กัฟรีโล ปรินซีป

กัฟรีโล ปรินซีป (เซอร์เบีย: Гаврило Принцип, ออกเสียง: [ɡǎʋrilo prǐntsip]; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1894 — 28 เมษายน ค.ศ. 1918) เป็นชาวเซิร์บ-บอสเนีย สมาชิกของเยาวชนบอสเนีย (Young Bosnia) องค์กรยูโกสลาเวียที่มีความต้องการที่จะทำลายการปกครองของออสเตรีย-ฮังการีในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เมื่อเขามีอายุ 19 ปี เขาได้ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย และพระชายา โซฟี ในเมืองซาราเยโว วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 ก่อให้เกิดห่วงโซ่ของเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[1] ปรินซีปและพรรคพวกของเขาได้ถูกจับกุมและมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาคมลับชาตินิยมเซอร์เบียที่เป็นที่รู้จักกันคือ แบล็กแฮนด์ ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นหนังสือคำประท้วงไปยังเซอร์เบียที่เป็นที่รู้จักกันคือ การยื่นคำขาดเดือนกรกฎาคม (July Ultimatum)[2]

กัฟรีโล ปรินซีป
Гаврило Принцип
ปรินซีปในเรือนจำ ป. ค.ศ. 1915
เกิด25 กรกฎาคม ค.ศ. 1894(1894-07-25)
Obljaj, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
(จักรวรรดิออตโตมัน โดยนิตินัย)
เสียชีวิต28 เมษายน ค.ศ. 1918(1918-04-28) (23 ปี)
ป้อมเตเรซิน โบฮีเมีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
สุสานโบสถ์น้อยวีรบุรุษวีดอฟดัน ซาราเยโว
43°52′0.76″N 18°24′38.88″E / 43.8668778°N 18.4108000°E / 43.8668778; 18.4108000
มีชื่อเสียงจากการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย
พิพากษาลงโทษฐานทรยศต่อประเทศ
มาตกรรม (2 กระทง)
บทลงโทษจำคุก 20 ปี
ลายมือชื่อ

ปรินซีปได้กล่าวว่าท่านอาร์ชดยุกเป็นเป้าหมายเพราะ"เมื่อได้เป็นกษัตริย์ในอนาคต พระองค์จะทรงขัดขวางสหพันธ์ของเราโดยได้ดำเนินการปฏิรูปบางอย่าง" ด้วยการพาดพิงถึงกิตติศัพท์ของท่านอาร์ชดยุกในการสนับสนุนโครงสร้างการปฏิรูปของระบอบราชาธิปไตยที่จะมอบเอกราชให้กับดินแดนชาวสลาฟมากขึ้น[3] นี่เป็นภัยคุกคามต่อโครงการการเรียกร้องดินแดนของชาวเซอร์เบียที่เป็นชนชาติเดียวกัน

ปรินซีปเป็นชาวยูโกสลาเวียผู้รักชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการมาลดา บอสนา (เยาวชนบอสเนีย) ซึ่งจะประกอบเต็มไปด้วยชาวเซิร์บ แต่ยังคงเป็นชาวบอสนีแอกและชาวโครแอต[4] ในช่วงการพิจารณาคดีของเขา เขาได้กล่าวว่า"ผมคือผู้รักชาติยูโกสลาเวีย ได้มีความมุ่งหมายที่จะรวมยูโกสลาเวียให้เป็นหนึ่งไว้ทั้งหมด และผมไม่สนในสิ่งที่เป็นรูปแบบของรัฐ แต่จะต้องเป็นอิสระจากออสเตรีย"[5]

ปรินซีปได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1918 ด้วยวัณโรคที่เกิดจากสภาพคุกที่แย่มาก ซึ่งทำให้เขาสูญเสียขาไปก่อนหน้านี้

ชีวิตช่วงต้น

กัฟรีโล ปรินซีปเกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ห่างไกลของObljaj ใกล้บอซานสกอกราฮอวอเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 13 กรกฎาคม] ค.ศ. 1894 เขาเป็นลูกคนที่สองจากลูก ๆ ทั้ง 9 คน โดยเสียชีวิตตั้งแต่วัยทารก 6 คน มารียา (Marija) แม่ของปรินซีป ต้องการตั้งชื่อเขาตามชปีรอ (Špiro) น้องชาย แต่นักบวชอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ท้องถิ่นเรียกร้องให้ตั้งชื่อเขาเป็นกัฟรีโล (Gavrilo) โดยอ้างว่าการตั้งชื่อทารกที่ป่วยตามทูตสวรรคกาเบรียลจะทำให้เขารอดชีวิต[6]

มารียากับเปตาร์ ปรินซีป (Petar Princip) พ่อแม่ของกัฟรีโล ปรินซีป ป. 1927
บ้านของครอบครัวปรินซีปที่ Obljaj

ครอบครัวปรินซีปเป็นครอบครัวชาวเซิร์บที่อาศัยอยู่ในบอสเนียตะวันตกเฉียงเหนือมาหลายศตวรรษ[7] บรรพบุรุษของเขามาจาก Grahovo, Nikšić ที่มอนเตเนโกร แล้วอพยพเข้าในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1700 โดยเป็นสมาชิกของตระกูล Jovičević[8] และนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์เซอร์เบีย[9] เปตาร์และมารียา (สกุลเดิม Mićić) พ่อแม่ของปรินซีป เป็นชาวนาที่ยากจนซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินเล็ก ๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของ[10] ทั้งคู่อยู่ในชนชั้นกสิกรคริสเตียนที่มีชื่อว่า kmetovi (ทาสติดที่ดิน) ซึ่งมักถูกเจ้าของที่ดินที่เป็นมุสลิมกดขี่[11] เปตาร์ ผู้ยืนกรานใน "ความถูกต้องโดยเคร่งครัด" ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มมึนเมาหรือสบถ และถูกเพื่อนบ้านเยาะเย้ย[10] ในช่วงวัยหนุ่ม เขาสู้รบในการก่อกำเริบเฮอร์เซโกวีนาต่อจักรวรรดิออตโตมัน[12] หลังการก่อกบฏ เขากลับมาทำงานเป็นชาวไร่ในหุบเขากราฮอวอ โดยเขาทำงานในที่ดินขนาดประมาณ 4 เอเคอร์ (1.6 เฮกตาร์; 0.0063 ตารางไมล์) และถูกบังคับให้ยกรายได้หนึ่งส่วนสามให้แก่เจ้าของที่ดิน เขาจึงหันไปขนส่งไปรษณีย์และผู้โดยสารข้ามภูเขาระหว่างบอสเนียตะวันตกเฉียงเหนือกับแดลเมเชีย เพื่อเพิ่มรายได้และเลี้ยงดูครอบครัว [13]

ปรินซีปเข้าโรงเรียนประถมศึกษาใน ค.ศ. 1903 ตอนอายุ 9 ขวบ แม้ในตอนแรกพ่อจะไม่ให้ลูกชายเข้าเรียน เนื่องจากเขาต้องการคนเลี้ยงแกะคอยดูแลแกะของตน เขาก้าวผ่านปีแรกที่ยากลำบากและประสบความสำเร็จในการศึกษาอย่างมาก โดยอาจารย์ใหญ่ให้รางวัลชุดสะสมบทกวีมหากาพย์เซอร์เบียแก่เขา[12] ตอนอายุ 13 ปี ปรินซีปย้ายไปที่ซาราเยโว ซึ่งเป็นที่ที่โยวัน (Jovan) พี่ชายของเขา เคยตั้งใจที่จะให้เขาลงทะเบียนที่โรงเรียนการทหารออสเตรีย-ฮังการีในซาราเยโว[12] อย่างไรก็ตาม เมื่อปรินซีปเดินทางมาถึงที่นั่น โยวันเปลี่ยนใจหลังเจ้าของร้านแนะนำว่าอย่าให้น้องชายของเขาเป็น "ผู้ประหารชีวิตคนของเขาเอง" ปรินซีปจึงลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนพ่อค้าแทน[14] โยวันจ่ายค่าเล่าเรียนด้วยเงินจากการทำงานด้วยตนเอง โดยขนท่อนไม้จากป่าที่อยู่รอบ ๆ ซาราเยโวไปยังโรงสีในเมือง[15] หลังศึกษาไป 3 ปี กัฟรีโลจึงย้ายไปยังโรงพลศึกษาซาราเยโว[14]

เข้าร่วมเยาวชนบอสเนีย

การลอบสังหาร

ถูกจับกุมและไต่สวน

ปรินซีปขณะไต่สวน (นั่งตรงกลางแถวแรก)
ปืนพก Browning ของปรินซีปที่ใช้เป็นหลักฐานขณะไต่สวน

ก่อนที่ปรินซีปจะยิงเป็นครั้งที่สาม มีผู้ดึงปืนพกออกจากมือและผลักเขาลงไปที่พื้น เขากลืนแคปซูลไซยาไนด์หนึ่งแคปซูลได้ แต่กลับไม่สามารถทำให้เขาตาย[16] การไต่สวนเริ่มต้นในวันที่ 12 ตุลาคมและสิ้นสุดในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1914 ปรินซีปกับอีกยี่สิบสี่คนถูกดำเนินคดี มือสังหารทั้งหมด 6 คนมีอายุต่ำกว่า 20 ปีในขณะนั้น (ยกเว้น Mehmedbašić) ในขณะที่ตัวกลุ่มมีสมาชิกส่วนใหญ่เป้นชาวเซิร์บบอสนีแอก ผู้ถูกดำเนินคดี 4 คนเป็นชาวโครแอตบอสนีแอกและทั้งหมดเป็นพลเมืองออสเตรีย-ฮังการี ไม่มีคนใดเลยที่มาจากเซอร์เบีย[17] ทนายความของรัฐตั้งข้อหาผู้ต้องหา 22 คนในข้อหากบฏต่อแผ่นดินและฆาตกรรม และอีกสามคนฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีฆาตกรรม ปรินซีปกล่าวว่าตนรู้สึกเสียใจที่สังหารดัชเชสและตั้งใจที่จะสังหาร Potiorek แต่ถึงกระนั้นก็รู้สึกภาคภูมิใจกับสิ่งที่ทำ[18][19] ตำรวจฝ่ายสืบสวนออสเตรียกระตือรือร้นที่จะเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะของเซอร์เบียในแผนการลอบสังหารด้วยเหตุผลทางการเมือง[20] แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี ปรินซีปยืนกรานว่า แม้ว่าเขาจะมีเชื้อสายเซิร์บ แต่ความมุ่งมั่นของเขาคือการปลดปล่อยชาวสลาฟใต้ทั้งหมด หัวหน้าผู้สมรู้ร่วมคิดทุกคนกล่าวถึงการปฏิวัติด้วยการทำลายล้างออสเตรีย-ฮังการี และการปลดปล่อยชาวสลาฟใต้ว่าเป็นแรงจูงใจต่อการกระทำของพวกเขา[21]

ทางการออสเตรีย-ฮังการีพยายามซ่อนข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้สมรู้ร่วมคิดเป็นชาวโครแอตและบอสนีแอก จนถึงการเปลี่ยนชื่อหนึ่งในนั้นในรายงานข่าว[17] เพื่อสร้างภาพว่าแผนการทั้งหมดว่ามีต้นกำเนิดจากเซอร์เบียและดำเนินการโดยชาวเซิร์บเท่านั้น[22] แบล็กแฮนด์ถูกกล่าวเป็นนัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการลอบสังหาร เนื่องจากมีการให้อาวุธแก่มือสังหารและช่วยให้พวกเขาข้ามพรมแดน แต่นั้นไม่ได้พิสูจน์ว่ารัฐบาลเซอร์เบียมีส่วนรู้เห็นต่อการลอบสังหาร ไม่ต้องพูดถึงการอนุมัติด้วยซ้ำ[a] แต่สิ่งนี้มีมากพอที่ทางออสเตรีย-ฮังการีเตรียมการยื่นหนังสือประท้วงต่อเซอร์เบียที่รู้จักกันในชื่อ วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ซึ่งนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[24] เดวิด ฟรอมกินรายงานว่า สิ่งที่การสังหารให้แก่เวียนนาไม่ใช่เหตุผล แต่เป็นข้ออ้างในการทำลายเซอร์เบีย[25]

ในเวลานั้นปรินซีปมีอายุ 19 ปีและเด็กเกินไปที่จะประหารชีวิต เนื่องจากตามกฎหมายฮาพส์บวร์ค เขายังเหลือเวลาอีก 27 วันก่อนที่จะถึงอายุขั้นต่ำ 20 ปี[17] จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1914 ศาลตัดสินให้ปรินซีปมีความผิดฐานฆาตกรรมและกบฏต่อแผ่นดิน เขาถูกตัดสินให้จำคุกสูงสุด 20 ปี โดยเข้าไปจำคุกที่เรือนจำทหารในป้อมฮาพส์บวร์คที่ Theresienstadt ในโบฮีเมียตอนเหนือ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเช็กเกีย)[26]

จำคุกและเสียชีวิต

ห้องขังของปรินซีปที่ป้อม Terezín

ปรินซีปถูกล่ามโซ่ที่กำแพงตามการขังเดี่ยวที่ป้อมขนาดเล็กใน Terezín โดยมีสภาพย่ำแย่และทำให้เขาเป็นวัณโรค[27][24] โรคนี้กัดกระดูกของเขามากจนแพทย์ต้องตัดแขนขวาทิ้ง[28] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1916 ปรินซีปพยายามแขวนคอตนเองด้วยผ้าเช็ดตัว แต่ล้มเหลว[29] โดยในช่วงกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ค.ศ. 1916 ปรินซีปพบกับ Martin Pappenheim จิตแพทย์ประจำกองทัพออสเตรีย-ฮังการีถึง 4 ครั้ง[29] Pappenheim เขียนว่า ปรินซีปกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการลอบสังหาร และเขา "ไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบต่อเหตุร้ายครั้งนี้"[27]

ปรินซีปเสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1918 หลังเหตุการณ์ลอบสังหาร 3 ปีกับอีก 10 เดือน ในช่วงที่เขาเสียชีวิต เขามีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม (88 ปอนด์; 6 สโตน 4 ปอนด์) เนื่องจากภาวะทุพโภชนาการและโรคภัยไข้เจ็บ[30]

สิ่งสืบทอด

หลังจากเสียชีวิตไปเป็นเวลานาน มรดกของปรินซีปยังคงเป็นที่โต้แย้ง และตัวเขายังคงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แต่สุดขั้ว โดยสำหรับราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คและผู้สนับสนุน เขาเป็นผู้ก่อการร้ายที่ก่อเหตุฆาตกรรม ส่วนราชอาณาจักรยูโกสลาเวียมองเขาเป็นวีรบุรุษยูโกสลาฟ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พวกนาซีกับอูสตาชา ฟาสซิสต์โครแอต มองเขาเป็นอาชญากรผู้เสื่อมทรามและผู้นิยมอนาธิปไตยฝ่ายซ้าย ส่วนยูโกสลาเวียสมัยสังคมนิยมมองเขาเป็นตัวแทนวีรบุรุษหนุ่มของกลุ่มต่อต้านติดอาวุธ ซึ่งเป็นนักต่อสู้เสรีภาพที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาวยูโกสลาเวียจากการปกครองของจักรวรรดิ ต่อสู้เพื่อแรงงานและผู้ถูกกดขี่[31] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ผู้ที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมเซิร์บบางคนเริ่มมองปรินซีปเป็นตัวแทนในการสร้างเกรตเตอร์เซอร์เบีย[32] การเคลื่อนไหวทางการเมืองและระบอบการปกครองหลายแห่ง ต่างยกย่องหรือดูถูกเขา เพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ของตนเอง[32]

ปัจจุบันชาวเซิร์บหลายคนเฉลิมฉลองตัวเขาในฐานะวีรบุรุษ และชาวโครแอตกับชาวบอสนีแอกหลายคนถือว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย[32][33]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

บรรณานุกรม

เว็บไซต์

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง