โครนอส

โครนอส (อังกฤษ: Chronos, /ˈkroʊnɒs/) หรือ โครโนส (กรีก: Χρόνος, "เวลา", /kʰrónos/) เป็นบุคลาธิษฐานของเวลาในปรัชญาก่อนสมัยโสกราตีสและในวรรณกรรมหลังจากนั้น[1]

โครนอส
บุคลาธิษฐานของเวลา
Time Clipping Cupid's Wings (1694) โดยปีแยร์ มีญาร์
ชื่ออื่นไอออน
สัญลักษณ์เคียวเกี่ยวข้าว, วงล้อจักรราศี
คู่ครองอะแนงกี
บุตร - ธิดา
  • เคออส
  • อีเธอร์ (เทพปกรณัม))อีเธอร์
  • เฟนีส
  • เอรีบัส
  • มอยเร
  • เฮมารา
  • ฮอรี
บิดา-มารดาไม่มี เกิดด้วยตนเอง

มีการสับสันระหว่างโครนอสกับโครนัส (Cronus) ซึ่งเป็นไททัน ตั้งแต่สมัยโบราณแล้วเพราะทั้งสองมีชื่อคล้ายกัน[2] แต่เอกสารโบราณบางชิ้นไม่ได้สับสนโครนอสกับโครนัสเพราะเชื่อว่า ทั้งสองเป็นเทพองค์เดียวกันจริง ๆ โดยความเชื่อนี้ได้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นสมัยที่มีการเปรียบเวลาเป็นดั่งพ่อ จึงเรียกเวลาว่า "บิดาเวลา" (Father Time) โดยบิดาเวลานี้มีลักษณะเป็นมนุษย์ที่ถือเคียวด้ามยาว[3] เอกสารกรีกบางชิ้นระบุว่า โครนอสเป็นพี่หรือน้องของไครอส แต่เอกสารชิ้นอื่นระบุว่าเป็นบุตร

นักศิลปะโมเสกแบบกรีก-โรมันมักวาดโครนอสเป็นผู้ชายที่กำลังหมุนกงจักรราศี (Zodiac Wheel)[4] โดยเป็นผู้ชายที่มีอายุสูง มีลักษณะเป็นนักปราชญ์ เครายาวสีขาว ซึ่งลักษณะเหล่านี้มีความคล้ายบิดาเวลา นอกจากนี้โครนอสยังได้รับการเปรียบเทียบกับอีออน (Aion) ซึ่งเป็นเทพแห่งเวลา แต่เป็นเวลาที่หมุนรอบกลับมาที่เดิม[5]

ชื่อและนิรุกติศาสตร์

โครนอสและลูก โดยโจวานนี ฟรานเชสโก โรมาเนลลี พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในวอร์ซอว์ ภาพวาดในศตวรรตที่ 17 ของไททันโครนัส ซึ่งวาดเป็น "บิดาเวลา" ถือเคียว

ชาวโบราณบางครั้งนับโครนอสว่าเป็นโครนัส[6] พลูทาร์ก นักเขียนชีวประวัติและนักปรัชญาชาวกรีก กล่าวว่าชาวกรีกเชื่อว่าโครนัสเป็นชื่อเชิงอุปมานิทัศน์ของโครนอส[7] นอกเหนือจากชื่อ เรื่องเล่าของโครนัสกินลูกตนเองก็นับว่าเป็นอุปมานิทัศน์ของเวลาแบบจำเพาะที่อยู่ในเขตอิทธิพลของโครนัส ตามทฤษฎีนี้ โครนัสเป็นตัวแทนของการทำลายล้างเวลาที่ได้ครอบงำสรรพสิ่งทั้งปวง แนวคิดนี้ปรากฏขึ้นเมื่อผู้เป็นพระราชาไททันได้กินเหล่าเทพเจ้าแห่งโอลิมปัสไป ซึ่งอาจหมายความว่า อดีตครอบงำอนาคต หรือคนรุ่นเก่ากดขี่คนรุ่นใหม่[ต้องการอ้างอิง] ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา การพิสูจน์รูปพรรณของโครนัสและโครนอสทำให้มี "บิดาเวลา" ถือเคียวเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

ความหมายและรากศัพท์เดิมของคำว่า โครนอส ยังไม่ชัดเจน[8] ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้โครนอสเป็นแม่คำได้แก่ chronology (ลำดับเวลา), chronometer (มาตรเวลา), chronic (เรื้อรัง, ยืดเยื้อ), anachronism (การผิดกาละ) และ chronicle (บันทึกเหตุการณ์) เป็นต้น

ปรัมปราวิทยา

ตามปรัมปราวิทยาแบบออร์เฟียส โครนอส ผู้ไม่มีวันชรา บังเกิดมาจาก "ดินและน้ำ" และให้กำเนิดอีเธอร์และเคออส และไข่ฟองหนึ่ง[9] ไข่ฟองนี้ทำให้มีเฟนีส เทพเจ้าสองเพศ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเทพเจ้ารุ่นแรกและเป็นผู้สร้างจักรวาล

ในประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ผลงานที่หายสาบสูญไปของเฟเรสิดีสแห่งไซรอส ชื่อ เฮปตาไมคอส (Heptamychos แปลว่า เจ็ดซอกเล็ก) อ้างว่ามีสามหลักการที่อยู่ชั่วนิรันดร์ คือ โครนอส (Chronos) ซาส (Zas) (ซูส) และ คโธนี (Chthonie) (ยมโลกหรือใต้พิภพ) โดยอสุจิของโครนอสถูกวางไว้ในซอกเล็กต่าง ๆ ของโลก และเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดเทพเจ้ารุ่นแรกทั้งปวง[10]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร