ภาษาเซอร์เบีย

ภาษาเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: српски / srpski, ออกเสียง: [sr̩̂pskiː]; อังกฤษ: Serbian language) เป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียที่ส่วนใหญ่ใช้งานโดยชาวเซิร์บ[8][9][10][11][12] ถือเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศเซอร์เบีย หนึ่งใน 3 ภาษาราชการของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และภาษาราชการร่วมในประเทศมอนเตเนโกรและคอซอวอ ภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับในประเทศโครเอเชีย, มาซิโดเนียเหนือ, โรมาเนีย, ฮังการี, สโลวาเกีย และเช็กเกีย

ภาษาเซอร์เบีย
српски језик / srpski jezik
ออกเสียง[sr̩̂pskiː]
ประเทศที่มีการพูดเซอร์เบีย
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
มอนเตเนโกร
คอซอวอ
ภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
ชาติพันธุ์ชาวเซิร์บ
จำนวนผู้พูดป. 12 ล้านคน  (2009)[1]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
ระบบการเขียน
  • อักษรซีริลิกเซอร์เบีย
  • อักษรละตินเซอร์เบีย
  • อักษรเบรลล์ยูโกสลาฟ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบคณะกรรมาธิการมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย
รหัสภาษา
ISO 639-1sr
ISO 639-2srp
ISO 639-3srp
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 53-AAA-g
  ประเทศ/ภูมิภาคที่ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาราชการ
  ประเทศ/ภูมิภาคที่ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเซอร์เบียมาตรฐานอิงจากภาษาย่อยชโตกาเวีย (เฉพาะเจาะจงที่ภาษาย่อยชูมาดียา-วอยวอดีนาและเฮอร์เซโกวีนาตะวันออก) ภาษาย่อยบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียที่แพร่หลายที่สุด[13] ซึ่งภาษาย่อยนี้ก็อิงจากวิธภาษาโครเอเชีย, บอสเนีย และมอนเตเนโกรมาตรฐาน[14] และดังนั้น จึงมีการตีพิมพ์ปฏิญญาว่าด้วยภาษากลางของชาวโครแอต บอสนีแอก เซิร์บ และมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 2017[15][16] ภาษาย่อยอื่นที่ชาวเซิร์บพูดด้วยคือตอร์ลาเกียในเซอร์เบียตะวันออกเฉียงใต้

ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษามาตรฐานในยุโรปภาษาเดียวที่ผู้พูดใช้งานรูปเขียนสองแบบ (digraphic)[17] โดยใช้ทั้งอักษรซีริลลิก และอักษรละติน ชุดตัวอักษรซีริลลิกเซอร์เบียได้รับการประดิษฐ์ใน ค.ศ. 1814 โดยวูก คารัดฌิช (Vuk Karadžić) นักภาษาศาสตร์ชาวเซอร์เบียที่สร้างขึ้นตามหลักการเชิงหน่วยเสียง ส่วนชุดตัวอักษรละตินสำหรับภาษาเซอร์เบีย (latinica) ได้รับการออกแบบโดยลูเดวิต กาย (Ljudevit Gaj) นักภาษาศาสตร์ชาวโครแอตในคริสต์ทศวรรษ 1830 ตามระบบภาษาเช็กที่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยอักขระ-หน่วยเสียงหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างอักขรวิธีซีริลลิกกับละติน ทำให้เกิดระบบคู่ขนาน[18]

ภาษาเซอร์เบียเป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย[19][20] ภาษาที่อยู่ในกลุ่มย่อยสลาฟใต้ในภาษากลุ่มสลาฟ (อินโด-ยูโรเปียน) ส่วนรูปมาตรฐานอื่นของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียได้แก่ภาษาบอสเนีย โครเอเชีย และมอนเตเนโกร "การตรวจสอบ 'ระดับ' ภาษาหลัก ๆ ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-เซอร์เบีย (BCS) เป็นภาษาเดียวที่มีระบบไวยากรณ์เดียวอย่างชัดเจน"[21] ผู้พูดภาษาเซอร์เบียสามารถเข้าใจภาษาบัลแกเรียและภาษามาซิโดเนีย ภาษากลุ่มสลาฟใต้ฝั่งตะวันออก ได้น้อยกว่าภาษาสโลวีเนีย (ภาษาสโลวีเนียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มย่อยสลาฟใต้ฝั่งตะวันตก แต่มีความแตกต่างทางคำศัพท์ ไวยากรณ์ และรูปสะกดต่างจากรูปมาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย แม้ว่าจะมีความใกล้ชิดกับภาษาย่อย Kajkavian และ Chakavian ของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียก็ตาม)[22]

ระบบการเขียน

ภาษาเซอร์เบียมาตรฐานใช้งานทั้งอักษรซีริลลิก (ћирилица, ćirilica) และอักษรละติน (latinica, латиница) สื่อและผู้จัดพิมพ์มักเลือกตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง โดยทั่วไป จะมีการใช้งานอักษรใดก็ได้ ยกเว้นในขอบเขตทางกฎหมายที่ต้องใช้อักษรซีริลลิก ไม่มีบริบทที่อักษรใดมีอำนาจเหนือกว่า

ถึงแม้ว่าผู้วางระเบียบภาษาเซอร์เบียยอมรับสถานะทางการของอักษรทั้งสองในภาษาเซอร์เบียมาตรฐานร่วมสมัยเป็นเวลามากกว่าศตวรรษครึ่ง อักษรซีริลลิกได้รับการทำให้เป็นอักษรราชการในฝ่ายการปกครองของเซอร์เบียตามรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2006 ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์[23]

อักษรละตินยังคงใช้ในบริบทที่เป็นทางการ แม้ว่ารัฐบาลจะแสดงความปรารถนาที่จะยุติสิ่งนี้เนื่องจากทัศนคติของชาติ กระทรวงวัฒนธรรมเชื่อว่าอักษรซีริลลิกเป็น "อักษรอัตลักษณ์" ของประเทศเซอร์เบีย[24]

อย่างไรก็ตาม กฏหมายไม่ได้ควบคุมการใช้อักษรในภาษามาตรฐานหรือตัวภาษาเอง ทำให้การใช้งานอักษรนั้นเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลและมีเจตจำนงเสรีในทุกด้านของชีวิต (สิ่งพิมพ์ สื่อ การค้าและพาณิชย์ ฯลฯ) ยกเว้นการผลิตเอกสารของรัฐบาลและการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อักษรซีริลลิก[23]

การใช้งาน

สำหรับชาวเซอร์เบียส่วนใหญ่ อักษรละตินมีแนวโน้มที่จะสื่อถึงทัศนคติที่เป็นสากลหรือเป็นกลาง ในขณะที่อักษรซีริลลิกดึงดูดความรู้สึกแบบดั้งเดิมหรือแบบสมัยก่อนมากกว่า[25]

การสำรวจใน ค.ศ. 2014 แสดงให้เห็นว่าประชากรเซอร์เบียร้อยละ 47 นิยมอักษรละติน ส่วนร้อยละ 36 นิยมอักษรซีริลลิก[26]

อักษรซีริลลิกกลายเป็นที่นิยมในเซอร์เบียมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสามารถพิมพ์ลงในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ได้ง่าย[27]

ลำดับอักษร

ลำดับอักษรสำหรับชุดตัวอักษร ćirilica (ћирилица):

  • ลำดับอักษรซีริลลิกมีชื่อเรียกว่า Azbuka (азбука): А Б В Г Д Ђ Е Ж З И Ј К Л Љ М Н Њ О П Р С Т Ћ У Ф Х Ц Ч Џ Ш

ลำดับอักษรสำหรับชุดตัวอักษร latinica (латиница):

  • ลำดับอักษรละตินมีชื่อเรียกว่า Abeceda (абецеда): A B C Č Ć D Dž Đ E F G H I J K L Lj M N Nj O P R S Š T U V Z Ž

ตัวอย่าง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 เขียนในภาษาเซอร์เบีย อักษรซีริลลิก:[28]

Сва људска бића рађају се слободна и једнака у достојанству и правима. Она су обдарена разумом и свешћу и треба једни према другима да поступају у духу братства.

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 เขียนในภาษาเซอร์เบีย อักษรละติน:[29]

Sva ljudska bića rađaju se slobodna i jednaka u dostojanstvu i pravima. Ona su obdarena razumom i svešću i treba jedni prema drugima da postupaju u duhu bratstva.

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง