แก๊สธรรมชาติเหลว

ระวังสับสนกับ แก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG)

แก๊สธรรมชาติเหลว (อังกฤษ: liquefied natural gas หรือ LNG) เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำไปทำให้สถานะของก๊าซกลายเป็นของเหลวโดยทำให้อุณหภูมิลดลงส่งผลให้ปริมาตรลดลงเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรเดิม โดยการใช้ความเย็นที่ ลบ 162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ [1] เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการขนส่ง เมื่อต้องการนำไปประโยชน์จะนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิซึ่งกลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของแก๊สธรรมชาติอัด[2][3][4]

สัญลักษณ์แก๊สธรรมชาติเหลวของจีน

คุณสมบัติ

แก๊สธรรมชาติเป็นวัตถุดิบของการผลิตแก๊สธรรมชาติเหลว ดังนั้นจึงประกอบไปด้วยสารเจือปนหลายชนิด เช่น กำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ วัตถุดิบที่ได้จึงต้องนำมาแยกสารประกอบอื่นๆออก เมื่อผ่านกระบวนการคัดแยกสารประกอบออกแล้วจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการลดอุณหภูมิให้เหลือประมาณ -160.5 ถึง -160 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเรียกว่าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่มีคุณสมบัติ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารประกอบที่เป็นพิษ ไม่มีคุณสมบัติการกัดกร่อน กรณีเกิดการรั่วไหลไม่ต้องกำจัดเนื่องจากก๊าซจะระเหยไปในอากาศได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทิ้งสารตกค้าง การติดไฟเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ในสถานะก๊าซ สภาพแวดล้อมปิดและมีค่าปริมาณก๊าซในอากาศระหว่าง 5-15% แล้วมีการก่อให้เกิดประกายไฟในบริเวณที่มีก๊าซอยู่[2]ความไวต่อการติดไฟของแก๊สธรรมชาติสูงกว่าแก๊สปิโตรเลียมเหลว[3]

การผลิต

ประเทศที่มีปริมาณสำรองแก๊สธรรมชาติมากที่สุดคือ ประเทศรัสเซีย มีปริมาณสำรองประมาณ 27% รองลงมาได้แก่ประเทศอิหร่าน ประมาณ 15% ประเทศกาตาร์ 14% ส่วนประเทศที่มีการผลิดมากที่สุดคือ การ์ตา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ แอลจีเรีย[2]

การจัดเก็บและขนส่ง

วัตถุประสงค์ของผลิตแก๊สธรรมชาติเหลวคือ ลดปริมาตร เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่งเป็นหลักและเป็นไปแบบสอดคล้องกัน แก๊สถูกบรรจุในถังเก็บโดยไม่จำเป็นต้องทนต่อแรงดันสูง เพราะแก๊สธรรมชาติเหลวไม่มีแรงดัน จึงไม่ก่อเกิดการระเบิดหากเกิดรอยแตกร้าวในภาชนะจัดเก็บ แต่ต้องเก็บในถังเก็บซึ่งสามารถรักษาอุณหภูมิให้ต่ำเพื่อคงสถานะของเหลว โดยถังบรรจุชั่วคราวระหว่างรอขนถ่ายนั้นสามารถเก็บได้นาน 8 วัน ทั่วโลกมีการก่อสร้างแหล่งรับการถ่ายแก๊สธรรมชาติเหลวขึ้นหลายแห่ง ส่วนประเทศไทยอยู่ในการดูแลของ ปตท. [2]

การค้า

ประเทศที่มีการซื้อแก๊สธรรมชาติเหลวมากที่สุดในโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ตามลำดับ ความต้องการในตลาดโลกโดยรวมประมาณ 160 ล้านตันในปี พ.ศ. 2550 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง