แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2566

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.7 ในอำเภอชาชรโกฏ รัฐกรรณาลี ประเทศเนปาล เมื่อเวลา 23:47 NPT ของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2023[2] เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 154 ราย[3] และบาดเจ็บอย่างน้อย 375 คน[4][5][6][7] แผ่นดินไหวครั้งนี้มีแรงสั่นสสะเทือนรับรู้ได้ในพื้นที่อื่นของประเทศเนปาล, ตอนเหนือของอินเดีย และถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่ร้ายแรงที่สุดของเนปาลนับตั้งแต่เมื่อปี 2015[8]

แผ่นดินไหวเนปาล ปี 2023
2023 नेपालमा भूकम्प
แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2566ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2566
เวลาสากลเชิงพิกัด2023-11-0 = 635879604
ต้องการ 'ปปปป-ดด-วว ชช:นน'
รหัสเหตุการณ์ ISC
USGS-ANSS
วันที่ท้องถิ่น3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 (2023-11-03)
เวลาท้องถิ่น23:47 NPT (UTC+5:45)
ขนาด5.7 Mw
6.4 ML
ความลึก16.5 km (10.3 mi)
ศูนย์กลาง28°50′53″N 82°11′13″E / 28.848°N 82.187°E / 28.848; 82.187
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเนปาล, อินเดีย
ความเสียหายทั้งหมดรุนแรง
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)
แผ่นดินไหวตาม109 (3 ครั้ง > 4.0,[1] หนึ่งครั้งขนาด Mw 5.3)
ผู้ประสบภัย
  • เสียชีวิต 153, บาดเจ็บ 375 (แผ่นดินไหวรอบหลัก)
  • บาดเจ็บ 16 (6 พฤศจิกายน)

องค์การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) ระบุว่าแผ่นดินไหวนี้มีขนาด Mww  5.7 และมีความลึกอยู่ที่ 16.5 กิโลเมตร (10.3 ไมล์) ศูนย์วิจัยและติดตามแผ่นดินไหวแห่งชาติ (National Earthquake Monitoring and Research Center) ของเนปาล บันทึกแผ่นดินไหวได้ที่ขนาด 6.4 โลคัลแมกนิจูดสเกล (ML )[9] มีบันทึกอาฟเตอร์ช็อกได้ 483 ครั้ง[10] อย่างน้อยหกครั้งมีขนาดมากกว่า 4.0[11] จุดศูนย์กลางโดยประมาณของแผ่นดินไหวอยู่ที่รามิทันท์ อำเภอชาชรโกฏ[2] และมีอาฟเตอร์ช็อกขนาด 5.3 เกิดขึ้นตามมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน[12]

มีบ้านเรือนเสียหายประมาณ 62,039 หลัง ในสิบสามอำเภอ จำนวนนี้ 26,550 หลังถล่ม[13] ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอรุขุมเวสต์[14] ผู้เสียชีวิตสี่สิบสองคน ในจำนวนนี้มีห้าคนที่เป็นครอบครัวเดียวกัน และยอดบาดเจ็บอีกกว่า 100 คน มีรายงานมาจากอาฐพีสโกฏ[15][16] ในเทศบาลเดียวกันนี้มีบ้านเรือนเสียหายหรือถูกทำลายมากกว่า 5,000 หลัง[17]

แผ่นดินไหวนี้รับรู้ได้ถึงกาฐมาณฑุ[2] และในอินเดีย รวมถึงเมืองลักเนา, ปัฏนา[18] และ นิวเดลี เป็นผลให้ผู้คนตื่นตระหนกและหนีออกจากอาคาร[19] ในนครพาหไรจ์ และ ชัยปุระ มีรายงานอาคารบ้านเรือนมีรอยร้าว[20][21]

กลไกเปลือกโลก

เนปาลตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาหิมาลัยซึ่งเป็นเขตที่มีแผ่นดินไหวเกี่ยวเนื่องกับการชนกันของทวีประหว่างแผ่นอินเดียและแผ่นยูเรเชียที่มีการมุดตัวหากันอย่างต่อเนื่อง ในอัตรา 40–50 มม. (1.6–2.0 นิ้ว) ต่อปี แผ่นอินเดียมุดเข้าไปใต้เปลือกทวีปของแผ่นยูเรเชียน ทำให้เกิดรอยเลื่อน แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนประเภทแรงผลักเหล่านี้ ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา [22]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง