แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) เป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรัชสมัยไทโชของญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1923 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2466 เวลา 11:58:44 น. ตามเวลาในท้องถิ่น บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชู มีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเล บริเวณเกาะอิซูโอชิมะ ในอ่าวซางามิ

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923
ความเสียหายโดยรอบวัดเซ็นโซจิในอาซากูซะ
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923ตั้งอยู่ในJapan
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923
โตเกียว
โตเกียว
เวลาสากลเชิงพิกัด1923-09-01 02:58:35
รหัสเหตุการณ์ ISC911526
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น1 กันยายน ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466)
เวลาท้องถิ่น11:58:32 JST (UTC+09:00)
ระยะเวลา48 วินาที[1] 4 นาที[2]
ขนาด7.9[3] 8.0[4] 8.2[5] Mw
ความลึก23 km (14 mi)
ศูนย์กลาง35°19.6′N 139°8.3′E / 35.3267°N 139.1383°E / 35.3267; 139.1383[6]
ประเภทเมกะทรัสต์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประเทศญี่ปุ่น
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ชินโดะ 7 XI (สุดขีด)
สึนามิสูงถึง 12 m (39 ft)
ที่อาตามิ, จังหวัดชิซูโอกะ, โทไก[7]
แผ่นดินถล่มใช่
แผ่นดินไหวตาม6 ถึง 7.0 M หรือสูงกว่านี้[8]
ผู้ประสบภัยตาย 105,385 คน[9]–142,800[10]
อาคารกรมตำรวจนครบาลในย่านมารูโนอูจิกำลังถูกเพลิงไหม้

แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงโตเกียว เมืองท่าโยโกฮามะ จังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ และจังหวัดชิซูโอกะ [11] ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 100,000 คน มีผู้สูญหายที่คาดว่าเสียชีวิตแล้วประมาณ 40,000 คน เนื่องจากเหตุเกิดขึ้นในช่วงเที่ยงวัน ขณะประชาชนกำลังใช้เตาไฟหุงอาหาร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ และเนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่นอยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ทำให้มีกระแสลมแรงจึงเกิดเพลิงลุกลาม ประกอบกับระบบท่อส่งน้ำเกิดชำรุดอันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้การดับเพลิงต้องใช้เวลาถึง 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 3 กันยายน นอกจากนี้ยังเกิดดินถล่มในหลายพื้นที่

แผ่นดินไหว

บันทึกของกัปตันเรือ SS Dongola ขณะที่เรือของเขาทอดสมอในโยโกฮามะ ระบุว่า:
"เมื่อเวลา 11:55 น. เรือเริ่มสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและเมื่อมองไปทางชายฝั่งได้มีแผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นอาคารหลายแห่งกำลังยุบตัวทุกทิศทางและไม่กี่นาทีต่อมาฝุ่นผงจากอาคารได้กระจายไปทั่วทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ เขามองเห็นไฟที่กำลังลุกไหม้ทั่วทิศทางและเวลาครึ่งชั่วโมงต่อมาทั้งเมืองก็อยู่ใต้เปลวเพลิง"[12]

แผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในโตเกียวและโยโกฮามะรวมถึงจังหวัดโดยรอบได้แก่ จังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ และจังหวัดชิซูโอกะ และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทั่วภูมิภาคคันโต แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้แรงมากจนสามารถเคลื่อนพระพุทธรูปโคโตกูอิงที่มีน้ำหนักถึง 121 ตัน ที่อยู่ห่างจากศูนย์กลาง 60 กม. ได้ถึง 60 เซนติเมตร

มีผู้เสียชีวิตประมาณ 142,800 ราย สูญหายประมาณ 40,000 คน ผู้สูญหายส่วนใหญ่ถูกสันนิษฐานว่าเสียชีวิต ตามรายงานสรุปของคาจิมะ คอร์ปอเรชั่นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 มีผู้เสียชีวิต 105,385 รายในแผ่นดินไหว[13]

ความเสียหาย

แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังทำอาหาร ผู้เสียชีวิตหลายคนเสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว ไฟได้เริ่มไหม้ทันทีหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหว[14] ไม่นานไฟไหม้ได้เพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุไฟทำให้ไฟลุกลามไปทั่วเมือง [15][16][17]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

35°06′N 139°30′E / 35.1°N 139.5°E / 35.1; 139.5{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง