จังหวัดชิบะ

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดชิบะ (ญี่ปุ่น: 千葉県โรมาจิChiba-ken) เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันโต บนเกาะฮนชูของประเทศญี่ปุ่น[1] จังหวัดชิบะมีประชากร 6,278,060 คน (1 มิถุนายน 2019) และมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 5,157 ตารางกิโลเมตร จังหวัดชิบะติดกับจังหวัดอิบารากิทางทิศเหนือ จังหวัดไซตามะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และโตเกียวทางทิศตะวันตก

จังหวัดชิบะ

千葉県
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • ญี่ปุ่น千葉県
 • โรมาจิChiba-ken
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองใหม่มากูฮาริ, เขตอุตสาหกรรมเคโย, มากูฮาริเม็ซเซะ, ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ, ท่าเรือชิบะ, นาริตาซัง
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองใหม่มากูฮาริ, เขตอุตสาหกรรมเคโย, มากูฮาริเม็ซเซะ, ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ, ท่าเรือชิบะ, นาริตาซัง
ธงของจังหวัดชิบะ
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของจังหวัดชิบะ
สัญลักษณ์
ที่ตั้งของจังหวัดชิบะ
พิกัด: 35°36′18″N 140°07′24″E / 35.60500°N 140.12333°E / 35.60500; 140.12333
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
เกาะฮนชู
เมืองหลวงชิบะ
เขตการปกครองอำเภอ: 6, เทศบาล: 54
การปกครอง
 • นายกจังหวัดโทชิฮิโตะ คูมาไง (熊谷 俊人)
พื้นที่
 • ทั้งหมด5,157.61 ตร.กม. (1,991.36 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 28
ประชากร
 (1 มิถุนายน 2019)
 • ทั้งหมด6,278,060 คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น1,200 คน/ตร.กม. (3,200 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166JP-12
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้Kusamaki
• ดอกไม้ดอกผักกาดก้านขาว
• สัตว์ปีกMeadow bunting
• สัตว์น้ำปลาจาน
เว็บไซต์www.pref.chiba.lg.jp

จังหวัดชิบะมีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือ นครชิบะ อีกทั้งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด เมืองที่สำคัญอื่น ๆ เช่น ฟูนาบาชิ มัตสึโดะ อิจิกาวะ[2] และคาชิวะ จังหวัดชิบะตั้งอยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของญี่ปุ่น อยู่ทางตะวันออกของโตเกียว และเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครโตเกียว ซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะอยู่บนคาบสมุทรโบโซ ปิดล้อมด้านตะวันออกของอ่าวโตเกียว ซึ่งเป็นอ่าวที่แยกจังหวัดชิบะออกจากจังหวัดคานางาวะ จังหวัดชิบะเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ, โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (ประกอบด้วยโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี) และเขตอุตสาหกรรมเคโย

ที่มาของชื่อ

ชื่อของจังหวัดชิบะในภาษาญี่ปุ่นมาจากตัวอักษรคันจิสองตัว ตัวแรก หมายถึง "หนึ่งพัน" และตัวที่สอง หมายถึง "ใบไม้" ชื่อนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในชื่อของสำนักงานบัญชาการประจำภูมิภาค ชิบะ คูนิ โนะ มิยัตสึโกะ (ญี่ปุ่น: 千葉国造โรมาจิChiba Kuni no Miyatsuko)[3] ชื่อนี้ถูกนำมาใช้โดยตระกูลย่อยของตระกูลไทระ ซึ่งย้ายมาอยู่ในพื้นที่ที่เป็นนครชิบะในปัจจุบันในช่วงปลายสมัยเฮอัง โดยได้รับชื่อนี้มาใช้กลายเป็นตระกูลชิบะ และมีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ของจังหวัดนี้จนถึงสมัยอาซูจิ–โมโมยามะ คำว่า "ชิบะ" ได้รับเลือกให้เป็นชื่อของจังหวัดนี้ ณ เวลาที่ก่อตั้งเมื่อปี 1873 โดยสมัชชาผู้ว่าราชการจังหวัด (ญี่ปุ่น: 地方官会議โรมาจิChihō Kankai Kaigi) ซึ่งเป็นการประชุมของผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยเมจิตอนต้นในการตัดสินใจโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในญี่ปุ่น[4]

คำประสม "เคโย" (ญี่ปุ่น: 京葉โรมาจิKeiyō) ซึ่งหมายถึงภูมิภาคโตเกียว-ชิบะนั้น มาจากอักษรตัวที่สองของคำว่าโตเกียว () และอักษรตัวที่สองของคำว่าชิบะ () ซึ่งสามารถออกเสียงได้เป็น "เค" และ "โย" ตามลำดับ[5] คำประสมนี้ใช้ในชื่อต่าง ๆ เช่น ทางรถไฟสายเคโย ถนนเคโย และเขตอุตสาหกรรมเคโย

ประวัติศาสตร์

รูปปั้นดินเผาฮานิวะรูปไก่ในยุคโคฟุง จากพิพิธภัณฑ์ชิบายามะฮานิวะ
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
18901,191,353—    
19031,316,547+0.77%
19131,401,587+0.63%
19201,336,155−0.68%
19251,399,257+0.93%
19301,470,121+0.99%
19351,546,394+1.02%
19401,588,425+0.54%
19451,966,862+4.37%
19502,139,037+1.69%
19552,205,060+0.61%
19602,306,010+0.90%
19652,701,770+3.22%
19703,366,624+4.50%
19754,149,147+4.27%
19804,735,424+2.68%
19855,148,163+1.69%
19905,555,429+1.53%
19955,797,782+0.86%
20005,926,285+0.44%
20056,056,462+0.44%
20106,216,289+0.52%
20156,224,027+0.02%
แหล่งที่มา:[6]

ประวัติศาสตร์ช่วงต้น

ในจังหวัดชิบะมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตามหลักฐานจากยุคโจมงที่ยังคงมีอยู่ในทุกส่วนของภูมิภาค มีการพบกองเปลือกหอยไคซูกะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีประชากรจำนวนมากในจังหวัดที่พึ่งพาอาศัยผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวโตเกียว และมีสุสานโบราณโคฟุง (เนินสุสานรูปกุญแจ) ซึ่งพบได้ทั่วทั้งจังหวัด โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในฟุตสึ ริมอ่าวโตเกียว[7]

ยุคอาซูกะและยุคนาระ

ในยุคอาซูกะ (ค.ศ. 538–710) ภายใต้การปฏิรูปปีไทกะ ค.ศ. 645 โครงสร้างการปกครองของบริเวณที่เป็นจังหวัดชิบะในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นฟูซะ ซึ่งคาดว่าครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะและอิบารากิ ได้แบ่งออกเป็นสองแคว้น ได้แก่ แคว้นชิโมซะ (หรือเรียกอีกอย่างว่าชิโมฟูซะ) ในพื้นที่ทางเหนือ และแคว้นคาซูซะ ในพื้นที่ทางใต้ แคว้นอาวะซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะได้แยกออกมาจากแคว้นคาซูซะในปี ค.ศ. 718 หน่วยการปกครองเหล่านี้ดำรงอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งถูกยกเลิกและรวมเข้าเป็นจังหวัดชิบะหลังจากการฟื้นฟูเมจิ รัฐบาลกลางได้มีการจัดตั้งวัดประจำแคว้นหรือที่เรียกว่าโคคุบุนจิ[8]

ยุคเฮอัง

ราชสำนักของจักรวรรดิค่อย ๆ ขยายอำนาจเหนือสามแคว้นดังกล่าวในยุคนาระ (ค.ศ. 710–794) และยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) ฐานันดรศักดินาโชเอ็งได้ก่อตั้งขึ้นทั่วทั้งสามแคว้นนี้ และภูมิภาคนี้ได้กลายเป็นแหล่งรายได้จากภาษี สินค้าเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ให้กับเมืองหลวงที่เกียวโต อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคเฮอังก้าวหน้าขึ้น โคกูชิหรือผู้ว่าประจำแคว้นก็เข้ามาใช้อำนาจทางทหารโดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางในเกียวโต ตระกูลชิบะได้ล่มสลายโดยสิ้นเชิงพร้อมกับราชสำนักของจักรวรรดิ และเป็นส่วนสำคัญในการก่อตั้งผู้สำเร็จรัฐบาลโชกุนคามากูระ[8][9]

ยุคใหม่

นักเรียนกองกำลังอาสาสมัครของกองทัพญี่ปุ่นที่ 52 กำลังทำการฝึกที่หาดคูจูกูริเมื่อต้นปี 1945

จังหวัดชิบะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1873 โดยการยุบสองจังหวัดรวมกัน ได้แก่ จังหวัดคิซาราซุ และจังหวัดอิมบะ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตปี 1923 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางในจังหวัดชิบะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณตอนใต้สุดของคาบสมุทรโบโซซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,300 คน พื้นที่ของจังหวัดชิบะที่อยู่ติดกับโตเกียวได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ความรุนแรงของผู้ชุมนุมต่อชาวเกาหลีและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความวุ่นวายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในฟูนาบาชิ อิชิกาวะ และพื้นที่อื่น ๆ[10] ชาวเกาหลีในหลาย ๆ ย่านของยาจิโยะถูกสังหาร และมีการสร้างหอคอยขึ้นในปี 1972 บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟยาจิโยไดเพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว[11] การทำสงครามของจังหวัดชิบะเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (1904–1905) ป้อมปราการชายฝั่งถูกสร้างขึ้นตามอ่าวโตเกียวไปทางใต้จนถึงทาเตยามะเพื่อป้องกันเมืองหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่นจากการโจมตี ในช่วงทศวรรษที่ 1930 พื้นที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตทางทหารขนาดใหญ่ และมีการสร้างฐานทัพและป้อมปราการในพื้นที่ชายฝั่งส่วนใหญ่ของจังหวัด หลังจากที่สหรัฐเข้าควบคุมเกาะไซปัน พื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งนครชิบะและโชชิก็ถูกโจมตีด้วยระเบิดเพลิง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของจังหวัดถูกทำลาย ปฏิบัติการโคโรเนต ซึ่งเป็นหนึ่งในสองส่วนของปฏิบัติการดาวน์ฟอล คือแผนการรุกรานแผ่นดินโตเกียวในเดือนมีนาคม 1946 โดยสหรัฐ ปฏิบัติการโคโรเนตมีแผนให้หาดคูจูกูริเป็นหนึ่งในสองแห่งของฐานจอดเรือช่วงแรก ส่วนอีกแห่งคือฮิรัตสึกะโดยผ่านอ่าวซางามิ โดยกองทัพสหรัฐที่หนึ่งจะเข้าที่หาดคูจูกูริเพื่อกวาดล้างคาบสมุทรโบโซและไปพบกับกองทัพสหรัฐที่แปดที่โตเกียว หลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เนื่องจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นในปี 1945 แผนดังกล่าวจึงไม่เป็นผล[12]

ยุคหลังสงคราม

โรงงานเหล็กคิมิตสึในปี 2007 ในคิมิตสึ เขตอุตสาหกรรมเคโย

ในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น (1945–1952) จังหวัดชิบะถูกควบคุมโดยกองกำลังอเมริกันจากชั้นสองของอาคารศาลากลางจังหวัดในนครชิบะ และเมืองอื่น ๆ อีกมากมายในจังหวัดทั้งทางเหนืออย่างนครโชชิและทางใต้อย่างนครทาเทยามะได้ถูกใช้เป็นฐานในการยึดครอง ด้วยความที่ทั่วทั้งจังหวัดนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไม่ค่อยได้รับปัญหาการขาดแคลนอาหารและความอดอยากในทันทีหลังสงคราม ช่วงเวลาทันทีหลังสงครามนั้นได้มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมที่มีการวางแผนไว้อย่างดีทางตอนเหนือของจังหวัด และมีผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากการปฏิรูปที่ดินทั่วทั้งจังหวัด ได้มีการรวบรวมพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดเล็กตลอดทั้งชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดชิบะมาเป็นเขตอุตสาหกรรมเคโย และเขตอุตสาหกรรมนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมหนักและท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ที่สำคัญในญี่ปุ่นเรื่อยมา เมืองที่อยู่ใกล้กับโตเกียวเชื่อมต่อกันด้วยรถไฟ เมืองเหล่านี้ได้กลายเป็นเมืองที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเริ่มเปิดดำเนินการในปี 1978 ในนครนาริตะ เพื่อแทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (สนามบินฮาเนดะ) ที่แออัด โดยก่อนหน้านี้ได้มีการประท้วงอย่างหนัก ในปัจจุบันการสัญจรทางอากาศระหว่างประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ญี่ปุ่นจะต้องผ่านจังหวัดชิบะ ส่วนเกษตรกรรมโดยเฉพาะข้าวและผักที่ส่งไปยังเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑลได้ขยายตัวอย่างมากจนกลายเป็นแหล่งรายได้สู่พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางของจังหวัด การขยายตัวของเกษตรกรรมทางตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดนั้นตรงกันข้ามกับการลดลงของจำนวนประชากรในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ย้ายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด อันเป็นผลมาจากนคราภิวัฒน์ (การกลายเป็นเมือง) ของญี่ปุ่น ซึ่งยังคงดำเนินต่อไปจนถึงศตวรรษที่ 21

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011

เหตุเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทคอสโมออยล์ในอิจิฮาระ ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ปี 2011

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุในปี 2011 ส่งผลกระทบในทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะ ในขณะที่การสูญเสียชีวิตและความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมนั้นน้อยกว่าในภูมิภาคโทโฮกุอยู่มาก แต่ก็มีผู้เสียชีวิต 20 คนในจังหวัดชิบะ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสึนามิที่พัดถล่มนครอาซาฮิ นครทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด และทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในสื่อข่าวหลังแผ่นดินไหวในโทโฮกุ เกิดขึ้นที่โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทคอสโมออยล์ในนครอิจิฮาระ ถังแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) ขนาดใหญ่ถูกไฟไหม้ตั้งแต่วันที่ 11–21 มีนาคม 2011[13] เหตุการณ์แผ่นดินเหลวในพื้นที่ที่มีการแปรสภาพที่ดินได้เกิดทั่วพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัดชิบะทำให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย[14][15] นครชิบะ ฟูนาบาชิ นาราชิโนะ และโดยเฉพาะอูรายาซุ ได้รับผลกระทบอย่างมาก[16] เนื่องด้วยความเสียหายถาวรต่อที่อยู่อาศัยอันเป็นผลมาจากแผ่นดินเหลว และการพบหลักฐานของวัสดุกัมมันตภาพรังสี ทำให้ประชากรในจังหวัดชิบะลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1920[14][17]

ภูมิศาสตร์

คาบสมุทรโบโซ

จังหวัดชิบะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดอิบารากิที่แม่น้ำโทเนะ ทิศตะวันตกติดกับกรุงโตเกียวและจังหวัดไซตามะที่แม่น้ำเอโดะ ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และทิศใต้ล้อมรอบโดยมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวโตเกียว พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะตั้งอยู่บนคาบสมุทรโบโซซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขา มีพื้นที่ทำนาข้าวทางด้านชายฝั่งตะวันออกที่เรียกว่าที่ราบคูจูกูริ[18] ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตมาก เขตที่มีประชากรมากที่สุดที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันโต ซึ่งเขตเมืองได้ขยายไปยังโตเกียวและไซตามะเกิดเป็นการรวมกันเป็นกลุ่มของเขตเมือง (urban agglomeration) การไหลของกระแสน้ำคูโรชิโอะใกล้กับจังหวัดชิบะทำให้ที่นี่ค่อนข้างอบอุ่นในฤดูหนาวและเย็นกว่าในฤดูร้อนในโตเกียว

อุทยานแห่งชาติและอุทยานประจำจังหวัด

พื้นที่ชายฝั่งในย่านเอมิ นครคาโมงาวะ

ชายฝั่งทั้งหมดของจังหวัดชิบะ ยกเว้นเขตอุตสาหกรรมเคโยทางตอนเหนือ ได้รับการคุ้มครองเป็นอุทยานกึ่งแห่งชาติ 2 แห่ง และอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัด 1 แห่ง ภายใต้ระบบอุทยานแห่งชาติของญี่ปุ่น โดย ณ วันที่ 1 เมษายน 2012 ร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานธรรมชาติ[19]

  • อุทยานกึ่งแห่งชาติซูอิโงะ-สึกูบะ (ญี่ปุ่น: 水郷筑波国定公園โรมาจิSuigō-Tsukuba Kokutei Kōen) ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของลุ่มแม่น้ำโทเนะและบริเวณรอบภูเขาสึกูบะในจังหวัดอิบารากิ อุทยานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1953 เพื่อคุ้มครองไม่เพียงแต่สิ่งแวดล้อมของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย ปากแม่น้ำโทเนะ แหลมอินูโบ และเบียวบูงาอูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ เป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของอุทยาน[20]
  • อุทยานกึ่งแห่งชาติมินามิโบโซ (ญี่ปุ่น: 南房総国定公園โรมาจิMinami-Bōsō Kokutei Kōen) ก่อตั้งขึ้นในปี 1953 เพื่อคุ้มครองพื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะ ตั้งแต่แหลมฟุตสึบนอ่าวโตเกียวไปจนถึงแหลมอินูโบทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ อุทยานแห่งนี้ครอบคลุมเขตการปกครอง 9 แห่งในจังหวัด อุทยานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะวัดที่เกี่ยวข้องกับนิจิเร็ง[21]

จังหวัดชิบะได้กำหนดและดูแลอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัดจำนวน 8 แห่ง เพื่อคุ้มครองทั้งพื้นที่ธรรมชาติและวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานธรรมชาติประจำจังหวัดอินบะเทงะ, คาซาโมริสึรูมาอิ, คูจูกูริ, มิเนโอกาซังเก, โอโตเนะ, ทากาโงยามะ, โทมิซัง, และโยโรเคโกกุโอกูกิโยซูมิ[22] อีกทั้งยังมีพื้นที่สวนสาธารณะที่กำหนดและคุ้มครองโดยเทศบาลนคร เมือง และหมู่บ้านต่าง ๆ ภายในจังหวัด สวนสาธารณะเหล่านี้ได้รับการบำรุงรักษาเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในท้องถิ่น

ภูมิอากาศ

จังหวัดชิบะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) โดยมีฤดูร้อนที่ร้อนชื้น และฤดูหนาวที่ไม่หนาวจัด ช่วงฤดูฝนหรือที่เรียกว่า สึยุ มีช่วงเวลาประมาณ 50 วัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 15.7 °C (60.3 °F) ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 19.6 °C (67.3 °F) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 12.3 °C (54.1 °F)[23]

ข้อมูลภูมิอากาศของนครชิบะ จังหวัดชิบะ
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)8.9
(48)
8.9
(48)
11.7
(53)
17.2
(63)
21.7
(71)
23.9
(75)
27.2
(81)
29.4
(85)
26.1
(79)
20.6
(69)
16.1
(61)
11.7
(53)
18.61
(65.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)0.6
(33)
1.1
(34)
3.9
(39)
9.4
(49)
13.9
(57)
17.8
(64)
21.1
(70)
23.3
(74)
19.4
(67)
13.3
(56)
7.8
(46)
2.8
(37)
11.2
(52.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)48.3
(1.902)
66
(2.6)
94
(3.7)
109.2
(4.299)
96.5
(3.799)
139.7
(5.5)
106.7
(4.201)
121.9
(4.799)
177.8
(7)
157.5
(6.201)
83.8
(3.299)
48.3
(1.902)
1,249.7
(49.201)
แหล่งที่มา: weather.com

เขตการปกครอง

จังหวัดชิบะประกอบด้วย 37 เทศบาลนคร, 6 อำเภอ, 16 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน พื้นที่ที่แสดงในตารางมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2019[24] และจำนวนประชากรที่แสดงในตารางมาจากรายงานสำมะโนประชากรประจำ ค.ศ. 2015 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร[25] โดย 37 เทศบาลนครในจังหวัดชิบะมีพื้นที่รวมกัน 4,405.55 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 85.42 ของพื้นที่จังหวัด และมีประชากรรวม 6,012,551 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 96.62 ของประชากรทั้งจังหวัด

ชิบะ
อิจิกาวะ
นาริตะ
คาโมงาวะ
คาโตริ
คัตสึอูระ

เทศบาล

แผนที่เทศบาลในจังหวัดชิบะ
     นครใหญ่ที่รัฐกำหนด      นคร      เมือง      หมู่บ้าน
รหัส
ท้องถิ่น
ธงชื่อประเภทอำเภอพื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
ทับศัพท์ไทยคันจิโรมาจิ
12100 ชิบะ
(เมืองหลวง)
千葉市Chiba-shiนครใหญ่
ที่รัฐกำหนด
ไม่มีอำเภอ271.78971,8823,576
12217 คาชิวะ柏市Kashiwa-shiนครศูนย์กลาง114.74413,9543,608
12204 ฟูนาบาชิ船橋市Funabashi-shi85.62622,8907,275
12202 โชชิ銚子市Chōshi-shiนคร84.2064,415765
12203 อิจิกาวะ市川市Ichikawa-shi57.45481,7328,385
12205 ทาเตยามะ館山市Tateyama-shi110.0547,464431
12206 คิซาราซุ木更津市Kisarazu-shi138.95134,141965
12207 มัตสึโดะ松戸市Matsudo-shi61.38483,4807,877
12208 โนดะ野田市Noda-shi103.55153,5831,483
12210 โมบาระ茂原市Mobara-shi99.9289,688898
12211 นาริตะ成田市Narita-shi213.84112,993528
12212 ซากูระ佐倉市Sakura-shi103.69172,7391,666
12213 โทงาเนะ東金市Tōgane-shi89.1260,652681
12215 อาซาฮิ旭市Asahi-shi130.4566,586510
12216 นาราชิโนะ習志野市Narashino-shi20.97167,9098,007
12218 คัตสึอูระ勝浦市Katsuura-shi93.9619,248205
12219 อิจิฮาระ市原市Ichihara-shi368.17274,656746
12220 นางาเรยามะ流山市Nagareyama-shi35.32174,3734,937
12221 ยาจิโยะ八千代市Yachiyo-shi51.39193,1523,759
12222 อาบิโกะ我孫子市Abiko-shi43.15131,6063,050
12223 คาโมงาวะ鴨川市Kamogawa-shi191.1433,932178
12224 คามางายะ鎌ヶ谷市Kamagaya-shi21.08108,9175,167
12225 คิมิตสึ君津市Kimitsu-shi318.8186,033270
12226 ฟุตสึ富津市Futtsu-shi205.5345,601222
12227 อูรายาซุ浦安市Urayasu-shi17.30164,0249,481
12228 ยตสึไกโด四街道市Yotsukaidō-shi34.5289,2452,585
12229 โซเดงาอูระ袖ヶ浦市Sodegaura-shi94.9360,952642
12230 ยาจิมาตะ八街市Yachimata-shi74.9470,734944
12231 อินไซ印西市Inzai-shi123.7992,670749
12232 ชิโรอิ白井市Shiroi-shi35.4861,6741,738
12233 โทมิซาโตะ富里市Tomisato-shi53.8849,636921
12234 มินามิโบโซ南房総市Minamibōsō-shi230.1239,033170
12235 โซซะ匝瑳市Sōsa-shi101.5237,261367
12236 คาโตริ香取市Katori-shi262.3577,499295
12237 ซัมมุ山武市Sanmu-shi146.7752,222356
12238 อิซูมิいすみ市Isumi-shi157.5038,594245
12239 โออามิชิราซาโตะ大網白里市Ōamishirasato-shi58.0849,184847
12320อำเภออิมบะ印旛郡Inba-gunอำเภอ51.5242,183819
12322 ชิซูอิ酒々井町Shisui-machiเมืองอิมบะ19.0120,9551,102
12329 ซากาเอะ栄町Sakae-machi32.5121,228653
12340อำเภอคาโตริ香取郡Katori-gunอำเภอ138.9535,009252
12342 โคซากิ神崎町Kōzaki-machiเมืองคาโตริ19.906,133308
12347 ทาโกะ多古町Tako-machi72.8014,724202
12349 โทโนโช東庄町Tōnoshō-machi46.2514,152306
12400อำเภอซัมบุ山武郡Sanbu-gunอำเภอ134.7147,703354
12403 คูจูกูริ九十九里町Kujūkuri-machiเมืองซัมบุ24.4616,510675
12409 ชิบายามะ芝山町Shibayama-machi43.247,431172
12410 โยโกชิบาฮิการิ横芝光町Yokoshibahikari-machi67.0123,762355
12420อำเภอโชเซ長生郡Chōsei-gunอำเภอ226.9660,040265
12421 อิจิโนมิยะ一宮町Ichinomiya-machiเมืองโชเซ22.9911,767512
12422 มุตสึซาวะ睦沢町Mutsuzawa-machi35.597,222203
12424 ชิราโกะ白子町Shirako-machi27.5011,149405
12426 นางาระ長柄町Nagara-machi47.117,337156
12427 โชนัง長南町Chōnan-machi65.518,206125
12423 โชเซ長生村Chōsei-muraหมู่บ้าน28.2514,359508
12440อำเภออิซูมิ夷隅郡Isumi-gunอำเภอ154.7217,158111
12441 โอตากิ大多喜町Ōtaki-machiเมืองอิซูมิ129.879,84373
12443 อนจูกุ御宿町Onjuku-machi24.857,315294
12460อำเภออาวะ安房郡Awa-gunอำเภอ45.198,022178
12463 เคียวนัง鋸南町Kyonan-machiเมืองอาวะ45.198,022178
12000-6 จังหวัดชิบะ千葉県Chiba-kenจังหวัด5,157.506,275,9161,217

การเมืองการปกครอง

อาคารหลักของศูนย์ราชการจังหวัดชิบะในนครชิบะ
อาคารสภาจังหวัด

ตั้งแต่ปี 2009 มีนายกจังหวัด[26]คือ เอจิ ซูซูกิ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อในวงการของเขาคือ เค็นซากุ โมริตะ ซึ่งเป็นอดีตนักแสดง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พรรคจิมินโต/อิสระ – โตเกียวเขต 4) และสภาชิกราชมนตรีสภา (อิสระ – โตเกียว) เขาได้รับเลือกอย่างท่วมท้นจนถึงวาระที่สองในตำแหน่งนายกจังหวัดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2013 โดยมีเพียงผู้ท้าชิงจากพรรคคอมมิวนิสต์และผู้เยาว์ที่ไม่สังกัดพรรค

สภาจังหวัดชิบะ[27] มีสมาชิกตามจำนวน 94 คน โดยได้รับการเลือกตั้งใน 45 เขตเลือกตั้ง ปัจจุบันยังคงอยู่ในวงรอบการเลือกตั้งท้องถิ่นมาตั้งแต่ปี 1947 (รอบล่าสุดคือปี 2019) ในเดือนพฤศจิกายน 2020 สมาชิกสภาประกอบด้วย พรรคจิมินโต 53 คน, พรรคมินชูโต 17 คน, พรรคโคเมโต 8 คน, พรรคมินนะโนะโต 3 คน, พรรคคอมมิวนิสต์ 2 คน, พรรคอื่น ๆ อีก 5 คน และไม่สังกัดพรรค 6 คน[28]

ในรัฐสภาญี่ปุ่น จังหวัดชิบะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 13 คนจากเขตเลือกตั้ง 1 คนต่อเขต และสมาชิกราชมนตรีสภา 6 คน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ในปี 2014 จังหวัดชิบะแบ่งออกเป็น 54 เทศบาล (ดูรายชื่อในส่วน #เขตการปกครอง) ได้แก่ 37 นคร, 16 เมือง และ 1 หมู่บ้าน[29] เช่นเดียวกับในช่วงหลังสงครามของญี่ปุ่น เทศบาลแต่ละแห่งจะมีนายกเทศมนตรีและสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นครที่มีประชากรมากที่สุดและเป็นนครใหญ่แต่งตั้งเพียงแห่งเดียวในจังหวัดชิบะคือ นครชิบะ มีนครศูนย์กลาง 2 แห่ง คือ ฟูนาบาชิ และคาชิวะ หลังจากมีการควบรวมเทศบาลในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดส่วนใหญ่ได้รับการจัดตั้งเป็นนครที่เป็นอิสระจากอำเภอ ทำให้เหลืออำเภอเพียง 6 อำเภอ ซึ่งมี 3 อำเภอที่มีเมืองหรือหมู่บ้านขึ้นอยู่เหลือเพียงหนึ่งหรือสองแห่ง ในสมัยก่อนหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างของการปกครองอำเภอและเทศบาลในทุกจังหวัดในปี 1889–1890 จังหวัดชิบะในตอนแรกมี 12 อำเภอและยังไม่มีนคร[30] และต่อมาเมืองชิบะที่ขึ้นกับอำเภอชิบะได้กลายเป็นเทศบาลแห่งแรกในจังหวัดชิบะที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครในปี 1921

รายชื่อนายกจังหวัดชิบะ (ตั้งแต่ 1947)

  • ทาเมโนซูเกะ คาวางูจิ (川口為之助) - ตั้งแต่ 21 เมษายน 1947 ถึง 25 ตุลาคม 1950
  • ฮิโตชิ ชิบาตะ (柴田 等) - ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 1950 ถึง 2 พฤศจิกายน 1962
  • ฮิซาอากิ คาโนะ (加納久朗) - ตั้งแต่ 3 พฤศจิกายน 1962 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 1963
  • มาโกโตะ โทโมโน (友納武人) - ตั้งแต่ 17 เมษายน 1963 ถึง 16 เมษายน 1975
  • คิอิจิ คาวากามิ (川上紀一) - ตั้งแต่ 17 เมษายน 1975 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 1981
  • ทาเกชิ นูมาตะ (沼田 武) - ตั้งแต่ 5 เมษายน 1981 ถึง 4 เมษายน 2001
  • อากิโกะ โดโมโตะ (堂本暁子) - ตั้งแต่ 5 เมษายน 2001 ถึง 4 เมษายน 2009
  • เค็นซากุ โมริตะ (森田健作) - ตั้งแต่ 5 เมษายน 2009 ถึง 4 เมษายน 2021
  • โทชิฮิโตะ คูมาไง (熊谷俊人) - ตั้งแต่ 5 เมษายน 2021 ถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม

จังหวัดชิบะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เนื่องจากลักษณะชายฝั่งที่ติดต่อกับอ่าวโตเกียว ในอดีตชิบะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการบ่ม เช่น มิโซะ สาเก มิริน

ภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลงเกิดการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ชิบะเป็นที่ตั้งของโรงงานเหล็กขนาดใหญ่คาวาซากิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลมีนโยบายการถมทะเลทำนิคมอุตสาหกรรม โกดัง และท่าเรือ เช่นเขตอุตสาหกรรมเคโย[31] อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมเครื่องจักร จังหวัดชิบะมีผลผลิตรวมด้านอุตสาหกรรมเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศญี่ปุ่น[32]

เกษตรกรรม

จังหวัดชิบะยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมอันดับ 2 ของญี่ปุ่นรองจากจังหวัดฮกไกโด โดยเฉพาะถั่ว ถือเป็นพืชหลักที่ปลูกในชิบะถึง 78 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีพืชอื่นที่สำคัญเช่น แคร์รอต กะหล่ำปลี ผักกาดหัว ข้าวโพด และข้าว นอกจากนี้ยังมีการประมงที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชิบะจากอ่าวโตเกียว

ตำรวจ

กองบัญชาการตำรวจจังหวัดชิบะ

กองกำลังตำรวจของจังหวัดชิบะเป็นหนึ่งในสิบกองตำรวจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีสมาชิกมากกว่า 10,000 นาย (รวมถึงตำรวจสนามบินนาริตะ) เช่นเดียวกับในทุกจังหวัด ตำรวจจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะประจำจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกห้าคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกจังหวัดและได้รับอนุมัติจากสภาจังหวัด[33][34]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จังหวัดชิบะมีความสัมพันธ์แบบเมืองพี่น้องกับ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง