสมุทรที่หลากหลายนี้ส่งผลให้เกิดเขตภูมิอากาศที่หลากหลาย เขตภูมิอากาศมีตั้งแต่ทะเลทรายสุดขั้วทางตอนใต้ของนามิบทางตะวันตกเฉียงเหนือสุดไปจนถึงภูมิอากาศกึ่งเขตร้อนอันเขียวชอุ่มทางตะวันออกตามแนวชายแดนติดกับโมซัมบิกและมหาสมุทรอินเดีย ฤดูหนาวในแอฟริกาใต้เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม

พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้มีสภาพอากาศใกล้เคียงกับแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีฤดูหนาวที่ชื้นและฤดูร้อนที่ร้อนจัด และแห้ง เป็นที่ตั้งของฟินบอสอันโด่งดังซึ่งประกอบด้วยป่าไม้พุ่ม บริเวณนี้ผลิตไวน์ได้มากในแอฟริกาใต้ และขึ้นชื่อในเรื่องลมที่พัดเป็นระยะ ๆ เกือบตลอดทั้งปี ลมที่รุนแรงทำให้พัดผ่านแหลมกู๊ดโฮปทำให้เกิดเรืออับปางจำนวนมาก ไกลออกไปทางตะวันออกบนชายฝั่งทางใต้ ปริมาณน้ำฝนจะกระจายอย่างสม่ำเสมอมากขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้เกิดภูมิทัศน์สีเขียว ปริมาณน้ำฝนรายปีจะเพิ่มขึ้นทางตอนใต้ของโลว์เวลด์ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ชายฝั่งซึ่งเป็นเขตกึ่งเขตร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกาใต้ส่งผลให้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและเกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน เหตุการณ์สภาพอากาศเฉียบพลันกำลังเป็นปัญหามากขึ้น[31] นี่เป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับประชากรแอฟริกาใต้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อสถานะโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของประเทศ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อชุมชนและระดับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบและด้านต่าง ๆ เริ่มจากคุณภาพอากาศ รูปแบบอุณหภูมิและสภาพอากาศ การเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารและภาวะโรคติดต่อ

ตามแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดทำโดยสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติแห่งแอฟริกาใต้ บางส่วนของแอฟริกาใต้ตอนใต้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1 °C (1.8 °F) ตามแนวชายฝั่งเป็นมากกว่า 4 °C (7.2 °F) ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองที่ร้อนอยู่แล้ว เช่น นอร์เทิร์นเคป ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าภูมิภาคเคปฟลอรัลจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้สัตว์หายากหลายชนิดสูญพันธุ์[32]

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ยีราฟในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์
เสือดาวเพศเมียในเขตอนุรักษ์ซาบี

แอฟริกาใต้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1995 และได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ต่อมาได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติซึ่งได้รับจากอนุสัญญาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2006[33] ประเทศนี้อยู่ในอันดับที่หกจากสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายขนาดใหญ่ของโลก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแอฟริกาใต้แพร่หลายมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ในการรักษาและปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพ[34]

สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบได้ทั่วไป เช่น สิงโต เสือดาวแอฟริกา ชีตาห์ แรดขาว วิลเดอบีสต์เคราขาว ไฮยีนา และยีราฟแอฟริกา สัตว์ป่าในประเทศมีความผูกพันและมีอิทธิพลสูงต่อวิถีชีวิตของคนในประเทศ แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด

หากนับจนถึง ค.ศ. 1945 มีรายงานการพบเชื้อรามากกว่า 4,900 สายพันธุ์ (รวมถึงสายพันธุ์ที่ก่อตัวเป็นไลเคน) ด้วยจำนวนสายพันธุ์พืชที่แตกต่างกันมากกว่า 22,000 ชนิด หรือประมาณ 9% ของพืชที่รู้จักทั้งหมดบนโลก[35] แอฟริกาใต้จึงอุดมไปด้วยความหลากหลายของพืชมากกว่าประเทศอื่น ชีวนิเวศที่แพร่หลายมากที่สุดคือทุ่งหญ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนไฮเวลด์ ซึ่งพืชปกคลุมไปด้วยหญ้าชนิดต่าง ๆ พุ่มไม้เตี้ย และอะคาเซียพืชพรรณกระจัดกระจายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเนื่องจากมีฝนตกน้อย มีพืชอวบน้ำกักเก็บน้ำได้หลายชนิด เช่น ว่านหางจระเข้และยูโฟเบีย ในพื้นที่ ๆ ร้อนและแห้งมาก และจากข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าสากล แอฟริกาใต้เป็นบ้านของสัตว์น้ำประมาณหนึ่งในสามของสายพันธุ์ทั้งหมด หญ้าและหนามสะวันนาค่อย ๆ กลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีการเจริญเติบโตหนาแน่นมากขึ้น

แอฟริกาใต้ได้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจำนวนมากในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการมีจำนวนประชากรมากเกินไป รูปแบบการพัฒนา และการขยายผังเมือง และการทำลายป่าในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศนี้มีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2019 อยู่ที่ 4.94/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 112 ของโลกจาก 172 ประเทศ[36]

ในอดีต เคยมีการค้นพบป่าเขตอบอุ่นดั้งเดิมที่พบโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปกลุ่มแรก ทว่าต่อมาได้ถูกทำลายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์จนเหลือเพียงพื้นที่เล็ก ๆ เท่านั้น

ประวัติศาสตร์

อาณานิคมดัตช์

การรุกรานของบริเตน

สงครามบูร์

ยุทธการที่เนินมาจูบา

สาธารณรัฐบูร์ได้รับชัยชนะจากการรุกรานของอังกฤษในช่วงสงครามบูร์ครั้งที่หนึ่ง (1880-1881) โดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจรซึ่งเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น กองทัพอังกฤษกลับมาพร้อมกับกองกำลังที่มากขึ้น ประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น และกลยุทธ์ใหม่ในสงครามบูร์ครั้งที่สอง (1899-1902) และแม้ว่ากองทัพอังกฤษจะได้รับบาดเจ็บหนักเนื่องจากการสู้รบที่ดุเดือด แต่ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ ผู้หญิงและเด็กชาวบูร์มากกว่า 27,000 คนเสียชีวิตในค่ายกักกันของอังกฤษ[37]

ประชากรในเมืองของแอฟริกาใต้เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ภายหลังความเสียหายจากสงคราม เกษตรกรชาวบูร์ที่มีเชื้อสายดัตช์ได้หนีเข้าไปในเมืองต่างๆ จากดินแดนทรานส์วาลและเสรีรัฐออเรนจ์ และกลายเป็นชนชั้นยากจนในแอฟริกาใต้[38]

จุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกสีผิว

"สำหรับใช้โดยคนผิวขาว" – ป้ายถือผิวซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอาฟรีกานส์

ใน ค.ศ. 1948 พรรคเนชั่นแนล (National Party) ชนะการเลือกตั้ง และได้เริ่มทำการส่งเสริมนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งริเริมมาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์และบริเตน โดยยึดเอาพระราชบัญญัติอินเดียน ของแคนาดาเป็นแบบอย่าง[39] รัฐบาลชาตินิยม ได้จำแนกประชาชนออกเป็นสามเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติทั้งสามจะมีสิทธิและข้อจำกัดต่างกันออกไป ชนกลุ่มน้อยผิวขาว (น้อยกว่า 20% จากประชากรทั้งหมด)[40] ควบคุมประชากรผิวสีซึ่งมีจำนวนมากกว่า การแบ่งแยกสีผิวอย่างถูกต้องตามกฎหมายนี้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การถือผิว ในขณะชาวผิวขาวมีมาตราฐานการครองชีพ สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา สามารถเทียบได้กับชาติตะวันตกโลกที่หนึ่ง ประชากรผิวสีซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศกลับด้อยกว่าในทุกทาง รวมไปถึงรายได้ การศึกษา การเคหะ และอายุคาดเฉลี่ย กฎบัตรเสรีภาพ ซึ่งได้ถูกรับเอามาใช้โดยพันธมิตรคองเกรส ค.ศ. 1955 เรียกร้องถึงสังคมที่ไร้การแบ่งแยกเชื้อชาติ และยุติการเลือกปฏิบัติ


การเมืองการปกครอง

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์แอฟริกาใต้ – ไทย

แอฟริกาใต้

ไทย

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 แอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ และมีเขตอาณาทางการกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[41] และประเทศแอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีความสำคัญที่สุดประเทศหนึ่งสำหรับไทยในทวีปแอฟริกา โดยเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

จุดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นเมื่ออดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา เดินทางเยือนประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2539 ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงถึงจุดสูงสุดของไมตรีจิตรและมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประชาชนของสองประเทศ[42]

แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน

จากการสำรวจของบริษัทนำเที่ยวในแอฟริกาใต้ ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นอันดับ 2 ของชาวแอฟริกาใต้ รองจากประเทศมอริเชียส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวแอฟริกาใต้เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 102,713 คน ซึ่งแอฟริกาใต้ถือเป็นตลาดการท่องเที่ยวของไทยที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา[43]

การแบ่งเขตการปกครอง

9 จังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provines-provinsie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด ได้แก่

จังหวัดเมืองหลวงเมืองใหญ่สุดพื้นที่[44]ประชากร [45]
จังหวัดอีสเทิร์นเคปบิโชพอร์ตเอลิซาเบท168,9666,829,958
จังหวัดฟรีสเตตบลูมฟอนเทนบลูมฟอนเทน129,8252,759,644
จังหวัดเคาเต็งโจฮันเนสเบิร์กโจฮันเนสเบิร์ก18,17811,328,203
จังหวัดควาซูลู-นาตัลปีเตอร์มาริตซ์เบิร์กเดอร์บัน94,36110,819,130
จังหวัดลิมโปโปโพโลเควนโพโลเควน125,7545,554,657
จังหวัดพูมาลังกาเนลสไปรต์เนลสไปรต์76,4953,657,181
จังหวัดนอร์ทเวสต์มาเฮเคงรุสเทนเบิร์ก104,8823,253,390
จังหวัดนอร์เทิร์นเคปคิมเบอร์เลย์คิมเบอร์เลย์372,8891,096,731
จังหวัดเวสเทิร์นเคปเคปทาวน์เคปทาวน์129,4625,287,863

โครงสร้างพื้นฐาน

การศึกษา

ปัญหาด้านการศึกษาของชาวแอฟริกาใต้ ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะหากชาวแอฟริกาใต้ได้รับการศึกษาที่ดีแน่นอนว่าย่อมจะได้รับการพัฒนาประชากร เมื่อคนได้รับความรู้ ก็สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้นี้ไปปรับใช้เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งการนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวแอฟริกาใต้ต้องการมากไม่แพ้ในสิ่งอื่นใดนั่นก็คือการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาจะถูกจำกัดไว้แค่คนที่มีฐานะเท่านั้น ส่วนคนจนแทบจะไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาที่น้อยมาก

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

ชาวผิวขาว เป็นชาวยุโรป ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์, ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเรียกว่าชาวอาฟรีกาเนอร์ชาวผิวสี เป็นชาวเลือดผสมระหว่างชาวอาฟรีกาเนอร์, ชาวพื้นเมือง, และชาวมลายูที่อพยพเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเวสเทิร์นเคปและชาวพื้นเมืองเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เช่น ชาวซูลู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดียที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในจังหวัดควาซูลู-นาตัล อีกด้วย

ศาสนา

คริสต์ร้อยละ 79.77% ไม่มีศาสนา 15.1% อิสลาม 1.46% พราหมณ์-ฮินดู 1.25% พุทธ 1.15%และอื่นๆอีก 1.42%

ภาษา

ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

กีฬา

ฟุตบอล

ฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa national football team) หรือ บาฟานา บาฟานา (Bafana Bafana มีความหมายว่าเด็กชาย) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแอฟริกาใต้ (SAFA) ทีมกลับมาเล่นระดับโลกในปี 1992 หลังจากหลายปีที่ถูกฟีฟ่าแบนจากนโยบายการแบ่งแยกสีผิว และในปี 2010 แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกาที่เป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 เดือนมิถุนายน ซิฟิเว่ ชาบาลาล่ายังเป็นคนแรกที่ทำประตูให้กับทีมชาติแอฟริกาใต้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ทีมชาติแอฟริกาใต้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ในปี 1996 ที่ประเทศตนเองเป็นเจ้าภาพ

รักบี้

กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาใต้อย่างมากพอๆกับฟุตบอล ทีมชาติแอฟริกาใต้เป็นทีมรักบี้ที่เก่งระดับโลกและมีผู้เล่นมากฝีมือมากมาย เช่น Percy Montgomery นักรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้ที่เกิดในประเทศนามิเบีย

วัฒนธรรม

เครื่องดนตรีพื้นเมือง

เครื่องดนตรีพื้นเมืองคือวูวูเซลา (อังกฤษ: vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง (บ้างก็บอกว่าคล้ายแมลงหวี่) และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 และฟุตบอลโลก 2010

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
การศึกษา
ข้อมูลทั่วไป
ด้านการท่องเที่ยว


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง