โคลงนิราศหริภุญชัย

(เปลี่ยนทางจาก โคลงหริภุญชัย)

โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นกวีเก่าที่มีประมาณ 720 บรรทัด เดิมแต่งเป็นภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยคำว่า นิราศ มาจากคำศัพท์ภาษาสันสกฤตแปลว่า “ไม่มี” เป็นแนวการแต่งกวีที่มีการเดินทางไกลและแยกจากผู้เป็นที่รัก[1] หริภุญชัยเป็นอาณาจักรโบราณที่มีศูนย์กลางที่จังหวัดลำพูน โดยพญามังรายทรงผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 กวีนี้กล่าวถึงการเดินทางจากเชียงใหม่ไปยังลำพูนเพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุหริภุญชัย โดยไปเยี่ยมชมวัดและข้างทางประมาณ 20 แห่ง ในระหว่างการเดินทาง ผู้แต่งรู้สึกคร่ำครวญถึงการแยกจากนางศรีทิพ ผู้เป็นที่รักของเขา การเดินทางใช้เวลาสองถึงสามวัน กวีนี้จบลงที่เทศกาลพระบรมสารีริกธาตุที่ราชินีกับพระราชโอรสเสด็จมาด้วย เนื้อเรื่องเดิมสืบไปได้ถึง ค.ศ. 1517-1518 บทกวีได้รับการชื่นชมเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องจากความยากของภาษาเก่า

วัดพระธาตุหริภุญชัย ภาพถ่ายโดย Ritthichai Siangdee

เอกสารตัวเขียนและการเผยแพร่

มีข้อความเจ็ดข้อความที่เขียนบนใบลานด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ซึ่งพบในจังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน และพะเยา ส่วนอีกข้อความหนึ่งที่เขียนบนสมุดข่อยในภาษาไทยถูกเก็บอยู่ในสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีสี่ฉบับที่มีเนื้อหาคล้ายกัน เชื่อกันว่าเอกสารตัวเขียนอาจนำมาจากล้านนาไปที่อาณาจักรอยุธยาตอนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2204 แล้วไปแปลเป็นภาษาไทย แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้[2][3]

ข้อความฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติใน พ.ศ. 2467 ที่มีคำนำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ผลงานนี้ “อาจเป็นต้นแบบของนิราศที่แต่งในอยุธยาและส่งลงมาถึงกรุงเทพ”[4] อย่างไรก็ตาม ผลงานนี้มีคนอ่านน้อยเพราะใช้ภาษาที่คลุมเครือ ใน พ.ศ. 2486 ประเสริฐ ณ นครเริ่มถอดความอักษรล้านนาไปเป็นอักษรไทย ทำให้มีการตีพิมพ์ใช้งานเป็นการส่วนตัวและเป็นหนังสืองานศพในปีถัดมา ในช่วง พ.ศ. 2502 พระยาอนุมานราชธนส่งเสริมให้ประเสริฐแปลเพิ่มและตีพิมพ์ผลงานนี้ ทำให้มีการตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมภาษาและวรรณคดีไทยใน พ.ศ. 2503 ใน พ.ศ. 2516 ประเสริฐตีพิมพ์ฉบับขยายที่มีอักษรล้านนา อักษรไทย คำอธิบาย และภาคผนวกของคำและสถานที่โดยวิจิตร ยอดสุวรรณ (Wijit Yodsuwan)[5]

ใน พ.ศ. 2532 ลมูล จันทน์หอม จบการศึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการเปรียบเทียบข้อความฉบับล้านนาหกบรรทัดที่เขาอ้างว่า “ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด”[6]

ใน พ.ศ. 2535 ทิว วิชัยขัทคะ กับไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว ตีพิมพ์ฉบับอักษรล้านนาอีกฉบับที่พวกเขากล่าวว่าเป็น “ฉบับลำพูน”[7] และใน พ.ศ. 2562 วินัย พงศ์ศรีเพียร เรียบเรียงนิราศแบบใหม่เสร็จที่มีการเทียบกับภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมกับงานวิจัยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภูมิหลังของนักกวี[8]

ชื่อ นิราศหริภุญชัย อาจมาหลังจากกวีแนว นิราศ ได้พัฒนาแล้ว[1] เช่นในเอกสารตัวเขียนหนึ่งจากวัดเจดีย์หลวงกวีนี้มีชื่อว่า ลำลพุน[9]

ปีที่แต่งและผู้ประพันธ์

บทเปิดกวีให้ปีหนไทว่า “ปีเมิงเป้า” ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2000, 2060, 2120, 2180 เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คาดการณ์ว่าอยู่ใน พ.ศ. 2180 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองหรือก่อนหน้านั้น[4]

ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่ากวีนี้เขียนใน พ.ศ. 2060-2061 โดยในกวีกล่าวถึงพระแก้วมรกต ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจริงเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2011 ถึง 2091 และพระพุทธสิหิงค์ประทับที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจริงเฉพาะใน พ.ศ. 1950 ถึง 2091 ดังนั้น ช่วงปีที่ตรงกับปีนักษัตรนี้คือ พ.ศ. 2060/2061[10] แต่มีนักวิชาการบางส่วนตั้งข้อสงสัยถึงวันที่เริ่มเขียน[11]

เมื่อดูคำศัพท์ในกวี จึงเป็นที่กระจ่างว่าผู้แต่งกับผู้เป็นที่รักเป็นเชื้อพระวงศ์[12] เช่น เขากล่าวถึงของถวายของตนว่า ราชกุศล (“ผลงานที่ดีของกษัตริย์” (v.126)) และกล่าวถึงผู้เป็นที่รักว่า อัคคชา (“มเหสีหลัก/ราชินี” (v.127))

วินัย พงศ์ศรีเพียรเสนอว่าผู้แต่งคือพระเมืองแก้ว (ครองราชย์ พ.ศ. 2038–2068) กษัตริย์ล้านนาใน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2060 และศรีทิพดำรงตำแหน่งเป็นพระมเหสี[13] ในขณะที่อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวเสนอว่าผู้แต่งคือศิริยวาปีมหาอำมาตย์ ขุนนางชั้นมหาอำมาตย์จากลำปาง และศรีทิพคือภรรยาของเขา ส่วนโป่งน้อยคือพระราชมารดาของพระเมืองแก้ว[14]

เรื่องย่อ

เริ่มบทบูชาพระรัตนตรัย บอกวันเวลาที่แต่ง แล้วกล่าวถึงการที่ต้องจากนางที่เชียงใหม่ไปบูชาพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก่อนออกเดินทางได้นมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ ณ วัดพระสิงห์ ผ่านวัดทุงยู วัดศรีเกิด วัดผาเกียร (ชัยพระเกียรติ) วัดอูปแป้น ขอพรพระมังราชหรือพระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลเทพารักษ์ ผ่านหอพระแก้ว (กุฏาราม) นมัสการลาพระแก้วมรกต ณ วัดเจดีย์หลวง ผ่านวัดช่างแต้ม วัดเจ็ดลิน วัดเสฏฐา (วัดเชษฐา) วัดฟ่อนสร้อย วัดเชียงสง ออกประตูเชียงใหม่ ผ่านวัดศรีมหาทวาร (วัดเชียงของ) วัดพันงอม วัดเถียงเส่า วัดกุฎีคำ (วัดธาตุคำ) วัดน่างรั้ว ออกประตูขัวก้อม ขึ้นขบวนเกวียน ผ่านวัดกู่คำหลวง (วัดเจดีย์เหลี่ยม) วัดพระนอนป้านปิง (วัดพระนอนหนองผึ้ง) วัดยางหนุ่ม (วัดกองทราย) หยุดพักนอนที่กาดต้นไร (ตลาดต้นไทร) 1 คืน เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณนาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอดทางจนถึงเมืองหริภุญชัย ได้นมัสการพระธาตุหริภุญชัยสมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ก่อนแวะไปนมัสการพระที่วัดพระยืน ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่

รูปแบบ

โคลงนี้มีโคลงสี่สุภาพ 181 โคลงที่มีทำนองและน้ำเสียงต่างกัน และไม่มีการเชื่อมโคลง[15]

สถานที่ในโคลงนิราศหริภุญชัย

สถานที่ในนิราศหริภุญชัย[16][17][11]
โคลงบทที่ชื่อปัจจุบันที่อยู่ตำแหน่ง
10พระวรเชษฐช้อย ศรีสิงห์วัดพระสิงห์ถนนสามล้าน18.7884, 98.9818
12ทุงยูวัดทุงยูถนนราชดำเนิน18.7887, 98.9842
12ศรีเกิดวัดศรีเกิดถนนราชดำเนิน18.7882, 98.9840
12ปราเกียรวัดชัยพระเกียรติถนนราชดำเนิน18.7886, 98.9859
14หอมังราชเจ้าหอผีพระญามังรายถนนพระปกเกล้า18.7888, 98.9882
15กุฏารามหอพระแก้ว (หายไป)[18]
15อุปแป้นวัดอูปแป้น (หายไป)
16มหาอาวาสสร้อยศรีสถานวัดเจดีย์หลวงถนนพระปกเกล้า18.7869, 98.9865
19เสฐฐาวัดเสฏฐา (เชษฐา) ร้างในโรงเรียนพุทธิโศภณ18.7858, 98.9891
19ช่างแต้มวัดช่างแต้มถนนพระปกเกล้า18°47'07.2"N 98°59'18.0"E
20เจ็ดลินวัดเจ็ดลินถนนพระปกเกล้า18.7837, 98.9880
21ฟ่อนสร้อยวัดฟ่อนสร้อยถนนพระปกเกล้า18.7825, 98.9885
23เชียงสงวัดเชียงสงร้างถนนพระปกเกล้า18.782204, 98.988426
24เชียงใหม่หม้า ทวารทองประตูเชียงใหม่ถนนบำรุงบำรี18.7813, 98.9890
27ศรีมหาทวารวัดศรีมหาทวาร (วัดเชียงของ) ร้าง[19]ถนนช่างหล่อ18.780952, 98.988473
28พันงอมหายไป
29เถียงเส่าอาจเป็นวัดแสนเส่าถนนสุริวงศ์18.7786, 98.9885
30กุฎีคำวัดธาตุคำถนนสุริวงศ์18.7774, 98.9886
31น่างรั้ววัดยางกวงถนนสุริวงศ์18.7760, 98.9890
32ทวารทองประตูขัวก้อมถนนสุริวงศ์18.772330521074743, 98.99004477434806
45กู่คำหลวงวัดเจดีย์เหลี่ยมเวียงกุมกาม18.7539, 98.9959
49พระขวางอาจเป็นวัดพระนอนหนองผึ้งหนองผึ้ง18.7386, 99.0124
67ยางหนุ่มวัดกองทรายหนองผึ้ง18.7304, 99.0205
73หัวฝายวัดหัวฝายตำบลหนองผึ้ง18.7133, 99.0362
77กาดต้นไรตลาดต้นไทรไม่ทราบ
104พระธาตุเจ้าจอมจักรวัดพระธาตุหริภุญชัยจังหวัดลำพูน18.5772, 99.0082
146พระพุทธเจ้า จตุตนวัดพระยืนจังหวัดลำพูน18.5763, 99.0193

ตัวอย่าง

ในโคลงที่ 31 เขายกย่องวัดที่ปัจจุบันคือวัดยางกวงริมถนนสุริวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่ และคิดถึงผู้เป็นที่รักว่า:

อารามเรียงรุ่นหั้นเงางาม
เป็นปิ่นบุรีนามน่างรั้ว
บเห็นนาฏนงรามบวรสวาท สยบเอย
ทังขื่อชีพิตกั้วโลกนี้นามนิพาน

ในโคลงที่ 161 เขายกย่องราชินีตอนมาถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยว่า:

ธาดาอห่อยเนื้อทิพมาล
ไทงาศสันเฉลิมปานแต่งแต้ม
อานาศาสตร์พันพานเพิงแพ่ง งามเอย
ยลยิ่งนางฟ้าแย้มย่างย้ายลดาวัลย์

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร