โมซัมบิกของโปรตุเกส

โปรตุเกสโมซัมบิก (โปรตุเกส: Moçambique) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า แอฟริกาตะวันออกของโปรตุเกส (África Oriental Portuguesa) เป็นคำเรียกทั่วไปสำหรับโมซัมบิกสมัยในอดีตเมื่อยังเป็นดินแดนโพ้นทะเลของโปรตุเกส ประกอบด้วยหมู่อาณานิคมโปรตุเกส และภายหลังรวมกันเป็นมณฑลโพ้นทะเลของโปรตุเกสตามชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันประกอบขึ้นเป็นสาธารณรัฐโมซัมบิก

โปรตุเกสโมซัมบิก
แอฟริกาตะวันออกของโปรตุเกส[1]

Moçambique
África Oriental Portuguesa
ค.ศ. 1498–ค.ศ. 1975
เพลงชาติ"อูอีนูปราเตียติโก" (ค.ศ. 1808–26)
เพลงของผู้รักชาติ
noicon

"อูอีนูดาการ์ตา" (ค.ศ. 1826–1911)
เพลงสรรเสริญรัฐธรรมนูญ
noicon

"อาปูร์ตูเกซา" (ค.ศ. 1911–1975)
The Portuguese
noicon
ดินแดนแอฟริกาตะวันออกของโปรตุเกส
ดินแดนแอฟริกาตะวันออกของโปรตุเกส
สถานะอาณานิคม และ ดินแดนโพ้นทะเล;
รัฐของจักรวรรดิโปรตุเกส
เมืองหลวงสโตนทาวน์ (ค.ศ. 1507 to 1898)
Lourenço Marques (ค.ศ. 1898 to 1975)
ภาษาทั่วไปภาษาโปรตุเกส
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1498–1521
พระมหากษัตริย์ พระเจ้ามานูแวลที่ 1
• 1974–75
ประธานาธิบดี Francisco da Costa Gomes
ผู้สำเร็จราชการ 
• 1609–11
Sancho de Tovar (คนแรก)
• 1974–75
Vítor Manuel Trigueiros Crespo (คนสุดท้าย)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 
• 1569–73
Francisco Barreto (คนแรก)
• 1607–09
Estêvão de Ataíde (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยม
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1498
• การล่มสลายของจักรวรรดิโปรตุเกส
25 มิถุนายน ค.ศ. 1975
พื้นที่
1967784,955 ตารางกิโลเมตร (303,073 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1967
7,300,000
สกุลเงินรีลโมซัมบิก (ถึง ค.ศ. 1914)
เอสคูโดโมซัมบิก (ค.ศ. 1914–75)
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรมูตาปา
สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โมซัมบิก

มีการตั้งนิคมการค้าและอาณานิคมในเวลาต่อมาตามชายฝั่งตั้งแต่ ค.ศ. 1498 เมื่อนักสำรวจชาวโปรตุเกส วัชกู ดา กามา ถึงชายฝั่งโมซัมบิกครั้งแรก Lourenço Marques สำรวจพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นอ่าวมาปูโตใน ค.ศ. 1544 เขาตั้งรกรากถาวรในประเทศโมซัมบิกปัจจุบัน ที่ซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิต และงานของเขามีนักสำรวจ กะลาสีและวาณิชโปรตุเกสหลายคนสานต่อ อาณานิคมเหล่านี้บางส่วนมีการส่งมอบให้ปกครองโดยบริษัทที่ได้รับพระบรมราชานุญาตในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น บริษัทโมซัมบิก ซึ่งได้รับสัมปทานแผ่นดินซึ่งปัจจุบันได้แก่ จังหวัดมานีกาและจังหวัดซูฟาลา และบริษัทนียาซา ซึ่งควบคุมดินแดนในจังหวัดกาบูแดลกาดูและจังหวัดนียาซา ใน ค.ศ. 1951 อาณานิคมดังกล่าวมีการรวมเข้ากับมณฑลโพ้นทะเลโดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรตุเกส อาณานิคมเดิมส่วนมากเป็นชื่อของจังหวัดของโมซัมบิกในปัจจุบัน

ชื่อเรียก

โมซัมบิกในสมัยอาณานิคม ได้มีการจัดรูปแบบการปกครองตามยุคสมัยของพัฒนาการทางการเมืองในโปรตุเกส ดังนี้:

  • ค.ศ. 1501–1569: เขตผู้บัญชาการแห่งโซฟาลา (โปรตุเกส: Capitania de Sofala)
  • ค.ศ. 1570–1676: เขตผู้บัญชาการแห่งโมซัมบิก และ โซฟาลา (Capitania de Moçambique e Sofala)
  • ค.ศ. 1676–1836: เขตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งโมซัมบิก และ แม่น้ำโซฟาลา (Capitania-Geral de Moçambique e Rios de Sofala)
  • ค.ศ. 1836–1891, ค.ศ. 1893–1926 และ ค.ศ. 1951–1972 : จังหวัดโมซัมบิก (Província de Moçambique)
  • ค.ศ. 1891–1893: รัฐแอฟริกาตะวันออก (Estado da África Oriental)
  • ค.ศ. 1926–1951: อาณานิคมโมซัมบิก (Colónia de Moçambique)
  • ค.ศ. 1972–1975: รัฐโมซัมบิก (Estado de Moçambique)

อ้างอิง

Herrick, Allison and others (1969). "Area Handbook for Mozambique", US Government Printing Office.

บรรณานุกรม

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Portuguese Mozambique

แม่แบบ:จักรวรรดิโปรตุเกสแม่แบบ:ประวัติศาสตร์โมซัมบิก

25°54′55″S 32°34′35″E / 25.9153°S 32.5764°E / -25.9153; 32.5764

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง