คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง

(เปลี่ยนทางจาก Brodmann area 7)

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (อังกฤษ: posterior parietal cortex ตัวย่อ PPC, Cortex parietalis posterior) เป็นส่วนของสมองกลีบข้างหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex)

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง
(Posterior parietal cortex)
กลีบสมองต่าง ๆ สมองกลีบข้างมีสีเหลือง ส่วนหลังอยู่ใกล้กับเขตสีแดง
ผิวด้านข้างของสมอง ตัวเลขแสดงเขตบร็อดแมนน์ (คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังเป็นส่วน #5 และ #7)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินCortex parietalis posterior
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

คือ ก่อนที่การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นระบบประสาทต้องรู้ตำแหน่งเดิมของส่วนของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหวและตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุภายนอกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาร่วมด้วยคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังรับข้อมูลจากระบบรับความรู้สึก 3 ระบบที่มีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งของร่างกายและของวัตถุภายนอกในปริภูมิ ซึ่งก็คือระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ต่อจากนั้น คอร์เทกซ์จึงส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ในสมองกลีบหน้าไปยัง dorsolateral prefrontal cortex, ไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการทุติยภูมิ (secondary motor cortex)และ ไปยัง frontal eye fieldงานวิจัยที่ใช้ fMRI ในลิง และงานวิจัยที่ใช้การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation) ในมนุษย์ชี้ว่า คอร์เทกซ์นี้มีส่วนประกอบเป็นเขตเล็ก ๆ ที่แต่ละเขตมีหน้าที่เฉพาะในการนำทางการเคลื่อนไหวตา ศีรษะ แขน หรือมือ

ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้มีผลเป็นความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว-การรับรู้ (sensorimotor)รวมทั้งการรับรู้และความทรงจำที่เกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิการยื่นมือออกไปเพื่อจับวัตถุการเคลื่อนไหวตาและการใส่ใจผลที่เด่นที่สุดของความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้ก็คือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia) และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect)[1]

บางแหล่งกล่าวว่าคอร์เทกซ์นี้เป็นส่วนของเขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7[2] บางแหล่งกล่าวว่าอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 7 เท่านั้น[3]

มีหลักฐานว่า คอร์เทกซ์นี้ยังมีบทบาทในการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย[4]

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) เกิดขึ้นจากเขตนี้โดยส่วนหนึ่ง[5][6]

งานวิจัยหนึ่งพบว่า เมื่อให้ทำการศิลป์ นักศิลป์สมัครเล่นมีการไหลเวียนของเลือดในระดับสูงขึ้นใน PPC ซีกขวาโดยเปรียบเทียบกับของนักศิลป์มืออาชีพ[7]

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2012 ในวารสาร Neuron โดยนักประสาทวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กค้นพบว่า มีการยิงสัญญาณแบบคงเส้นคงวาในนิวรอนของ PPCคือ นักวิจัยได้ตรวจสอบการทำงานในระบบประสาทของลิงมาคากในขณะที่ให้ลิงทำกิจกรรมที่ต้องยื่นมือออกไปและต้องเคลื่อนไหวตาแบบ saccadesหรือกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวตาแบบ saccades เท่านั้นการยิงสัญญาณแบบคงเส้นคงวาใน PPC พบในกิจกรรมที่ต้องอาศัยทั้งการยื่นมือและการเคลื่อนไหวตาไม่พบในกิจกรรมที่เคลื่อนไหวตาเท่านั้น[8]

ในงานวิจัยโดยสร้างภาพในสมอง คอร์เทกซ์นี้ โดยเฉพาะส่วนของรอยนูนแองกูลาร์ เกิดการทำงานเมื่อบุคคลกำลังระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory)

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร