ไรเทอร์เด็งค์มาล (วินด์ฮุก)

อนุสาวรีย์คนขี่ม้า (อังกฤษ: Equestrian Monument) หรือที่รู้จักในชื่อเดิมในภาษาเยอรมัน ไรเทอร์เด็งค์มาล (เยอรมัน: Reiterdenkmal) หรือ ซึดเวสแทร์ไรเทอร์ (เยอรมัน: Südwester Reiter; คนขี่ม้าแห่งตะวันตกเฉียงใต้) เป็นอนุสาวรีย์ที่ในอดีตตั้งอยู่ในวินด์ฮุก ประเทศนามิเบีย อนุสาวรีย์เปิดตัวในวันที่ 27 มกราคม 1912 วันคล้ายวันเกิดของ วิลเฮ็ล์มที่สอง อนุสาวรีย์นี้เป็นการเทิดเกียรติแด่ทหารและพลเมืองฝั่งเยอรมนีที่เสียชีวิตระหว่างสงครามเฮโรโรและนามากวาในระหว่าง 1904–1907 สงครามที่ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมอย่างมาก

อนุสาวรีย์คนขี่ม้า
Reiterdenkmal
Südwester Reiter
ไรเทอร์เด็งค์มาลแห่งวินด์ฮุก ภาพถ่ายปี 2004
แผนที่
พิกัด22°34′07″S 17°05′16″E / 22.56861°S 17.08778°E / -22.56861; 17.08778
ที่ตั้งวินด์ฮุก ประเทศนามิเบีย
ผู้ออกแบบอาด็อล์ฟ เคือร์เลอ
ประเภทอนุสาวรีย์
วัสดุทองสัมฤทธิ์, หินแกรนิต
ความสูง9.5 เมตร (31 ฟุต)
วันที่อุทิศ27 มกราคม ค.ศ. 1912 (1912-01-27)
อุทิศแด่ทหารและพลเมืองชาวเยอรมันที่เสียชีวิตในสงครามเฮโรโรและนามากวา
วันที่รื้อค.ศ. 2013 (2013)

อนุสาวรีย์ถูกรื้อถอนออกไปในปี 2009 จากตำแหน่งเดิมที่อยู่ตรงข้ามกับคริสทูซคีร์เชอในกลางเมืองวินด์ฮุก ก่อนจะย้ายไปตั้งใหม่ในปี 2010 ห่างไปไม่กี่เมตรในบรืเวณอัลเทอเฟสเทอ กระนั้น อนุสาวรีย์นี้ยังเผชิญกับการต่อต้านจากสาธารณะ และท้ายที่สุดในปี 2013 ได้ถูกรื้อถอนออกจากการตั้งในที่สาธารณะเป็นการถาวร ปัจจุบันอนุสาวรีย์เก็บรักษาอยู่ในโกดังเก็บของในอัลเทอเฟสเทอ

อนุสาวรีย์ไรเทอร์เด็งค์มาลได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนเป็นการส่วนตัวและออกแบบโดยสถาปนิกชาวเบอร์ลิน อาด็อล์ฟ เคือร์เลอ อนุสาวรีย์มีความสูง 4.5 เมตร (15 ฟุต) เมตร ทำมาจากทองสัมฤทธิ์ หล่อขึ้นในเบอร์ลินและขนส่งมายังแอฟริกาตะวันตกัฉียงใต้ของเยอรมนีในปี 1911 โดยขึ้นท่าที่สวาคอปมุนด์และขนส่งทางรถไฟมายังวินด์ฮุก[1] ฐานของอนุสาวรีย์มีความสูง 5 เมตร (16 ฟุต) และทำมาจากหินแกรนิตราว 180 ก้อนจากโอคาฮันเดีย[2] ที่ฐานมีป้ายระลึกถึงทหารและพลเรือนชาวเยอรมันที่เสียชีวิตในสงครามเฮโรโรและนามากวา ปี 1904–1907 และจากการสำรวจทะเลทรายคาลาฮารีในปี 1908 ใจความของแผ่นป้ายระลึกกล่าวถึง[3] “นักรบชาวเยอรมันที่เสียชีวิตเพื่อจักรพรรดิและจักรวรรดิเพื่อปกป้องดินแดน”

ความหมาย

นอกจากจะตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์แล้ว อานุสาวรีย์นี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะและการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้[3] เอลเคอ ซอยร์น (Elke Zuern) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ สิทยาลัยซาราห์ ลอวเรนซ์ ระบุไว้ว่าอนุสาวรีย์นี้ตั้งขึ้นเพื่อ[4] “เป็นสัญลักษณ์ถึงความยืนยงในการปกครอง” ของเยอรมนีเหนือดินแดนนี้ รวมถึงส่งข้อความ “เตือนแก่ใครก็ตามที่อาจจะยังคงต่อต้าน” การปกครองของเยอรมนี

ความหมายทางการเมืองของอนุสาวรีย์นี้แปรเปลี่ยนไปในสามปีให้หลัง เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น และในปี 1915 แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนีถูกโค่นล้ม และ ชุทซ์ทรุพเพอ ยอมแพ้ เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมทั้งหมดหลังสงครามสิ้นสุด ระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง สุสานชาวเยอรมันที่วาเทอร์แบร์คและอนุสาวรีย์นี้ กลายมาเป็นสองสถานที่ที่สำคัญที่สุดสำหรับการระลึกถึงสงคราม และระลึกถึงชาวเยอรมันซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้[3] ในปี 1969 ในสมัยการแบ่งสีผิวในแอฟริกาใต้ อนุสาวรีย์นี้ได้รับการประกาศเป็นอนุสรณ์แห่งชาติโดยทางการแอฟริกาใต้[1]

ข้อถกเถียง

อนุสาวรีย์ไรเทอร์เด็งค์มาลเป็นประเด็นถกเถียงมาอย่างยาวนาน ในฐานะตัวแทนของความเหนือกว่าของชาวเยอรมัน และการรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตของเยอรมันในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 อย่างเอนเอียงไปฝั่งเดียว ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตชาวเฮโรโร และ ชาวดามารา สูงกว่าราวห้าสิบเท่าในสงครามกับเยอรมนี[5] อนุสาวรีย์กลายมาเป็นประเด็นวิจารณ์ทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เรื่อยมา[3]

หลังนามิเบียได้รับเอกราชในปี 1990 พลเรือนผิวขาวชาวนามิเบียที่มีเชื้อสายเยอรมันกังวลว่ารูปปั้นนี้จะถูกทำลายลง กระนั้น รัฐบาลของ SWAPO มีความสนใจไปที่การสร้างอนุสรณ์ของตนเพื่อระลึกถึงการดิ้นรนเพื่อเอกราชมากกว่า[6]

ในปี 2008 มีการประท้วงบริเวณอนุสาวรีย์จำนวนมาก เช่นเมื่อเดือนกรกฎาคม มีการตั้งกางเขนไม้ 51 อันรอบรูปปั้น บนกางเขนไม้เป็นชื่อและคำแสดงอารมณ์เขียนด้วยภาษาโอทจีเฮโรโร ส่วนในเดือนตุลาคม มีการสอดธงชาตินามิเบียเข้าไปในปากกระบอกปืนของรูปปั้น ทุกครั้งที่มีการแสดงออกทางสัญลักษณ์เช่นนี่ ได้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับสถานะและความหมายของอนุสาวรีย์ซึ่งเชิดชูลัทธิล่าอาณานิคมของเยอรมนี เกิดขึ้นไปทั่วสื่อสังคม[7]

ในปี 2001 คณะรัฐมนตรีนามิเบีย ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าจะทำการสร้างพิพิธภัณฑ์เอกราชขึ้นตรงข้ามกับโบสถ์พระคริสต์ โดยสร้างขึ้นทับจุดที่อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ และการรื้อถอนอนุสาวรีย์ออกได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ[8]

ในปี 2009 ได้เริ่มต้นการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ถูกรื้อถอนและนำไปเก็บรักษาในโกดัง[1] ที่ตั้งโกดังถูกเก็บเป็นความลับเพื่อป้องกันการถูกรุกรานโดยคนที่ต้องการจะเก็บสะสมของที่ระลึกจากอนุสาวรีย์นี้[9]

กระทั่งในปี 2010 อนุวารีย์ถูกตั้งขึ้นใหม่ที่ด้านหน้าของอัลเทอเฟสเทอ[1] ซึ่งกระตุ้นการพูดคุยถกเถียงเกี่ยวกับอนุสาวรีย์นี้อีกครั้ง[10] ในปลายปี 2013 พื้นที่โดยรอบด้านหน้าของอัลเทอเฟสเทอ ได้ถูกปิดล้อมเพื่อป้องกันสาธารณชนและสื่อมวลชนเข้าไปใกล้อนุสาวรีย์มากจนเกินไป ต่อมามีการยืนยันว่าอนุสาวรีย์จะถูกรื้อถอนออกอีกครั้ง[11] รูปปั้นถูกรื้อถอนออกจากฐานในวันเดียวกันกับที่มีการประกาศยืนยันดังกล่าว[12] และจะนำไปเก็บรักษาในที่เก็บของของอัลเทอเฟสเทอแทน[10]

อ้างอิง

หมวหมู่:สิ่งก่อสร้างในวินด์ฮุกหมวหมู่:อนุสาวรีย์ในประเทศนามิเบีย

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง