แฟลตไวต์

เครื่องดื่มกาแฟเอสเพรสโซ

แฟลตไวต์ (อังกฤษ: flat white) เป็นเครื่องดื่มกาแฟที่ประกอบด้วยเอสเปรสโซกับไมโครโฟม (นมไอน้ำซึ่งมีลักษณะฟองขนาดเล็ก) โดยทั่วไปมักมีสัดส่วนของเอสเปรสโซต่อนมที่มากกว่าลัตเตและมีชั้นของไมโครโฟมที่บางกว่าในคัปปูชิโน ที่มาของเครื่องดื่มนี้ไม่เป็นที่ทราบชัดเจน กระนั้นมีเจ้าของร้านกาแฟในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อ้างตนว่าเป็นผู้คิดค้น

แฟลตไวต์ในประเทศอังกฤษ แต่งหน้าด้วยศิลปะบนแก้วกาแฟ

ลักษณะ

แอนเนต มอลด์แวร์ (Anette Moldvaer) ระบุว่าแฟลตไวต์ประกอบด้วยดับเบิลเอสเปรสโซ (double espresso, คิดเป็น 50 ml/1.5 fl oz) และนมไอน้ำขนาดราว 130 มิลลิลิตร (4 fl oz) และไมโครโฟมชั้นหนา 5 มิลลิเมตร (0.25 นิ้ว)[1] จากผลการสำรวจนักวิจารณ์ในอุตสาหกรรม แฟลตไวต์มีชั้นของไมโครโฟมบาง ๆ อยู่ด้านบน อันเป็นที่มาของชื่อ “แฟลต“ (เรียบแบน) ในชื่อ ซึ่งตรงกันข้ามกับชั้นโฟมอย่างหนาที่พบในคัปปูชิโนแบบดั้งเดิม[2]

สูตรสำหรับการทำแฟลตไวต์มีความต่างกันไปตามร้านกาแฟและพื้นที่ ในออสเตรเลีย แฟลตไวต์จะเสิร์ฟในแก้วเซรามิก โดยทั่วไปมีปริมาตรพอกับแก้วลัตเต (200 ml, 7.0 imp fl oz)[3] แฟลตไวต์แบบนิวซีแลนด์มักจะเสิร์ฟในแก้วทรงดอกทิวลิป (165 ml, 5.8 imp fl oz) ในทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าความต่างระหว่างลัตเตกับแฟลตไวต์อยู่ที่อัตราส่วนของนมต่อกาแฟ และความข้นของนมซึ่งต่างกันที่กระบวนการให้ความร้อนนม[4]

ที่มาและประวัติศาสตร์

นักประวัติศาสตร์ด้านกาแฟ เอียน แบร์สเติน (Ian Bersten) ระบุว่าแม้ที่มาของแฟลตไวต์จะไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เครื่องดื่มนี้น่าจะมีที่มาจากประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1950[5] มีการกล่าวถึงเครื่องดื่มนี้ในออสเตรเลียตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 บทวิจารณ์หนึ่งของร้านกาแฟ มิลเลอส์ทรีต (Miller's Treat) ในนครซิดนีย์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 1983 มีการกล่าวถึง "กาแฟแฟลตไวต์" (flat white coffee)[6]

ที่ร้านมัวส์เอสเปรสโซบาร์ (Moors Espresso Bar) ในนครซิดนีย์ แอลัน เพรสตัน (Alan Preston) นำเครื่องดื่มนี้ใส่เป็นส่วนหนึ่งของรายการเครื่องดื่มถาวรในปี 1985[5][7] เพรสตันอ้างว่าเขาได้นำเข้าแนวคิดนี้มายังซิดนีย์จากบ้านเกิดของเขาที่ควีนส์แลนด์ ที่ซึ่งร้านกาแฟในระหว่างทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 มักมีให้บริการเครื่องดื่ม "ไวต์คอฟฟี-แฟลต" (White Coffee – flat)[8]

ที่นิวซีแลนด์ก็มีการกล่าวอ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของแฟลตไวต์เช่นเดียวกัน[9][5] หนึ่งในผู้ที่กล่าวอ้างมาจากนครออกแลนด์ โดยเดเร็ก ทาวน์เซนด์ (Derek Townsend) กับ แดเรล อาเลอส์ (Darrell Ahlers) จากคาเฟดีเคดี (Cafe DKD) ซึ่งอ้างว่าสร้างแฟลตไวต์ขึ้นเป็นตัวเลือกสำหรับลัตเตแบบอิตาลี[10][11] อีกคำกล่าวอ้างมีที่มาจากนครเวลลิงตัน ซึ่งอ้างว่าเป็น "คัปปูชิโนที่ล้มเหลว" จากบาร์บอเดกา บนถนนวิลลิส (Willis St) ในปี 1989[9] เคร็ก มิลเลอร์ ผู้ประพันธ์หนังสือ Coffee Houses of Wellington 1939 to 1979 (ร้านกาแฟในเวลลิงตัน 1939-1979) อ้างว่าเป็นเคยเตรียมแฟลตไวต์ในนครออกแลนด์ในกลางทศวรรษที่ 1980[9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง