แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3)[1]

ภาพรวม

แอ่งพายุหมุนเขตร้อนและศูนย์เตือนภัยอย่างเป็นทางการ
แอ่งศูนย์เตือนภัยพื้นที่รับผิดชอบ
ซีกโลกเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก
สหรัฐอเมริกา ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, ชายฝั่งอเมริกาถึง 140°ตะวันตก
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 140°ตะวันตก-180
[2]
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเส้นศูนย์สูตร-60°เหนือ, 180-100°ตะวันออก
5°เหนือ-20°เหนือ, 115°ตะวันออก-135°ตะวันออก
[3]
มหาสมุทรอินเดียเหนือกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งอินเดียทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 100°ตะวันออก-45°ตะวันออก[4]
ซีกโลกใต้
ใต้-ตะวันตกของ
มหาสมุทรอินเดีย
ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาเมาทริอัส
อุตุนิยมวิทยามาดากัสการ์
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, 55°ตะวันออก-90°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, ชายฝั่งแอฟริกา-55°ตะวันออก
[5]
ภูมิภาคออสเตรเลียสำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย
สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 90°ตะวันออก-141°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 141°ตะวันออก-160°ตะวันออก
10°ใต้-36°ใต้, 90°ตะวันออก-160°ตะวันออก
[6]
มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟีจี
สำนักบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์
เส้นศูนย์สูตร-25°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
25°ใต้-40°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
[6]

ซีกโลกเหนือ

มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

เส้นทางเดินพายุในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

ในภูมิภาคนี้ประกอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลแคริบเบียน และ อ่าวเม็กซิโก โดยพายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวที่นี่ แตกต่างกันไปอย่างกว้างขวางจาก ตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 25 ลูกต่อปี[7] พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่ จะก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน

ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จะตรวจสอบและออกรายงาน การเฝ้าระวัง และการเตือนภัย เกี่ยวกับระบบอากาศของเขตร้อนในแอ่งแอตแลนติก ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาคสำหรับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งกำหนดโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[8] โดยเฉลี่ย จะมีพายุได้รับชื่อ 11 ลูก (สำหรับพายุโซนร้อนหรือรุนแรงกว่า) ที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดู ซึ่งโดยเฉลี่ย 6 ลูกจะกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคน และ 2 ลูกกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ ตามภูมิอากาศ กิจกรรมจะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 10 กันยายน ของแต่ละฤดู[9]

ชายฝั่งสหรัฐอเมริกาด้านแอตแลนติก และด้านอ่าว, เม็กซิโก, อเมริกากลาง, หมู่เกาะแคริบเบียน และ เบอร์มิวดา จะได้รับผลกระทบบ่อยครั้งจากพายุในแอ่งนี้ ในเวเนซุเอลา, 4 จังหวัดของแคนาดาแอตแลนติก และหมู่เกาะมาคาโรนีเซียแอตแลนติก จะได้รับผลกระทบเป็นครั้งคราว พายุในแอตแลนติกหลายลูกมีกำลังแรงจากพายุเฮอร์ริเคนประเภทกาบูเวร์ดี ซึ่งเกิดขึ้นทางชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา ใกล้กับหมู่เกาะกาบูเวร์ดี

เป็นครั้งคราวที่พายุเฮอร์ริเคน จะวิวัฒนาการเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเดินทางไปถึงประเทศในยุโรปตะวันตก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพายุเฮอร์ริเคนกอร์ดอน ซึ่งทำให้เกิดลมแรงกระจายไปทั่วประเทศสเปน และ บริติชไอลส์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[10] พายุเฮอร์ริเคนวินซ์ ซึ่งพัดขึ้นแผ่นดินทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสเปน ด้วยความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นพายุที่พัดเข้าถล่มยุโรปในสถานะพายุหมุนเขตร้อน[11]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก

เส้นทางเดินพายุของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกนี้มีพายุก่อตัวมากเป็นอันดับสอง และมีอัตราการก่อตัวต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด โดยฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิกนี้ จะมีกิจกรรมในระหว่างวันที่ 15 พฤศภาคม ถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี และครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของกิจกรรมในภูมิภาค[12] ในช่วงปี พ.ศ. 2514 ถึง 2548 จะมีพายุก่อตัวโดยเฉลี่ยดังนี้ คือ 15-16 ลูก เป็นพายุโซนร้อน, 9 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคน และ 4-5 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่[12]

พายุแบบนี้มักส่งผลกระทบกับเม็กซิโกตะวันตก และส่วนน้อยในรัฐใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐแคลิฟอร์เนีย), หรือทางเหนือของอเมริกากลาง ไม่มีข้อมูลสมัยใหม่ของพายุที่เข้าโจมตีแคลิฟอร์เนีย อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์จาก เสียงของพายุ ค.ศ. 1858 ที่ซานดีเอโก มีความเร็วลมมากกว่า 75 ไมล์ต่อชั่วโมง - 65 นอต (เป็นความรุนแรงในระดับร่อแร่ของพายุเฮอร์ริเคน) ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่าพายุได้ขึ้นฝั่งบนแผ่นดินจริง[13] แต่พายุโซนร้อนใน 2482, 2519 และ 2540 ทำให้เกิดแรงคลื่นลมในแคลิฟอร์เนีย[13]

พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง เริ่มขอบเขตต่อจากพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (ที่ 140 °ตะวันตก) และไปจบลงที่เส้นแบ่งเขตวันสากล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[14] ฤดูพายุเฮอร์ริเคนของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจะมีช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน[15] ซึ่งศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลางจะเป็นผู้ตรวจสอบการก่อตัวหรือพัฒนาและการเคลื่อนตัวของพายุในพื้นที่รับผิดชอบของตน[14] ก่อนหน้าที่จะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ในแอ่ง มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้คือศูนย์เตือนภัยเฮอร์ริเคนร่วม ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม

พายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ลูก เกิดหรือเคลื่อนตัวมาในแอ่งนี้ในทุกปี[15] เนื่องจากไม่มีแผ่นดินขนาดใหญ่อยู่ในแอ่งนี้หรือติดกับแอ่งนี้ การที่พายุจะเข้าโจมตีหรือพัดขึ้นฝั่งจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งมันก็เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนอินิกิ ในปี พ.ศ. 2535 ได้พัดเข้าบนแผ่นดินของฮาวาย[16] และ พายุเฮอร์ริเคนโอก ในปี พ.ศ. 2549 ได้พัดเข้าโจมตีจอห์นสตันอะทอลล์โดยตรง[17]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548 เส้นตรงที่อยู่มุมขวาของภาพคือเส้นแบ่งเขตวันสากล

มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก คือพื้นที่ที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดบนดาวเคราะห์โลก ในทุกปีจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวประมาณ 25.7 ลูกโดยเฉลี่ย ซึ่งบางครั้งกลายเป็นพายุโซนร้อนหรือรุนแรงกว่านั้น ซึ่งมีพายุไต้ฝุ่นเฉลี่ย 16 ลูกในแต่ละปี ระหว่างปี พ.ศ. 2511 ถึง 2532[7] แอ่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล รวมถึงทะเลจีนใต้ด้วย[14] ซึ่งเราอาจเห็นกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งนี้ได้ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม[18]

พายุในภูมิภาคนี้มักจะส่งผลกระทบกับ จีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และ เวียดนาม รวมทั้งหมู่เกาะโอเชียเนียมากมาย เช่น กวม, หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และ ปาเลา และบางครั้งจะส่งผลกับทบกับ กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, ไทย และแม้กระทั่งสิงค์โปร์ ที่เป็นจุดที่อยู่ไกลจากพื้นที่ที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อน คิดเป็นหนึ่งในสามของกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมด ชายฝั่งของจีน เป็นจุดที่เห็นการพัดขึ้นฝั่งของพายุหมุนเขตร้อนได้มากที่สุดในโลก[19] ส่วนกลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ และมีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้าฝั่ง 6-7 ลูกต่อปี[20]

มหาสมุทรอินเดียเหนือ

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่อ่าวเบงกอล และพื้นที่ทะเลอาหรับ ซึ่งกิจกรรมมักจะอยู่ในพื้นที่อ่าวเบงกอล (5-6 ครั้ง) และยังคงเป็นพื้นที่ที่มีพายุมีกิจกรรมน้อยที่สุดในโลก คือมีพายุแค่ 4-6 ลูกต่อปี ซึ่งจะมีช่วงที่มีพายุก่อตัวมากที่สุด หนึ่งครั้งในเดือนเมษายน และ พฤษภาคม ก่อนมรสุมจะเข้ามามีบทบาทกับพื้นที่ และหลังจากนั้นในช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน[21] แม้ว่าจะเป็นแอ่งที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่ก็มีพายุหมุนเขตร้อนที่อันตรายที่สุดในโลกเกิดขึ้นที่นี่ได้ หนึ่งในนั้นคือ พายุไซโคลนโบลา พ.ศ. 2513 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนกว่า 500,000 คน และมีชาติที่ได้รับผลกระทบทั้ง อินเดีย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา, ไทย, พม่า และ ปากีสถาน ส่วนในพื้นที่ทะเลอาหรับ คาบสมุทรอาหรับ หรือ โซมาเลีย เป็นพื้นที่ที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก อย่างไรก็ตาม พายุไซโคลนโกนูได้เคยส่งผลกระทบกับประเทศโอมานมาแล้วในปี พ.ศ. 2550

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

เป็นพื้นที่ที่มีโอกาสก่อตัวของระบบ ที่คล้ายกับพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก ที่สามารถมีความรุนแรงได้เทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า เมดิเคน (เมดิเตอร์เรเนียน-เฮอร์ริเคน) แม้ว่าขนาดของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ของมหาสมุทรในเขตร้อนและเมดิเตอเรเนียน จะแตกต่างกันชัดเจน ซึ่งกลไกของปรากฏการณ์นี้เกิดจาก ตวามไม่สมดุลทางอุณหพลศาสตร์ของอากาศเหนือทะเล หรือที่คล้ายกัน[22] ต้นกำเนิดของพวกมันมักจะไม่ใช่เขตร้อน และพัฒนาในพื้นที่เปิดของน้ำอย่างแข็งแกร่ง ในตอนแรกแกนเย็นของพายุหมุนจะมีความคล้ายคลึงกับพายุหมุนกึ่งเขตร้อน หรือพายุหมุนเขตร้อนผิดปกติในแอ่งแอตแลนติก เหมือน คาร์ล, วินซ์, เกรซ หรือ คริส[23] อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และต้นเดือนกันยายน จะค่อนข้างสูงกว่าแอ่ง (+24/+28 °ซ) แม้ว่าการวิจัยจะระบุว่าอุณหภูมิ 20 °ซ เป็นอุณหภูมิปกติที่จะมีการก่อตัว[24]

วรรณกรรมทางอุตุนิยมวิทยาระบุว่าระบบดังกล่าวเกิดขึ้นใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2490, เดือนกันยายน พ.ศ. 2512, เดือนมกราคม พ.ศ. 2525, เดือนกันยายน พ.ศ. 2526, เดือนมกราคม พ.ศ. 2538, เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539, เดือนกันยายน พ.ศ. 2549, เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557[25][26] ระบบในปี พ.ศ. 2538 ก่อตัวได้ดีและมีการพบตาของพายุด้วย และมีลมที่บันทึกได้ 140 กม./ชม. และมีความกดอากาศที่ 975 มิลลิบาร์ แม้ว่ามันจะมีโครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน และอุณหภูมิน้ำทะเลที่ 16 °ซ ชี้ให้เห็นว่ามันมีขั้วที่ต่ำ[27]

ซีกโลกใต้

ภายในซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนก่อตัว เป็นประจำระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกัน พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ยังได้รับการสังเกตในบางเวลา ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันในการแยกพื้นที่ระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกา ตัวอย่างเช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้กำหนดหน่วยงานต่างกัน 3 แอ่งในการติดตามการก่อตัวและเตือนภัยของพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระหว่างมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ จากชายฝั่งแอฟริกาถึง 90°ตะวันออก, ภูมิภาคออสเตรเลีย ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกา จะตรวจสอบในทุกภูมิภาค แต่แยกได้ ณ 135°ตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกใต้และมหาสมุทรอินเดียใต้

มหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้ ระหว่างชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ถึง 90°ตะวันออก และมีการตรวจสอบโดย RSMC เรอูว์นียง ขณะที่มอริเชียส, ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และหน่วยงานสภาพอากาศในมาดากัสกาก็เข้าตรวจสอบด้วยบางส่วน[28] จนกระทั่งการเริ่มต้นของฤดู 2528–29 แอ่งนี้ขยายไปถึง 80°ตะวันออก โดยระหว่าง 80°ตะวันออก ถึง 90°ตะวันออก ถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคออสเตรเลีย[29] เฉลี่ยแล้วมีพายุประมาณ 9 ลูกก่อตัวในแอ่งนี้ ขณะที่ 5 ลูก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงเทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคนหรือพายุไต้ฝุ่น[30] พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวบริเวณนี้จะมีผลกระทบต่อบางส่วนของประเทศหรือหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรอินเดีย หรือตามแนวชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา

ภูมิภาคออสเตรเลีย

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

จากกลางปี พ.ศ. 2528 แอ่งนี้ขยายไปทางทิศตะวันตกที่ 80°ตะวันออก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพรมแดนด้านตะวันตกจึงอยู่ที่ 90°ตะวันออก[29] กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมักจะมีผลกระทบกับออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ตามที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงาน ส่วนที่ถูกพายุโจมตีบ่อยที่สุดของออสเตรเลียคือช่วงระหว่างเอ็กซ์เมาท์, เวสเทิร์นออสเตรเลีย ถึงบรูม, เวสเทิร์นออสเตรเลีย[31] โดยเฉลี่ยอ่างนี้จะมีพายุประมาณ 7 ลูกต่อปี แม้ว่ามันสามารถมีมากขึ้นได้จากแอ่งอื่นๆ ได้ เช่น แปซิฟิกใต้[7][32][33] โดยมีพายุไซโคลนแวนซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเร็วลมสูงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ที่เมืองในออสเตรเลีย ประมาณ 267 กม./ชม.[34]

มหาสมุทรแปซิฟิกใต้

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มต้นที่ 160°ตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ 120°ตะวันตก ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบพายุอย่างเป็นทางการคือหน่วยงานทางอุตุนิยมวิทยาของฟีจี และนิวซีแลนด์ พายุที่ก่อตัวในเขตนี้โดยทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อประเทศทางตะวันตกของเส้นวัน แม้ว่าช่วงเอลนีโญจะมีพายุก่อตัวช่วงตะวันออกของเส้นแบ่งวันใกล้กับเฟรนช์พอลินีเชีย โดยเฉลี่ยในแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัวประมาณ 1/2 ลูกและกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง

มหาสมุทรแอตแลนติกใต้

พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในแอ่งนี้ได้ยาก และแอ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นแอ่งพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นทางการ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนสามารถก่อตัวได้เป็นครั้งคราวได้ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และพายุที่กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างเต็มตัวคือ พายุไซโคลนคาตารินา เมื่อปี พ.ศ. 2547 และพัดเข้าถล่มบราซิล ต่อมาคือพายุโซนร้อนแอนิตา พ.ศ. 2553 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของริโอแกรนด์โดซูล

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง