ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลทรายสะฮารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sahara)
ทะเลทรายสะฮารา (الصحراء الكبرى)
ทะเลทรายใหญ่
พื้นที่แห้งแล้ง
ภาพจากดาวเทียมแสดงทะเลทรายสะฮาราโดย NASA World Wind
ประเทศแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, เอริเธรีย, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, ซูดาน, ตูนิเซีย, เวสเทิร์นสะฮารา
จุดสูงสุดEmi Koussi 11,204 ft (3,415 m)
 - coordinates19°47′36″N 18°33′6″E / 19.79333°N 18.55167°E / 19.79333; 18.55167
จุดต่ำสุดQattara Depression −436 ft (−133 m)
 - coordinates30°0′0″N 27°5′0″E / 30.00000°N 27.08333°E / 30.00000; 27.08333
ความยาว4,800 km (2,983 mi), E/W
Width1,800 km (1,118 mi), N/S
พื้นที่9,400,000 ตร.กม. (3,629,360 ตร.ไมล์)
ไบโอมทะเลทราย

ทะเลทรายสะฮารา (อังกฤษ: Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก[1] มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء, ) หมายถึง ทะเลทราย

อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์

วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29

ภูมิศาสตร์

ทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, เวสเทิร์นสะฮารา, ซูดานและตูนิเซีย

ทะเลทรายสะฮารา มีความกว้างขวางถึง 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา และเป็นเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกาทั้งหมด[2] แต่นับเป็นทะเลทรายที่ถือกำเนิดได้ราว 2,000 ปีเท่านั้น โดยเกิดจากความแห้งแล้งลงของภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์คล้ายโอเอซิส มีแม่น้ำ และสัตว์ป่าขนาดใหญ่มากมายอาศัยอยู่ โดยปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดี คือ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำของมนุษย์ในยุคนั้น[3]

ภูมิอากาศ

ทะเลทรายสะฮารา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก แต่ทว่าทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์หิมะตก ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา ในแอลจีเรีย มีหิมะตก แต่ทว่าละลายไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นอีก 37 ปีต่อมา ในปลายปี ค.ศ. 2016 ที่เมืองนี้ก็มีหิมะตกนับเป็นครั้งที่สอง โดยคราวนี้คงสภาพอยู่ได้ประมาณหนึ่งวัน ก่อนจะละลายหายไปในที่สุด[4]

อ้างอิง

  • asdadawdwae Arab Conquest to 1830. Praeger, 1970.
  • Abdallah Laroui. The History of the Maghrib: An Interpretive Essay. Princeton, 1977.
  • Hugh Kennedy. Muslim Spain and Portugal: A Political History of al-Andalus. Longman, 1996.
  • Richard W. Bulliet. The Camel and the Wheel. Harvard University Press, 1975. Republished with a new preface Columbia University Press, 1990.
  • Eamonn Gearon. The Sahara: A Cultural History. Signal Books, UK, 2011. Oxford University Press, USA, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร