รีอาซิลเวีย

(เปลี่ยนทางจาก Rheasilvia)

75°S 301°E / 75°S 301°E / -75; 301[1]

ภาพแสดงแอ่งรีอาซิลเวียบริเวณซีกใต้ของเวสตา

รีอาซิลเวีย (อังกฤษ: Rheasilvia) เป็นลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นที่สุดในดาวเคราะห์น้อยเวสตาและคาดว่านี้อาจเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะ ปากแอ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 505 กม. คิดเป็น 90% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเวสตาเองและคิดเป็น 95% เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเวสตา (529 กม.) อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของเวสตานั้นเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะนั้นเอง จุดสูงสุดตรงกลางแอ่งนั้นมีความสูงกว่า 22 กม.[2][3]ทำให้มันเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ[3]

การค้นพบ

รีอาซิลเวียถูกพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลใน พ.ศ. 2540[4] แต่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อจนกระทั่งยานสำรวจอวกาศดอว์นไปสำรวจเวสตาใน พ.ศ. 2554 ชื่อของมันตั้งตาม รีอา ซิลเวีย เทพธิดาพรหมจารีและมารดาของผู้ก่อตั้งกรุงโรม[1]

ลักษณะ

แอ่งรีอาซิลเวียบางส่วนทับกับเวนอิเนอา (Veneneia) ซึ่งเป็นแอ่งที่เกิดก่อนและมีขนาดใหญ่เกือบ 395 กม.[5]

ขอบของรีอาซิลเวียมีความลาดชันและสูง 4-12 กิโลเมตรเหนือพื้นที่โดยรอบ ก้นแอ่งมีความลึก 13 กิโลเมตรใต้พื้นดินโดยรอบ กลางแอ่งมีลักษณะเป็นลูกคลื่นและเนินกลางแอ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตรและสูงจากก้นแอ่งประมาณ 20-25 กิโลเมตร[2][3]ซึ่งสูงที่สุดในระบบสุริยะ แอ่งนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อย[6]

การศึกษาสเปกโทรสโกปีของฮับเบิลได้แสดงให้เห็นว่าแอ่งอุตกาบาตนี้เจาะลึกลงไปบนชั้นต่าง ๆ ของเปลือกดาวและอาจจะเจาะลงไปถึงเนื้อดาวตามผลที่แสดงโดยเส้นสเปกตรัมของโอลิวีน[7]

เวสตามีร่องแคบในเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการชนครั้งใหญ่ ร่องแคบที่ใหญ่ที่สุดคือดิวาเลียน ฟอสซา (Divalia Fossa) ซึ่งกว้าง 22 กม. ยาว 465 กม.

มีการประเมินว่าการชนครั้งนี้ทำให้ขุดปริมาตรของเวสตาออกมาประมาณ 1% และเป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์น้อยตระกูลเวสต้าและดาวเคราะห์น้อยประเภท Vเกิดมาจากการชนในครั้งนี้ หากกรณีนี้เป็นความจริงที่ว่ามีเศษประมาณ 10 กิโลเมตรรอดจากการโดนระเบิดจนถึงปัจจุบันก็แสดงว่าแอ่งอุตกาบาตนี้มีอายุมากกว่า 1 พันล้านปีมาแล้ว[8] และยังรวมถึงนี้อาจเป็นที่มาของHED meteorite เชื่อกันว่าดาวเคราะห์น้อยประเภท V เป็น 6% ของมวลที่ออกมาจากเวสตาและยังมีเศษชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เล็กจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรืออาจหายไปเพราะเข้าใกล้ช่องว่างเคิร์กวูดซึ่งเป็นผลจากสภาวะยาร์คอฟสกี (Yarkovsky effect) หรือRadiation pressure (ในกรณีของเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ)

ภาพ

แผนที่แสดงความสูงซีกใต้ของเวสตา
เส้นแสดงเขตของรีอาซิลเวียซึ่งทับกับบางส่วนของเวนอิเนอา
ภาพของเวสตาที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณแบน ๆ ที่ด้านล่างขวาคือรีอาซิลเวีย
ภาพแนวเฉียงของรีอาซิลเวียที่คอมพิวเตอร์สร้างโดยแสดงระดับความสูงเป็นสีต่าง ๆ วิดีโอ flyover ดูได้ที่นี้
แผนที่ภูมิลักษณ์ซีกใต้ของเวสตาแสดงให้เห็นรีอาซิลเวียกับเวนอิเนอา
3-D ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อมของยอดเขาควรใส่ แว่นสามมิติแดง ฟ้า เพื่อดูภาพนี้ในมุมมอง 3 มิติ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร