กบฏมัคคาบี

กบฏมัคคาบี (ฮีบรู: מרד החשמונאים) เป็นการกบฏชาวยิวนำโดยกลุ่มมัคคาบีเพื่อต่อต้านจักรวรรดิซิลูซิดและอิทธิพลกรีก การกบฏช่วงหลักเกิดขึ้นระหว่าง 167–160 ปีก่อนคริสตกาล และจบลงเมื่อซิลูซิดเข้าควบคุมยูเดีย แต่ความขัดแย้งระหว่างมัคคาบี ชาวยิวเฮลเลนิสต์และซิลูซิดยังดำเนินต่อไปจนถึง 134 ปีก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เกิดจากพระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 4 เอพิฟาเนสปราบปรามผู้นับถือศาสนายูดาห์ใน 168 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุที่พระองค์ทำเช่นนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความเชื่อเป็นองค์ประกอบ[1] แอนทิโอคัสให้เยรูซาเลมอยู่ใต้อำนาจซิลูซิดโดยตรง สั่งห้ามประกอบพิธีกรรมของศาสนายูดาห์[2] และดัดแปลงพระวิหารที่สองในเยรูซาเลมเป็นศาสนสถานของลัทธิผสานกรีก-ยูดาห์[3] การปราบปรามนี้นำไปสู่การกบฏนำโดยยูดาส มัคคาเบอุส นักบวชยูดาห์ใน 167 ปีก่อนคริสตกาล การต่อสู้ดังกล่าวถูกบันทึกในหนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2[4]

กบฏมัคคาบี

ยูเดียภายใต้ยูดาส มัคคาเบอุส ระหว่างการกบฏ
วันที่167–160 ปีก่อนคริสตกาล
สถานที่
ยูเดีย ส่วนหนึ่งของซีลี-ซีเรีย จักรวรรดิซิลูซิด
ผล

การกบฏสำเร็จ

  • หลังได้รับชัยในการยึดเยรูซาเลมคืน นักรบของยูดาส มัคคาเบอุสฉลองแปดวันเพื่ออุทิศแด่แท่นบูชาในพระวิหาร เรียกว่าเทศกาลฮานุกกะห์
  • ชาวยิวได้รับอัตตาณัติ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นราชวงศ์แฮสโมเนีย
คู่สงคราม
มัคคาบี จักรวรรดิซิลูซิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มัททาทิอัส †
ยูดาส มัคคาเบอุส (KIA)
โยนาทัน อัปฟัส
เอลิเอซาร์ อะวารัน (KIA)
ซีโมน ทัสซี
ยอห์น กัดดี (KIA)
พระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 4 เอพิฟาเนส †
พระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 5 ยูเพเตอร์ †
พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 โซเตอร์
ลีซิอัส †
กอร์จิอัส
ไนเคเนอร์ (KIA)
แบกคิดีส
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กบฏยูเดีย/มัคคาบีกองทัพซิลูซิด

มัคคาบีตั้งเป็นกองโจรที่เคลื่อนไหวในชนบท เข้าปล้นเมืองที่อยู่ห่างไกลอำนาจซิลูซิดและข่มเหงข้ารับใช้กรีก ก่อนจะพัฒนาเป็นกองทัพที่มีศักยภาพในการโจมตีเมืองปราการของซิลูซิด การยึดเยรูซาเลมใน 164 ปีก่อนคริสตกาลถือเป็นชัยชนะช่วงแรกที่สำคัญ มัคคาบีทำการชำระพระวิหารและอุทิศแท่นบูชาใหม่เป็นเวลา 8 วัน ซึ่งฉลองสืบต่อมาเป็นเทศกาลฮานุกกะห์[5][6] ที่สุดแล้วซิลูซิดยอมผ่อนปรนและยกเลิกการสั่งห้ามศาสนายูดาห์ แต่มัคคาบีหัวรุนแรงบางกลุ่มยังคงสู้ต่อเพื่อต้องการหลุดพ้นจากอำนาจซิลูซิด ต่อมาใน 160 ปีก่อนคริสตกาล ยูดาส มัคคาเบอุสถูกสังหารในยุทธการที่เอลาซา[7] โยนาทัน อัปฟัส น้องชายของยูดาสขึ้นเป็นผู้นำแทน ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิซิลูซิดและการเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐโรมันเอื้อให้มัคคาบีมีโอกาสเป็นอิสระมากขึ้น จากนั้น 141 ปีก่อนคริสตกาล ซีโมน ทัสซี ผู้นำต่อจากโยนาทันขับไล่ชาวกรีกออกจากป้อมอะคราในเยรูซาเลมได้สำเร็จ และก่อตั้งราชวงศ์แฮสโมเนียที่ปกครองยูเดียจนถึง 37 ปีก่อนคริสตกาล[8]

กบฏมัคคาบีเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของชาวยิว และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการก่อการกำเริบของชาวยิวในเวลาต่อมาอย่างสงครามยิว–โรมันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 66–73) และกบฏบาร์ คอคบา (ค.ศ. 132–136)[9][10]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง