กอปปีเลฟต์

กอปปีเลฟต์ (อังกฤษ: copyleft) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาตของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง งานศิลปะ โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงานและเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม กอปปีเลฟต์ มอบเสรีภาพให้ทุกคนสามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานดังกล่าว

ตัวอักษร c หันหลังกลับ สัญลักษณ์ของ กอปปีเลฟต์
เครื่องหมายลิขสิทธิ์

อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ กอปปีเลฟต์ คือการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แต่ไม่ทั้งหมดแทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ (นั่นคือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ)กอปปีเลฟต์ จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ โดยถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ กอปปีเลฟต์ นี้ ได้แก่ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ กอปปีเลฟต์ นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวรด้วยเหตุนี้ สัญญาอนุญาต กอปปีเลฟต์ จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses)

สัญลักษณ์ของ กอปปีเลฟต์ เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ (ɔ) โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ copyright โดยล้อกับอีกความหมายหนึ่งของคำว่า right ที่แปลว่า ขวา

ในภาษาไทย ยังไม่มีคำที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับ กอปปีเลฟต์สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้ว่า "ลิขซ้าย" คงการล้อ ขวา-ซ้าย ไว้[1]ส่วน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้คำว่า "นิรสิทธิ์" หมายถึง ระบบที่ไม่มีหรือไม่ให้สิทธิคุ้มครอง[2]

ประวัติ

แนวคิดของ กอปปีเลฟต์ เริ่มจากการที่ ริชาร์ด สตอลแมน ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp ขึ้นมา ต่อมาบริษัทที่ชื่อว่า Symbolics ได้ขอใช้งานตัวแปลคำสั่งนี้ สตอลแมนตกลงอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวใช้งาน โดยมอบเป็นสาธารณสมบัติ (public domain) คือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ เลยในเวลาต่อมา บริษัท Symbolics ได้แก้ไขปรับปรุงความสามารถของตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp ให้ดีขึ้น แต่เมื่อสตอลแมนแสดงความต้องการที่จะเข้าถึงส่วนที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเหล่านั้น ก็ได้รับการปฏิเสธจากบริษัท

ด้วยเหตุนี้ ในปี ค.ศ. 1984 สตอลแมนจึงได้เริ่มแผนการต่อต้านและกำจัดพฤติกรรมและวัฒนธรรมของการหวงแหนซอฟต์แวร์ไว้ (proprietary software) เหล่านี้ โดยเขาได้เรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่าการกักตุนซอฟต์แวร์ (software hoarding)[3]

เนื่องจากสตอลแมนเห็นว่าในระยะสั้น มันคงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน รวมถึงสิ่งที่เขามองว่าเป็นสิ่งผิดปกติให้หมดไปอย่างถาวร เขาจึงเลือกที่จะใช้กลไกของกฎหมายที่มีอยู่มาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสิ่งที่เขาต้องการ เขาได้สร้างสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในแบบของเขาขึ้นมาเอง โดยสัญญาอนุญาตที่เขาสร้างขึ้นมาถือเป็นสัญญาอนุญาตแบบ กอปปีเลฟต์ ตัวแรก คือ Emacs General Public License[4] ซึ่งต่อมาสัญญาอนุญาตนี้ก็ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนกระทั่งกลายเป็น GNU General Public License (GPL) ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตแบบซอฟต์แวร์เสรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันหนึ่ง

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง