โอลิเวอร์ เฮวิไซด์

โอลิเวอร์ เฮวิไซด์ (อังกฤษ: Oliver Heaviside, 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1850 – 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925) เป็นวิศวกรไฟฟ้า นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เฮวิไซด์ประยุกต์จำนวนเชิงซ้อนเพื่อใช้ในการศึกษาเครือข่ายไฟฟ้า คิดค้นวิธีแก้สมการเชิงอนุพันธ์ และปรับปรุงสมการของแมกซ์เวลล์ในส่วนของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและฟลักซ์พลังงาน นอกจากนี้เขายังเป็นหนึ่งในผู้คิดค้นแคลคูลัสเวกเตอร์ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรมศาสตร์

โอลิเวอร์ เฮวิไซด์
เกิด18 พฤษภาคม ค.ศ. 1850(1850-05-18)
แคมเดนทาวน์, มิดเดิลเซ็กส์, อังกฤษ
เสียชีวิต3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925(1925-02-03) (74 ปี)
ทอร์คีย์, เดวอน, อังกฤษ
สัญชาติบริติช
มีชื่อเสียงจาก
  • ชั้นเคนเนลลี–เฮวิไซด์
  • รีแอคแตนซ์
  • ฟังก์ชันขั้นบันไดเฮวิไซด์
  • แคลคูลัสเวกเตอร์
  • สายโคแอ็กเชียล
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานบริษัทโทรเลขเกรตนอร์เธิร์น

เฮวิไซด์เกิดในปี ค.ศ. 1850 ที่เมืองแคมเดนซึ่งในขณะนั้นอยู่ในมณฑลมิดเดิลเซ็กส์ เฮวิไซด์ในวัยเด็กมีสุขภาพไม่แข็งแรงและมีปัญหาทางการได้ยิน เมื่ออายุ 13 ปี เขาเรียนที่โรงเรียน Camden House Grammar School แต่ภายหลังต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากครอบครัวมีปัญหาด้านการเงิน[2] ต่อมาชาลส์ วีตสตัน ผู้มีศักดิ์เป็นลุงส่งเฮวิไซด์ไปทำงานที่บริษัทโทรเลขของเขาเองที่เมืองนิวคาสเซิล 2 ปีต่อมา เฮวิไซด์ทำงานที่บริษัทโทรเลขเกรตนอร์เธิร์นและเขียนบทความลงวารสารวิชาการ Philosophical Magazine ในปี ค.ศ. 1873 เฮวิไซด์ได้อ่านศาสตรนิพนธ์ว่าด้วยไฟฟ้าและความเป็นแม่เหล็ก (A Treatise on Electricity and Magnetism) ของเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ ก่อนจะทำการศึกษาเพิ่มเติมจนได้ telegrapher's equations สมการที่ว่าด้วยแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในสายส่งสัญญาณ[3]

ระหว่าง ค.ศ. 1880–1902 เฮวิไซด์มีผลงานด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์หลายอย่าง เช่น จดสิทธิบัตรสายโคแอ็กเชียล ซึ่งเป็นสายส่งสัญญาณที่แกนกลางประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้า 2 ชนิด[4] ปรับปรุงสมการของแมกซ์เวลล์ด้วยเวกเตอร์[5] พัฒนาแคลคูลัสเชิงตัวดำเนินการที่คล้ายคลึงกับการแปลงลาปลาส เพื่อใช้แก้สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้น[6] คิดค้นแคลคูลัสเวกเตอร์ที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาพลศาสตร์ของไหล สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและสนามความโน้มถ่วง[7] และทำนายถึงชั้นเคนเนลลี–เฮวิไซด์ ซึ่งเป็นชั้นหนึ่งของไอโอโนสเฟียร์ที่อยู่เหนือพื้นโลกราว 90–150 กิโลเมตร ชั้นดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่ามีอยู่จริงโดยเอ็ดเวิร์ด วิกเตอร์ แอปเพิลตัน และทำให้แอปเพิลตันได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1947[8]

ช่วงบั้นปลายชีวิต เฮวิไซด์มีพฤติกรรมแปลกประหลาด เช่น ไม่พบปะผู้คน ทาเล็บสีชมพูและใช้แผ่นหินแกรนิตแทนเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน[9] เขาเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บจากการตกบันไดในปี ค.ศ. 1925 ที่เมืองทอร์คีย์ มณฑลเดวอน[10]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง