แผนที่ธรณีวิทยา

แผนที่ธรณีวิทยา (อังกฤษ: geologic map) คือ แผนที่ซึ่งแสดงการกระจายตัว และลักษณะการวางตัวของหินแข็งที่โผล่บริเวณผิวโลก (Outcrop) หรือของหน่วยหิน (Rock Unit) ซึ่งอาจโผล่หรือวินิจฉัยได้ว่าอยู่ใต้ดินในบริเวณนั้น ตลอดจนแสดงชั้นตะกอนและวัสดุปกคลุมต่าง ๆ ที่ยังไม่แข็งตัว ทั้งนี้ส่วนมากจะถูกจัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณีของประเทศนั้นๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางธรณีวิทยาต่อไป

ลักษณะทั่วไป

แผนที่ธรณีวิทยาทุกแผ่นจะอาศัยแผนที่ภูมิประเทศที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเส้นชั้นความสูงเป็นแผนที่พื้นฐาน (Base Map) ในการบันทึกข้อมูลที่พบเห็นในสนาม แต่อาจแสดงเส้นชั้นความสูงเพียงบางเส้นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับแผนที่ทางธรณีวิทยา มีลักษณะสำคัญ 2 อย่าง คือ คำอธิบายเครื่องหมายแผนที่ และภาคตัดขวางทางธรณีวิทยา ซึ่งจะมาพร้อมกับการออกภาคสนาม เพื่อเอามาแสดงเป็นสัญลักษณ์ทางการนำเสนอ เกี่ยวกับข้อมูลธรณีวิทยาบนดิน และใต้ดินตามลำดับ

คำอธิบายเครื่องหมายแผนที่

คำอธิบายเครื่องหมายแผนที่ (Explanation, Key หรือ Legend) ซึ่งอธิบายความหมายของสัญลักษณ์และ/หรือสีที่ใช้แสดงหินแต่ละหน่วย อย่างน้อยที่สุดต้องแยกชนิดเป็นหินอัคนี หินตะกอน หรือหินแปร อายุและการลำดับชั้นหิน (Stratigraphy) ของหน่วยหินต่าง ๆ โดยจัดให้หน่วยหินที่มีอายุมากที่สุดอยู่ล่างสุดเสมอ ตลอดจนสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงลักษณะการวางตัวหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยาต่าง ๆ

สัญลักษณ์แสดงทิศของแผนที่ ซึ่งปกติแล้วจะทำการแสดงข้อมูลโดยด้านบนกระดาษเป็นทิศเหนือ แต่อย่างไรก็ตามต้องทำการแสดงสัญลักษณ์แทนทิศเหนือทุกครั้งด้วย รวมถึงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สำคัญ ถ้ามีจำเป็นต้องใส่ลงไปในภาพแสดงเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบด้วย

ภาคตัดขวางทางธรณีวิทยา

ภาคตัดขวางทางธรณีวิทยา (Geologic cross section) คือ ภาคตัดขวางของพื้นที่บริเวณหนึ่งในแผนที่แสดงรูปด้านตัดของภูมิประเทศ (Topographic profile) โดยจะแสดงการวางตัวของหน่วยหินต่าง ๆ และโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ลึกลงไปจากผิวโลก หรือข้อมูลธรณีวิทยาใต้ดิน เพื่อให้เห็นรายละเอียดทางธรณีวิทยา ตามแนวที่ต้องการอย่างสมบูรณ์ ภาคตัดขวางนี้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ธรณีวิทยา หรืออาจแยกมาใช้ประกอบในการออกแบบงานทางวิศวกรรมและการพัฒนาทรัพยากรต่าง ๆ

ภาพตัวอย่างภาคตัดขวางทางธรณีวิทยา

การทำแผนที่ธรณีวิทยา

การทำแผนที่ธรณีวิทยา เป็นลักษณะของการเก็บข้อมูลจากการเดินสำรวจทางธรณีวิทยาเป็นหลัก แต่อาจจะมีการเตรียมตัวก่อนการเดินสำรวจจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ การทำแผนที่ธรณีวิทยาขึ้นอยู่กับขนาดของมาตราส่วนที่ต้องการ ถ้ามาตราส่วน 1:250000 หรือ มาตราส่วนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการทำแผนที่ที่ไม่ละเอียด ก็เน้นไปทางด้านการแปลภาพถ่ายทางอากาศ และเดินสำรวจเก็บตัวอย่างหินตามบริเวณถนน หรือ ตามทางเดินที่ง่ายต่อการสำรวจ แต่ถ้ามาตราส่วนใหญ่ขึ้นเป็น 1:25000 คือมีความละเอียดมากขึ้น ทำให้ต้องมีการเดินสำรวจที่มากขึ้นและละเอียดมากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้การเดินสำรวจที่ละเอียดขึ้น จำเป็นต้องได้ข้อมูลที่มากขึ้นด้วย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง